แฮงแมน (วงดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แฮงแมน (อัลบั้ม))
แฮงแมน
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก, ป็อป, ออลเทอร์นาทิฟร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2564
ค่ายเพลงDUCKBAR ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
MonstaMixa Music
สมาชิก"เก๋" อรรคพล ทรัพยอาจิณ (กีต้าร์)
"แจ๊ค" พงศ์วิภาค เหมะ (กีต้าร์)
"แสบ" สายัณห์ สุวรรณเมธา (กลอง)
"แซม" เสริมศาสตร์ เดอะโรซาริโอ (ร้องนำ)
"โหน่ง" ณัชพล สินทรจิตรานนท์ (เบส)
อดีตสมาชิก"โต" วีรชน ศรัทยายิ่ง (ร้องนำ)
"เกี๊ยะ" สมนึก ท่าชี (เบส)
เว็บไซต์เว็บไซต์บนมายสเปซ

แฮงแมน (อังกฤษ: HANGMAN) คือกลุ่มดนตรีสัญชาติไทย แนวร็อก, ป็อป ประกอบด้วยสมาชิก 5 คน

ความหมายของชื่อวง[แก้]

HANGMAN คือเกมที่ต้องเติมคำ ถ้าเติมพลาดก็ถูกแขวนคอ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง บางคนอยากทำสิ่งดี ๆ ตั้งใจทำงานดี ๆ แต่คนมักจะรอดูความหายนะของเขา ก็เปรียบเหมือนกับการเล่นเกมที่คนเล่นตั้งใจเล่นให้มันสมบูรณ์โดยที่ตัวเองไม่โดนแขวนคอ แต่คนที่ชมเกมนี้ส่วนมากอยากเห็นถูกแขวนคอ และก็เหมือนกับวงนี้ที่ตั้งใจทำงานกันทุกคนก็หวังว่าคนจะไม่มองและพยายามจับผิด

ประวัติ[แก้]

โต ได้ออกจากวง ซิลลี่ ฟูลส์ จึงได้ทำดนตรีก่อน และต่อมาจึงหานักดนตรีมาออดิชั่น ออดิชั่นกันอยู่ประมาณ 4-5 เดือน ก็ได้เกี๊ยะเป็นมือเบส เก๋เป็นมือกีต้าร์ และแสบเป็นมือกลอง กับแจ๊คเป็นมือกีต้าร์คนที่สองของวง

ต่อมา โตทำดนตรี (เดโม) เสร็จก่อนแล้ว 9 เพลง พอออดิชั่นวงได้ตอนทำงานในห้องอัด ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักดนตรีแต่ละคนเขาไปคิดมา ถ้าไม่ชอบก็ไปแก้และพยายามคิดว่ามันควรจะเป็นยังไงให้ดีที่สุด และเพลงที่ 10 เก๋กับเกี๊ยเป็นคนทำ และโตก็มาแต่งเนื้อทั้ง 10 เพลง จนเป็นที่มาของอัลบั้มแรก

เมื่อปี พ.ศ. 2555 แฮงแมนได้ยุบวงพร้อมกับลาวงการงานดนตรีของโต ส่วนสมาชิกคนอื่น ๆ ได้แยกย้ายทำงานไป โดยเกี๊ยะ เป็นมือเบสวงมัมมี่แด๊ดดี้, เก๋ เป็นมือกีตาร์และนักร้องนำวงสกายวอล์กเกอร์รวมถึงรับงานพากย์เสียงภาพยนตร์, แสบเป็นแบ็คอัพกลองให้วง ABnormal และทำงานร่วมกับวงอะลาดิน เช่นเดิม[1][2] และแจ๊คได้เป็นแบ็คอัพกีตาร์ให้กับวงอื่น ๆ ในผับและเป็นมือกีตาร์ วงอะลาดินแทนเอ็ม ส่วนเกี๊ยะไปทำวงดนตรีตัวเอง

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ 2564 ได้ประกาศว่ากลับมารวมตัวกันอีกครั้งโดยมีสมาชิกดั้งเดิมคือ เก๋, แจ๊ค, แสบ และได้เพิ่มสมาชิกใหม่นั่นก็คือ แซม เสริมศาสตร์ เดอะโรซาริโอ เข้ามาเป็นนักร้องนำในวง ทั้งนี้ไซมอน เฮนเดอร์สัน ยังคงทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์เช่นเคย

สมาชิก[แก้]

สมาชิกปัจจุบัน
  • เสริมศาสตร์ เดอะโรซาริโอ (แซม) - ร้องนำ
  • อรรคพล ทรัพยอาจิณ (เก๋) - กีต้าร์
  • พงศ์วิภาค เหมะ (แจ๊ค) - กีต้าร์
  • สายัณห์ สุวรรณเมธา (แสบ) - กลอง
  • ณัชพล สินทรจิตรานนท์ (โหน่ง) - เบส
สมาชิกในอดีต

ผลงาน[แก้]

ซิงเกิล[แก้]

อัลบั้ม[แก้]

No. ชื่อ รายชื่อเพลง
1 Hangman
(9 ตุลาคม พ.ศ. 2550)
  1. Hangman
  2. Chocolate
  3. พยายามกี่ครั้งก็ตามแต่
  4. ต้องลืมเสียที
  5. เพลงสีดำ
  6. ฉัน vs ซาตาน
  7. รักเธอหัวทิ่มบ่อ
  8. หมดเงินหมดใจ
  9. ไตรกีฬา
  10. สัญญาณในใจ

อัลบั้มรวมเพลง[แก้]

  • Juicy 6 (12 กุมภาพันธ์ 2551)
  • Rock Unlimited (19 กุมภาพันธ์ 2551)
  • รักพันธุ์ร็อก ชุด 4 (26 กันยายน 2551)
  • Best of the Year 2008 (28 พฤศจิกายน 2551)
  • Rock Effects (26 กุมภาพันธ์ 2553)
  • Best Rock Male (21 มิถุนายน 2555)
  • 30th Anniversary ชุด 3 (11 มกราคม 2556)
  • Better Day Vol.4 (17 มกราคม 2556)
  • Party Time (มีนาคม 2556)
  • Summer Rock (เมษายน 2556)
  • Everyday Is Rock (มิถุนายน 2557)
  • Big Mountain Music Festival (พฤศจิกายน 2557)
  • Winter Hurt (พฤศจิกายน 2557)
  • Rock For Life Hits (มกราคม 2558)
  • The Legend of Rock Heroes (25 มกราคม 2558)
  • 50 Best Hurt Songs (เมษายน 2558)
  • The Legend of Rock Memory (9 กรกฏาคม 2558)
  • เจ็บจน Strong (6 พฤษภาคม 2559)
  • เพลงร็อก พลังรัก (23 กรกฎาคม 2559)
  • 33rd Anniversary ชุด 3 (10 กุมภาพันธ์ 2560)
  • ทำเนียบร็อก ยุค 90's ชุด 3 (18 กันยายน 2561)
  • เพลงดัง ขาร็อก (14 สิงหาคม 2562)

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต Fat Festival 7 (10-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)
  • คอนเสิร์ต Malang Rock Day Concert (29 มีนาคม พ.ศ. 2551)
  • คอนเสิร์ต Fat Festival 8 (8-9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)
  • คอนเสิร์ต Pattaya International Music Festival 2009 (21 มีนาคม พ.ศ. 2552)
  • คอนเสิร์ต รอยยิ้มเพื่อพ่อ ครั้งที่ 2 (7 มีนาคม - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552)
  • คอนเสิร์ต Pattaya International Music Festival 2010 (21 มีนาคม พ.ศ. 2553)
  • คอนเสิร์ต Bangkok Music Marathon (16 ตุลาคม พ.ศ. 2553)
  • คอนเสิร์ต Big Mountain Music Festival (10 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
  • คอนเสิร์ต มัน ใหญ่ มาก 2 (10 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]