แอล. เอส. โลว์รี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลอว์เรนซ์ สตีเฟน "แอล.เอส." โลว์รี (Laurence Stephen "L.S." Lowry)
Lowry memorial, Mottram
เกิดลอว์เรนซ์ สตีเฟน โลว์รี (Laurence Stephen Lowry)
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887(1887-11-01)
สเตรตฟอร์ด เทศมณฑลแลงคาเชอร์
(ปัจจุบันอยู่ในเกรเทอร์แมนเชสเตอร์)
ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976(1976-02-23) (88 ปี)
กลอสซอป เทศมณฑลดาร์บิเชอร์
ประเทศอังกฤษ
สัญชาติอังกฤษ
การศึกษาManchester Municipal College
Salford Technical College
มีชื่อเสียงจากภาพวาด
ผลงานเด่นGoing to the Match (1928)
Coming from the Mill (1930)
Industrial Landscape (1955)
Portrait of Ann (1957)
ขบวนการExpressionism
รางวัลFreedom of the City of Salford
Honorary Master of Arts
Honorary Doctor of Letters

ลอว์เรนซ์ สตีเฟน "แอล. เอส." โลว์รี (อังกฤษ: Laurence Stephen "L.S." Lowry; 1 พฤศจิกายน 1887 – 23 กุมภาพันธ์ 1976) เป็นจิตรกรภาพวาดชาวอังกฤษ โลว์รีมีชื่อเสียงมากในด้านการวาดภาพฉากชีวิตในนิคมอุตสาหกรรม (industrial districts) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ (North West England) ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เขาพัฒนาลักษณะเด่นของการวาดภาพ รวมถึงการวาดภาพภูมิทัศน์ของชาวเมืองด้วยรูปทรงของมนุษย์ที่มักจะมีลักษณะแบบ “มนุษย์ก้านไม้ขีด” เขาวาดภาพที่ดูลึกลับน่าพิศวงของเมืองที่ถูกทิ้งร้าง, ภาพเหมือนบุคคลที่ดูเศร้าสร้อย รวมทั้งภาพที่ไม่ได้เผยแพร่อย่าง “Marionette” ซึ่งถูกค้นพบหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว

เมื่อพิจารณาจากการที่เขาใช้ลักษณะของตัวแบบที่แปลกตา กระทั่งขาดการแสดงสภาพอากาศในภาพภูมิทัศน์ส่วนใหญ่ของเขาแล้วนั้น บางครั้งเขาก็แสดงคุณลักษณะเฉพาะที่ไร้เดียงสา (naïve)[1] ของ “จิตรกรวันอาทิตย์ (Sunday Painter)” แม้นี่จะไม่ใช่สถานะที่แกลเลอรี่จัดการนิทรรศการผลงานเก่าของเขาก็ตาม[2][3][4][5]

งานศิลปะจำนวนมากของโลว์รีนั้นถูกจัดแสดงอย่างถาวรใน the Lowry ซึ่งเป็นอาร์ตแกลเลอรี่ที่สร้าง ณ Salford Quays โดยมีจุดประสงค์ที่จะตั้งชื่อตามเขา โลว์รีนั้นปฏิเสธ British honours ถึงห้าครั้งในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ รวมทั้งปฏิเสธตำแหน่งอัศวิน (knighthood) ในปี 1968 ทำให้ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นผู้ที่ปฏิเสธ British honours มากครั้งที่สุด[6]

วันที่ 26 มิถุนายน 2013 เป็นวันเปิดนิทรรศการรวมผลงานของโลว์รีอย่างเป็นทางการ ณ Tate Britain ในกรุงลอนดอน ครั้งแรกที่ Tate และในปี 2014 นิทรรศการผลงานเดี่ยวของเขานอกสหราชอาณาจักร ถูกจัดขึ้นที่มณฑลหนานจิง สาธารณรัฐประชาชนจีน[7]

วัยเด็ก[แก้]

โลว์รีเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1887 เลขที่ 8 ถนน Barrett เมืองสเตรตฟอร์ด เทศมณฑลแลงคาเชอร์[8] เป็นการเกิดที่ยากลำบาก และเอลิซาเบ็ธ แม่ของเขานั้นหวังที่จะได้ลูกสาว ทำให้เธอรู้สึกอึดอัดตั้งแต่ครั้งแรกที่มองเขา เธอแสดงออกชัดเจนว่าอิจฉาพี่สาวของเธอที่ชื่อแมรี ซึ่งมีลูกสาวแสนสวยถึงสามคน ต่างจากเธอที่มีลูกชายงุ่มง่ามคนหนึ่ง พ่อของโลว์รี, โรเบิร์ต เป็นเสมียนให้กับ the Jacob Earnshaw and Son Property Company เขาเป็นคนเงียบๆ และคิดถึงแต่ตัวเอง ซึ่งโลว์รีเคยอธิบายว่าเขาเหมือนกับ “ปลาเย็นๆ ลื่นๆ” และ “(เป็นผู้ชายประเภทที่) คิดว่าตนเองมีชีวิตเพื่อใช้ และพยายามให้ดีที่สุดที่จะผ่านมันไป”[9]

หลังจากที่โลว์รีเกิด แม่ของเขาก็สุขภาพย่ำแย่ลงจนไม่สามารถไปสอนเปียโนได้อีก ตัวเธอมีพรสวรรค์และได้รับความเคารพด้วยความทะเยอทะยานที่จะขึ้นบนเวทีในฐานะนักเปียโนมืออาชีพ เธอเป็นผู้หญิง โมโหร้าย มีอาการทางประสาท ซึ่งเกิดจากการมีพ่อที่เข้มงวด มีความคาดหวังและมาตรฐานสูง เหมือนกับเขา แม่ของโลว์รีควบคุมและไม่ยอมให้เกิดความผิดพลาดขึ้น เธอใช้อาการป่วยเป็นการดึงความสนใจและความเชื่อฟังของสามีซึ่งอ่อนโยนและรักใคร่ในตัวเธอ รวมทั้งใช้เพื่อปกครองลูกชายของเธอด้วย ในบทสัมภาษณ์ที่เกิดขึ้นต่อมาในชีวิตของโลว์รีแสดงให้เห็นว่าเขามีวัยเด็กที่โศกเศร้า เติบโตขึ้นในบรรยากาศที่กดดันของครอบครัว ถึงแม้ว่าแม่ของเขาจะไม่ได้พึงพอใจที่เขาเป็นศิลปิน แต่จำนวนหนังสือที่โลว์รีได้รับเป็นของขวัญคริสต์มาสจากพ่อแม่ของเขาก็เขียนมอบไว้ว่า “แด่โลว์รีที่รักของเรา” ที่โรงเรียน เขามีเพื่อนน้อยคน และไม่มีความโดดเด่นทางวิชาการ พ่อของโลว์รีเป็นที่รักของเขา แต่ในบันทึกนั้น ชายผู้นี้เป็นคนเงียบสงบ ความสบายใจของเขาคือการหายเข้าไปในเบื้องหลังของเรื่องราวด้วยการทำตัวสงบเสงี่ยม[10][11]

เวลาส่วนมากในช่วงปีแรกๆ โลว์รีใช้ไปในแถบชานเมืองแมนเชสเตอร์ ส่วนหนึ่งของ Victoria Park, Rusholm แต่ในปี 1909 ช่วงที่เกิดภาวะกดดันทางเศรษฐกิจ ครอบครัวของโลว์รีย้ายไปสู่ 117 Station Road ในนิคมอุตสาหกรรม Pendlebury ภูมิทัศน์ของที่นี่ประกอบไปด้วยโรงงานทอผ้าและปล่องไฟของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนมากกว่าต้นไม้หลายเท่า โลว์รีหวนคิดถึงในภายหลัง “ในตอนแรก ผมเกลียดที่นั่น หลังจากนั้นหลายปี ผมเริ่มสนใจมันมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายผมกลับหลงใหลมัน…มีอยู่วันหนึ่ง ผมพลาดรถไฟจาก Pendlebury – (a place) ผมละเลยมันไปถึง 7 ปี --- และขณะที่ผมกำลังออกจากสถานีนั้น ก็ได้เห็นโรงสีของ the Acme Spinning Company… โครงโลหะสีดำขนาดใหญ่และแถวของช่องแสงสีเหลืองตั้งตรง ต้านทานกับความเศร้า ในขณะที่ความชื้นจู่โจมท้องฟ้ายามบ่าย โรงสีถูกปิดไปแล้ว… ผมเคยเห็นฉากนี้มาก่อน--- ฉากที่ผมเคยมองดูอยู่หลายต่อหลายครั้ง โดยไม่เคยมองเห็น--- ด้วยความปิติล้นเหลือ”[12]

การศึกษา[แก้]

หลังออกจากโรงเรียน โลว์รีเริ่มทำอาชีพรับจ้างให้กับบริษัท พอลล์ มอลล์ (Pall Mall) ก่อนจะกลายเป็นผู้เก็บค่าเช่าที่ เขามักใช้เวลาบางส่วนในช่วงพักรับประทานอาหารกลางวันที่ Buile Hill Park[13]

โลว์รีได้เข้าเรียนวิชาศิลปะในชั้นเรียนส่วนบุคคลในสาขาศิลปะโบราณและการฝึกวาดภาพในช่วงเย็น ในปี 1905 เขาได้เข้าเรียนที่สถาบันศิลปะ Manchester ที่ซึ่งโลว์รีได้ศึกษางานของกลุ่มศิลปิน Impressionism จากฝรั่งเศส, Pierre Adolphe Valette[14] โลว์รียกย่องสรรเสริญ Valette อย่างเต็มที่ในฐานะอาจารย์ สังเกตได้จาก “ผมไม่สามารถคาดหวังสูงเกินไป สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมมาจากการที่ผมเข้ามาสู่เมืองสีซีดของ Adolph Valette ที่เต็มไปด้วยศิลปิน Impresionism ชาวฝรั่งเศส ตระหนักรู้ถึงทุกสิ่งที่เกิดขึ้นใน Paris”[15] ในปี 1915 โลว์รีเข้าศึกษาต่อที่ Salford Royal Technical College (ขณะนี้เปลี่ยนชื่อเป็น University of Salford) ที่ซึ่งเขาศึกษาต่อไปจนถึงปี 1925 และเป็นที่ซึ่งเขาพัฒนาความสนใจในภูมิทัศน์ทางอุตสาหกรรม และเริ่มต้นผลิตงานในรูปแบบของเขาเอง[16]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ในปีต่อๆ มา เขาได้ใช้เวลาวันหยุดที่ Seaburn Hotel ที่ซันเดอร์แลนด์ ไปกับการวาดภาพทิวทัศน์ของทะเล อ่าวบริเวณใกล้เคียง และเหมืองแร่[17] เมื่อเขาไม่มีสมุดสเกตช์ภาพ โลว์รีจะวาดทิวทัศน์โดยใช้ดินสอหรือถ่านลงบนด้านหลังซองเอกสาร ผ้าเช็ดปากบนโต๊ะ หรือตั๋วฝากเสื้อคลุม และแสดงให้เหล่าคนหนุ่มสาวที่นั่งอยู่กับครอบครัวดู สิ่งของเหล่านั้นปัจจุบันมีมูลค่าเป็นพันปอนด์ ผ้าเช็ดปากผืนนั้นสามารถหาดูได้ที่โรงแรม Sunderland Marriott Hotel (ซึ่งก่อนหน้าคือ Seaburn Hotel)[ต้องการอ้างอิง]

โลว์รีค่อนข้างเป็นคนลึกลับ เป็นคนที่สนุกกับเรื่องราวโดยไม่คำนึงว่ามันเป็นความจริงหรือไม่[18] เพื่อนๆของเขาสังเกตว่า เรื่องราวของเขามีความโดดเด่นด้านอารมณ์ขันเกินกว่าที่จะเป็นความจริง และในหลายๆ ครั้งเขาเจตนาสร้างเรื่องโกหกโดยไตร่ตรองด้วยความรอบคอบ เรื่องราวของเขาเกี่ยวกับ "Ann" ไม่สอดคล้องกับความจริงและเขาสร้างตัวละครอื่นขึ้นมาเพื่อที่จะเล่านิทานของเขาต่อไป นาฬิกาหลายๆ เรือนในห้องนอนของเขานั้นถูกตั้งไว้ให้เป็นเวลาที่แตกต่างกัน เขาบอกกับบางคนว่าเหตุผลคือเขาไม่อยากรับรู้เวลาที่แท้จริง แต่กับบางคน เขาอ้างว่าเขาตั้งมันแบบนั้นเพื่อจะได้ไม่ได้ยินเสียงจากนาฬิกาที่ดังพร้อมๆ กัน[ต้องการอ้างอิง]

โลว์รีมีมิตรภาพที่ยาวนาน รวมทั้งมิตรภาพกับศิลปินที่มาจาก Salford ชื่อ Harold Riley และเขาสร้างมิตรภาพใหม่ๆ อยู่ตลอดในวัยหนุ่ม เขาได้ซื้อผลงานจากศิลปินหนุ่มที่เขาชื่นชม เช่น James Lawrence Isherwood ซึ่งเป็นเจ้าของงาน ผู้หญิงกับแมวดำ (Woman with Black Cat) และได้แขวนไว้บนผนังห้องทำงานของเขา[19] เขายังคงไว้ซึ่งมิตรภาพอย่างต่อเนื่องกับศิลปินบางคนในกลุ่มนี้ โลว์รีเป็นเพื่อนสนิทกับศิลปิน Cumbrian อายุ 23 ปี ชื่อ Sheila Fell ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1955 เขาอธิบายไว้ว่า "เธอเป็นศิลปินที่วาดภาพภูมิทัศน์ได้ดีที่สุดของช่วงกลางศตวรรษที่ 20"[20] เขาสนับสนุนอาชีพของเธอโดยการซื้อผลงานหลายชิ้น และยกให้พิพิธภัณฑ์ หลังจากนั้นศิลปินสาวได้อธิบายถึงตัวเขาว่า “เขาเป็นนักมนุษยนิยมที่ดี การจะเป็นนักมนุษยนิยมนั้น ต้องรักในตัวของมนุษย์ และการจะเป็นนักมนุษยนิยมที่ดีนั้น ต้องแยกจากห่างออกจากมนุษย์เสียบ้าง” และเพราะเขาไม่ได้แต่งงาน เธอจึงเป็นผู้หญิงที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขามาก แม้ว่าเขาจะมีเพื่อนเป็นผู้หญิงหลายคนก็ตาม อย่างไรก็ดี เมื่อเขาอายุ 88 เขาได้ประกาศว่าตัวเขาไม่เคยมีผู้หญิงเลย[21]

เพราะเขามีชื่อเสียงในช่วงปลาย 1950s เขาจึงเบื่อหน่ายที่จะถูกเข้าหาโดยคนแปลกหน้า และจะยิ่งไม่ชอบหากคนแปลกหน้าเหล่านั้นบุกมาถึงบ้าน อย่างไรก็ตามเขาสุภาพต่อเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงของ Mottram ที่เคารพในตัวเขาและความเป็นส่วนตัวของเขา เขาใช้รถสาธารณะเพื่อเดินทางในพื้นที่หลังจากการเกษียณ อนุสาวรีย์ของเขาที่สร้างจากเงินตั้งอยู่บริเวณเสาไฟจราจรในหมู่บ้าน

เนื่องจากความพยายามที่จะสร้างภาพว่าเขาเป็น “ผู้ชายง่ายๆ” และด้วยความผิดพลาด เขาไม่ได้ชอบศิลปะคลาสสิคยุคหลัง โลว์รีจึงเป็นที่รู้จักในกระแสหลักของศิลปะในศตวรรษที่ 20 ในการให้สัมภาษณ์กับ Mervyn Levy เขาแสดงความต้องการที่จะทำงานให้ René Magritte และ Lucian Freud แม้ว่าเขาจะยอมรับว่าเขาไม่เข้าใจงานของ Francis Bacon ก็ตาม ถึงแม้ว่าโลว์รีจะดูโดดเดี่ยวและรักชีวิตส่วนตัว เขาก็มีความสุขกับการร่วมชมการแข่งขันฟุตบอล และเป็นผู้สนับสนุนที่กระตือรือร้นของทีมแมนเชสเตอร์ซิตี (supporter)[22][23]

การตายของบิดาและมารดา[แก้]

พ่อของเขาเสียชีวิตในปี 1932 ทิ้งแม่ของเขาเอาไว้ แม่ผู้ซึ่งเป็นโรคประสาทและอารมณ์แปรปรวนก็ล้มหมอนนอนเสื่อ และพึ่งพาเขาที่เป็นลูกชายเพื่อการดูแล โลว์รีวาดภาพหลังจากที่แม่เขาเข้านอนแล้ว ในช่วงระหว่างสี่ทุ่มหรือตีสอง หรือขึ้นอยู่กับความเหนื่อยล้าของเขา เขาสามารถอยู่ต่อได้เป็นชั่วโมงๆ เพื่อต่อเติมรายละเอียดในรูปวาด ภาพวาดส่วนใหญ่ที่ถูกวาดขึ้นในช่วงนี้ล้วนแล้วแต่เป็นภาพการสาปแช่งตัวของเขาเอง (มักจะเรียกงานชุดนี้ว่า “Horrible Heads”) ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงอิทธิพลของงาน Expressionism และอาจรวมไปถึงแรงบันดาลที่ได้ใจจากนิทรรศการงานของ van GoghManchester Art Gallery ในปี 1931 ด้วย โลว์รีแสดงความเสียใจที่เขาได้รับเพียงการยอมรับเล็กๆ น้อยๆ ในฐานะศิลปิน จนกระทั่งปีที่แม่ของเขาเสียชีวิตลง และนั่นทำให้เธอไม่มีโอกาสที่จะร่วมยินดีในความสำเร็จของเขา จากช่วงกลางปี 1930 กระทั่งปี 1939 โลว์รีใช้เวลาพักผ่อนในช่วงวันหยุดปีละครั้งที่ Berwick-upon-Tweed หลังจากการปะทุขึ้นของสงคราม (war) โลว์รีทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครคอยระวังไฟ และกลายเป็นศิลปินสงคราม war artist อย่างเป็นทางการในปี 1943 ต่อมาในปี 1953 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นศิลปินอย่างเป็นทางการในงานพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่สอง (Coronation of Queen Elizabeth II)[ต้องการอ้างอิง]

หลังการตายของแม่เขาในเดือนตุลาคม 1939 เขากลายเป็นคนสิ้นหวังและทำงานล่วงเวลาหนักขึ้น ละเลยการดูแลรักษาบ้านจนกระทั่งเจ้าของที่ดินทำการยึดคืนในปี 1948 เขาไม่ได้ขัดสนเงินทองในขณะนั้น จึงซื้อ “the Elms” ใน Mottram in Longdendale ถึงแม้ว่าเขาจะเห็นว่าบ้านหลังนี้นั้นน่าเกลียดและไม่ได้สะดวกสบายเลย เขาก็ยังคงอาศัยอยู่จนกระทั่งเสียชีวิตในอีกร่วม 30 ปีหลังจากนั้น[24]

ชีวิตหลังเกษียณ[แก้]

โลว์รีเกษียณจากบริษัท พอลล์ มอลล์ พรอพเพอร์ตี้ในปี 1952 ในวันเกิดปีที่ 65 ของเขา เขากลายเป็นหัวหน้าพนักงานเก็บเงินแต่ก็ไม่ได้หยุดการเก็บค่าเช่า บริษัทเองก็สนับสนุนการการเป็นศิลปินของเขา และอนุญาตให้เขามีเวลาพักเพื่อจะไปจัดแสดงงานศิลปะ นอกเหนือจากเวลาลางานประจำปีของเขา Margery Thompson ได้พบเขาในขณะที่เธอยังเป็นนักเรียนอยู่ เขากลายมาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของเธอ โลว์รีเข้าร่วมคอนเสิร์ตกับครอบครัวของ Margery Thompson และเพื่อนของเธอ ไปเยี่ยมบ้านเธอ และสร้างความบันเทิงให้แก่เธอที่บ้านที่ Pendlebury ของเขา ที่ซึ่งเขาถ่ายทอดความรู้ทางการวาดภาพให้กับเธอ

ในปี 1957 เด็กนักเรียนอายุ 13 ปี ชื่อ Carol Ann Lowry ได้เขียนจดหมายถึงเขาว่าแม่ของเธอได้ให้เธอมาขอคำแนะนำจากเขาเรื่องการเป็นศิลปิน เขาไปหาเธอที่บ้านที่ Heywood และกลายเป็นเพื่อนกับครอบครัวของเธอในที่สุด ความสัมพันธ์ของเขากับ Carol Ann Lowry ยาวนานตราบเท่าชีวิตที่เหลืออยู่ของเขา[25]

โลว์รีเล่นตลกล้อเลียนการเกษียณจากโลกศิลปะของเขาเอง โดยอ้างว่าเขาขาดความสนใจในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์จึงเริ่มมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนหรือกลุ่มตัวละคร และจินตนาการถึงบทบาทที่แปลกประหลาดแทน ไม่มีใครทราบถึงผลงานชุดแนวอีโรติกของเขาที่ไม่เคยเปิดเผยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง ในภาพวาดปรากฏตัวละครลึกลับชื่อ "Ann" ผู้ซึ่งปรากฏในภาพเหมือนบุคคลและภาพสเกตช์ที่เขาวาดขึ้นมาตลอดช่วงชีวิต ขณะที่เธอกำลังถูกจู่โจมเพื่อมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งขณะกำลังได้รับการทรมานให้ได้รับความอับอายอีกด้วย ชิ้นงานอีโรติกเหล่านี้ซึ่งบางครั้งอาจถูกเรียกว่า “the Mannequin Sketches” หรือ “Marionette Works” ถูกเก็บไว้ ณ the Lowry Centre และผู้เข้าชมสามารถขอเข้าชมได้[26][27]

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

โลว์รีได้รับรางวัลซึ่งแสดงถึงเกียรติยศคือศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Arts Degree) จาก the University of Manchester ในปี 1945 และ Doctor of Letters ในปี 1961

ในเดือนเมษายน ปี 1955 โลว์รีได้รับเลือกให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีของ the Royal Academy of Arts[28] และในเดือนเมษายน ปี 1962 เขาก็ได้เป็นหนึ่งในสมาชิกสมาคมราชบัณฑิตยสถานของสหราชอาณาจักรเต็มตัว (Royal Academician)[28] เมื่อถึงปลายเดือนธันวาคมในปีเดียวกัน สถานะสมาชิกของเขาก็ถูกยกขึ้นเป็นนักวิชาการระดับอาวุโส[28]ในขณะที่เขาอายุ 75 ปี[29]

โลว์รีได้รับอิสระจากเมือง Salford ในปี 1965 ต่อมาในปี 1975 ก็ได้รับรางวัลทรงเกียรติ Doctor of Letters Degrees จาก the Universities of Salford และ Liverpool

ปี 1964 โลกศิลปะเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 77 ปีของเขา ด้วยการจัดนิทรรศการแสดงงานศิลปะของโลว์รี ร่วมกับ 25 ศิลปินร่วมสมัยซึ่งได้ส่งผลงานเข้าร่วมที่ Monk’s Hall Museum, Eccles คณะออร์เคสตร้า The Halle (Hallé Orchestra) แสดงดนตรีเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา และนายกรัฐมนตรี Harold Wilson ได้นำภาพวาดของโลว์รี “The Pond” ไปใช้เป็นการ์ดอวยพรคริสต์มาสอย่างเป็นทางการ ภาพ Coming Out of School ของโลว์รีถูกนำไปทำเป็นสแตมป์ของนิกายชั้นสูงทางศาสนาคริสต์ ในชุดที่ออกโดยที่ทำการไปรษณีย์เพื่อยกย่องศิลปินที่ยิ่งใหญ่ของสหราชอาณาจักรในปี 1968[ต้องการอ้างอิง]

โลว์รีปฏิเสธโองการแต่งตั้งเข้าสู่สภาของสหราชอาณาจักรถึงสองครั้ง ครั้งแรกในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ (OBE) ในปี 1955 และครั้งที่สองในตำแหน่งผู้บังคับบัญชา (CBE) ในปี 1961[ทำไม?][30] เขายังปฏิเสธตำแหน่งอัศวินในปี 1968 และปฏิเสธที่จะเข้าร่วม the Order of the Companions of Honour (CH) ในปี 1972 และในปี 1976 อีกด้วย[30] โลว์รีถูกบันทึกว่าเป็นผู้ที่ปฏิเสธยศตำแหน่งบ่อยครั้งที่สุด[30]

ลักษณะผลงาน[แก้]

ในขั้นแรกนั้นโลว์รีเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในฐานะของศิลปินผู้วาดภาพภูมิทัศน์ของเมืองอุตสาหกรรมทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ ภาพของเขาแสดงให้เห็นถึงความเปล่าเปลี่ยวและความเหงาของชีวิตในเมืองหลวงที่ทันสมัย ลักษณะสถาปัตยกรรมของโลว์รีถูกวาดอย่างระมัดระวังให้มีสัดส่วนที่ดูมั่นคงแข็งแกร่ง แต่เรียบง่าย นอกจากนี้เอกลักษณ์ของโลว์รีอีกประการคือการวาดภาพคนให้มีลักษณะเรียบง่าย ไม่เน้นความเหมือนจริง ลักษณะคล้ายกับไม้ขีดไฟหรือตัวเลข (matchstick men) จากการทำงานของเขาทำให้เขาได้เดินเตร่ไปรอบๆ เมืองที่อาศัยอยู่กลายเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดลักษณะบรรยากาศและอารมณ์ของผู้คนในเมือง โดยผลงานของเขามีกลิ่นอายของแนวคิดแบบ Expressionism โดยเฉพาะภาพวาดบุคคล เช่น Self Portrait (1925), HEAD OF A MAN (WITH RED EYES; 1938) เป็นต้น นอกจากนี้ภาพของเขายังสะท้อนให้เห็นถึงพลวัตของเมืองที่กำลังขับเคลื่อนไป กระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โลว์รีก็ได้วาดภาพเกี่ยวกับความเสียหายภายหลังสงครามที่เกิดขึ้นกับเมืองที่เขาอาศัยอยู่ แม้มันจะไม่ใช่งานที่เขาสนใจมากนักก็ตาม ดังเช่นที่ปรากฏในภาพ BLITZED SITE (1942) เป็นต้น

ผลงานของโลว์รีไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่ามีแนวคิดร่วมกับการเคลื่อนไหวทางศิลปะแบบใดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ลักษณะผลงานของเขาแสดงให้เห็นถึงกระแสนิยมทางศิลปะที่เปลี่ยนไป เช่น การใช้รูปทรงอย่างง่าย บ่งบอกเรื่องราวโดยไม่กังวลหรือสนใจถึงคุณค่าความงามในศิลปะแบบจารีต ภาพตัวบุคคลของเขาที่มีลักษณะเหมือนไม้ขีดไฟนั้นแสดงออกมาร่วมกับแนวคิดอื่นๆ ในการลดทอนรูปทรงที่ปรากฏแก่สายตาให้เป็นรูปทรงบาศก์ อย่างลัทธิ cubism เป็นต้น การใช้เฉดสีที่น้อยในผลงานแต่สามารถแสดงอารมณ์ออกมาได้ บรรยายถึงความอึมครึมเงียบเหงาแต่วุ่นวายของเมืองอุตสาหกรรม ซึ่งลักษณะการใช้สีโมโนโทนเช่นนี้เป็นความนิยมที่กำลังเกิดขึ้นเช่นเดียวกันในช่วงเวลาดังกล่าว

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าโลว์รีได้พยายามสร้างผลงานที่มีแนวคิดคล้ายกับศิลปะแบบจารีต ในการเป็นสื่อสะท้อนภาพของสังคมในพื้นที่หนึ่ง แต่ด้วยเทคนิควิธีนั้นยึดโยงกับกระแสนิยมในศิลปะที่กำลังขับเคลื่อนไปภายใต้กรอบแนวคิดใหม่ๆ ในยุคสมัยที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งปลุกเร้าอารมณ์สร้างสรรค์ให้กับศิลปินในยุคนั้นได้ริเริ่มสร้างลักษณะงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โลว์รียืนหยัดสร้างผลงานท่ามกลางกระแสการเคลื่อนไหวเหล่านั้นโดยทำงานนอกเวลาในช่วงหลังเลิกงาน แม้เขาจะไม่ได้มีการวาดรูปแบบเหนือจินตนาการ หรือวาดภาพโดยใช้ความเร็วเป็นแกนหลัก แต่ผลงานของเขาก็ถือได้ว่าเป็นลักษณะที่สะท้อนให้เห็นถึงกระแสนิยมของศิลปะที่กำลังโหมกระหน่ำในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 และแนวคิดศิลปะแบบจารีตที่กำลังอ่อนแรงลงทุกทีนั่นเอง

เทคนิคของผลงาน[แก้]

ผลงานของโลว์รีมักเป็นภาพสเกตช์ หรือเป็นภาพวาด โดยภาพสเกตช์ของเขามักเป็นการสเกตช์อย่างรวดเร็วด้วยดินสอหรือถ่านลงบนกระดาษที่สามารถหยิบฉวยได้ในขณะนั้น บางครั้งเขาเลยนำกระทั่ง ซองจดหมายมาใช้ในการสเกตช์ ภาพวาดของเขามักประกอบไปด้วยสีพื้นฐาน ไม่มีความฉูดฉาดมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นสีปนเทา เขาเคยกล่าวไว้ว่า

"ผมเป็นคนที่เรียบง่าย และผมจะใช้วัสดุที่เรียบง่าย: งาช้าง, สีดำ, สีแดง, สีฟ้าปรัสเซียน, สีเหลืองสด สีเกล็ด, สีขาวกลาง และน้ำมันลินสีด นั่นคือทั้งหมดที่ผมเคยใช้ในภาพวาดของผม ผมชอบน้ำมัน"

ในการสร้างผลงานภาพสี โลว์รีจะใช้แปรงหลายๆ ขนาด นอกจากนี้ยังมีการใช้ด้ามแปรงหรือพู่กันในการขยี้เขียนลงบนภาพเพื่อให้เกิดความแตกต่างของพื้นผิว ในบางครั้งเขายังใช้นิ้วมือรวมทั้งเล็บของเขาใน การวาดภาพอีกด้วย

งานของ L.S. Lowry[แก้]

งานของโลว์รีถูกถือครองอยู่ทั้งที่เป็นสาธารณะและโดยส่วนตัว คอลเลคชั่นที่ใหญ่ที่สุดถูกถือครองโดย Salford City Council และถูกจัดแสดงไว้ที่ The Lowry คอลเลคชั่นนี้มีงานกว่า 400 ชิ้น[31] การตรวจสอบด้วยวิธี X-Ray เผยให้เห็นร่องรอยที่ถูกปกปิดอยู่ภายใต้ภาพวาดของเขา “ภาพร่างของ Ann”

Going to a Match งานอีกชุดที่อยู่ในความครอบครองของ the Professional Footballer’s Association (PFA) และถูกจัดแสดงชั่วคราว ณ the National Football Museum

The Tate Gallery ในลอนดอนเป็นเจ้าของผลงาน 23 ชิ้น

The City of Southhampton ครอบครองงาน The Floating Bridge, The Canal Bridge และ An Industrial Town งานของเขาได้รับความสนใจจาก MOMA ใน New York

The Christchurch Art Gallery Te Puna o Waiwhetu ในเมือง Christchurch, New Zealand ครอบครองงานชื่อ Factory at Widnes (1956) ในคอลเลคชั่นของพวกเขา ภาพวาดนี้เป็นหนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของปี 1950s และเป็นชิ้นที่โดดเด่นในคอลเลคชั่นของงานศิลปะสมัยใหม่ในสหราชอาณาจักร[32]

ในช่วงชีวิตของโลว์รี เขาสร้างภาพวาดราว 1,000 ภาพ และมากกว่า 8,000 ภาพ เป็นภาพเขียน (Drawing) ในบัญชีรายชื่อด้านล่างนี้เป็นบางส่วนของงานชิ้นที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

Selected paintings[แก้]

  • 1917 Coming from the Mill — early example of what has become known as the Lowry style
  • 1922 A Manufacturing Town — archetypal Lowry industrial landscape
  • 1922 Regent Street, Lytham
  • 1930 Coming from the Mill
  • 1938 A Head of a Man
  • 1949 The Canal Bridge
  • 1950 The Pond — the image was used as a Christmas card by Prime Minister Harold Wilson in 1964
  • 1957 Portrait of Ann
  • 1959 On the Sands
  • (etc.)

Selected Drawings[แก้]

  • 1908 Head from the Antique
  • 1914 Seated Male Nude
  • 1920 The Artist's Mother
  • 1931 Pendlebury Scene
  • 1958 The Elms (Lowry's house in Mottram in Longdendale)
  • 1961 Colliery, Sunderland
  • 1969 The Front, Hartlepool
  • (etc.)

References[แก้]

Notes

  1. Jones, Jonathan (18 April 2011). "LS Lowry: The original grime artist". guardian.co.uk. London: Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
  2. L. S. Lowry Retrospective Exhibition (Manchester: Manchester City Art Gallery, 1959)
  3. L S Lowry RA: Retrospective Exhibition, (London: Arts Council, 1966)
  4. Mervyn Levy, L. S. Lowry (London: Royal Academy of Art, 1976)
  5. M. Leber and J. Sandling (eds.), L. S. Lowry Centenary Exhibition (Salford: Salford Museum & Art Gallery, 1987)
  6. Rogers, Simon (26 January 2012). "Refused honours: who were the people who said no? (And help us find out)". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 November 2012.
  7. Nanjing Exhibition.
  8. Anon. "Stretford Area". Blue Plaques In Trafford. Trafford Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-14. สืบค้นเมื่อ 18 May 2012.
  9. Anon. "LS Lowry Biography". lowryprints.com. LS Lowry prints. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  10. Julian Spalding, Lowry, (Oxford: Phaidon, New York: Dutton, 1979)
  11. Paul Vallely, 'Will I be a great artist?', The Independent, 23 February 2006
  12. Anon. "LS Lowry - His Life and Career". thelowry.com. The Lowry. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  13. "Buile Hill Park". Salford Borough Council. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  14. "Lowry and Valette". Manchestergalleries.org. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
  15. Brown, Mark (14 October 2011). "Exhibition for 'Monet of Manchester' who inspired Lowry". guardian.co.uk. London: Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
  16. McLean, D. 1978
  17. McLean, 1978.
  18. For example, that when he was treated to lunch at the Ritz by the art dealer Andras Kalman, he asked if they did Egg and Chips, Daily Telegraph, Thursday 9 August 2007, Issue Number 47,332 p. 27.
  19. "Lawrence isherwood". Isherwoodart.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 March 2014.
  20. ""LS Lowry's brilliant but tragic protege gets her day in the sun" at independent.co.uk". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-15.
  21. Nikkhah, Roya (16 October 2010). "Hidden LS Lowry drawings reveal artist's erotic stirrings". The Telegraph. London: Telegraph Media Group.
  22. "Dream exhibition for City fan Ben". citylife.co.uk. 10 February 2009 - Ben, of course, also follows the great Lowry in another respect – his support and devotion to Manchester City. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  23. "Lowry's 'hidden' football painting could set £4.5m record at auction... but what would he make of his beloved Manchester City today?". Daily Mail. 31 January 2011. สืบค้นเมื่อ 13 September 2011.
  24. "L.S. Lowry". Britain Unlimited. สืบค้นเมื่อ 8 November 2006.
  25. Angela Levin (16 April 2011). "The dark side of the matchstick man". Dailymail.co.uk. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
  26. Thorpe, Vanessa (25 March 2007). "Lowry's dark imagination comes to light". The Observer. Guardian News and Media Limited. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  27. Osuh, Chris (26 March 2007). "Let Lowrys see the light". Manchester Evening News. MEN media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-22. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  28. 28.0 28.1 28.2 "Royal Academy of Arts Collections, RA Collections, Academicians". Royal Academy of Arts. สืบค้นเมื่อ 2014-08-22.
  29. "Royal Academy of Arts, Membership". Wikipedia.org. สืบค้นเมื่อ 2014-08-22.
  30. 30.0 30.1 30.2 "Queen's honours: People who have turned them down named". London: BBC. 26 January 2012. สืบค้นเมื่อ 26 January 2012.
  31. The Lowry, BBC and the Public Catalogue Foundation, สืบค้นเมื่อ 25 January 2013
  32. "Factory At Widnes – Collection | Christchurch Art Gallery Te Puna O Waiwhetu". Christchurchartgallery.org.nz. 2004-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 2012-11-01.