โคคลาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โคคลาน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Euphorbiaceae
วงศ์ย่อย: Acalyphoideae
เผ่า: Acalypheae
สกุล: Mallotus
สปีชีส์: M.  repandus
ชื่อทวินาม
Mallotus repandus

โคคลาน ชื่อวิทยาศาสตร์: Mallotus repandus(Willd.) Muell. Arg. เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่ออื่น ๆ มะกายเครือ มะปอบเครือ กระเปี้ยะ โพคาน แนวน้ำ เยี่ยวแมว เยี่ยวแมวเถา เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ยาว 3-6 เมตร ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในสีน้ำตาลอ่อน เปลือกเถาไม่มีกลิ่น มีสารกลุ่มเทอร์พีน มีฤทธิ์ต้านเชื้อเริมที่ริมฝีปาก ลดการอักเสบ และป้องกันการเกิดพิษต่อตับ ต้านการเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร ต้านอนุมูลอิสระ[1]

โคคลานเป็นพืชสมุนไพร ใช้ เถา แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ครั่นตัว เส้นตึง แก้ปวดหลังปวดเอว แก้กระษัย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงโลหิต แก้พิษภายใน เข้ายาแก้โรคมะเร็ง ทางอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ใช้โคคลานเป็นส่วนประกอบของยาที่ชื่อ “ตำรับยาโคคลาน” ซึ่งเป็นยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ และแก้ปวดกระดูก ชาวไทยอีสานนำไปต้มกับทองพันชั่งและโด่ไม่รู้ล้ม นำน้ำมาดื่มแก้ปวดเมื่อย[1]

อ้างอิง[แก้]