แอร์แคนาดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แอร์ แคนาดา)
แอร์แคนาดา
IATA ICAO รหัสเรียก
AC ACA Air Canada
ก่อตั้ง10 เมษายน ค.ศ. 1937 (87 ปี)
ท่าหลักแคลกะรี
มอนทรีอัล-ทรูโด
โทรอนโต-เพียร์สัน
แวนคูเวอร์
เมืองสำคัญฮาลิแฟกซ์
ออตตาวา
สะสมไมล์แอโรแปลน
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
ขนาดฝูงบิน316
จุดหมาย222
บริษัทแม่ACE Aviation Holdings Inc.
สำนักงานใหญ่แคนาดา มอนทรีอัล รัฐควิเบก, แคนาดา
บุคลากรหลักMichael Rousseau (ประธาน และ ประธานบริหาร)
เว็บไซต์www.aircanada.com

แอร์ แคนาดา (อังกฤษ: Air Canada) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศแคนาดา อีกทั้งยังเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลกเมื่อนับตามขนาดฝูงบิน ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1937 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองมอนทรีอัล รัฐควิเบก สายการบินให้บริการทั้งเที่ยวบินทั่วไป เที่ยวบินเหมาลำ และบริการขนส่งสินค้าไปยังกว่า 240 จุดหมายทั่วโลก โดยมีท่าอากาศยานหลักคือท่าอากาศยานนานาชาติโทรอนโตเพียร์สัน และเป็นหนึ่งในสายการบินผู้ร่วมก่อตั้งพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์[1] ในปี ค.ศ. 2006 มีผู้ใช้บริการสายการบินกว่า 32 ล้านคน

ประวัติ[แก้]

ทรานส์แคนาดาแอร์ไลน์[แก้]

เครื่องบินล็อกฮีต แอล-10เอ ชื่อเครื่อง Electra รหัสข้างเครื่อง CF-TCC ของทรานส์แคนาดาแอร์ไลน์ ที่พิพิธภัณฑ์การบินแคนาดาตะวันตก

ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1937 สายการบินทรานส์แคนาดาแอร์ไลน์ (Trans-Canada Airlines) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแคนาดา (Canadian National Railway)[2][3] โดยเที่ยวบินที่มีผู้โดยสารเที่ยวบินแรกได้เริ่มต้นขึ้นโดยใช้เครื่องบินล็อกฮีด แอล-10เอ[4] บรรทุกผู้โดยสาร 2 คน และจดหมายจำนวนหนึ่งจากแวนคูเวอร์ ไปยังซีแอตเทิล เมื่อวันที่1 กันยายนของปีเดียวกัน ในช่วงแรก สายการบินมีสำนักงานอยู่ที่เมืองวินนิเปก แต่ได้ย้ายไปยังเมืองมอนทรีอัล ตามนโยบายของรัฐบาลกลางในปีค.ศ. 1949 และทรานส์แคนาดาแอร์ไลน์ยังเป็นสายการบินแรกๆ ที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจองที่นั่ง หลังจากนั้นในปีค.ศ. 1694 สายการบินได้กลายเป็นสายการบินแห่งชาติ และได้เปลี่ยนชื่อสายการบินเป็นแอร์แคนาดาในปีถัดมา ในช่วงปลายทศวววษ 1970 ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ของการรถไฟแคนาดา ทำให้แอร์แคนาดาได้แยกตัวเป็นอิสระจากการรถไฟแคนาดา และเป็นบริษัทที่บริหารงานโดยรัฐ (เช่นเดียวกับการบินไทยในปัจจุบัน)

ช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990[แก้]

ในปี ค.ศ. 1987 แอร์แคนาดาได้กลายเป็นสายการบินแรกของโลกที่มีนโยบายห้ามสูบบุหรี่ในเที่ยวบิน และในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) สายการบินได้ประสบความสำเร็จในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นของเอกชน และได้ขายธุรกิจบัตรเครดิตของสายการบินให้กับไดเนอร์คลับ แอร์แคนาดากลายเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์[1] ในปี ค.ศ. 1990 และได้มีการใช้เที่ยวบินร่วมกับสายการบินในเครือข่าย

นักบินของแอร์แคนาดาได้ทำการนัดหยุดงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1998[5] และในปลายปีค.ศ. 1999 รัฐบาลแคนาดาได้ผ่อนปรนข้อกำหนดในการทำการบินบางข้อ ส่งผลให้สายการบินในแคนาดาเริ่มมีความพยายามที่จะควบรวมกิจการ

โบอิง 737-200 ของแอร์แคนาดาในลวดลายร่วมระหว่างแอร์แคนาดาและแคนาเดียนแอร์ไลน์

ศตวรรษที่ 21[แก้]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2001 แอร์แคนาดาได้เข้าควบกิจการของแคนาเดียนแอร์ไลน์อินเตอร์เนชันแนล แอร์แคนาดาเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับที่สิบสองของโลกในศตวรรษที่ 21[6]

กิจการองค์กร[แก้]

บริษัทลูก[แก้]

  • แอร์แคนาดาคาร์โก้
  • แอร์แคนาดาเจ็ทซ์
  • แอร์แคนาดารูจ
  • แอร์แคนาดาเวเคชั่น
  • แอโรแพลน
บอมบาร์ดิเอร์ แดช-8-300 ของแอร์แคนาดาแจ๊ส

บริษัทลูกในอดีต[แก้]

  • แอร์แคนาดาแจ๊ส
  • แอร์แคนาดาแทนโก้
  • ซิป

จุดหมายปลายทาง[แก้]

แอร์แคนาดาได้ให้บริการเที่ยวบินไปยัง 222 จุดหมายปลายทางทั่วโลก

แผนที่จุดหมายปลายทางของแอร์แคนาดา

ข้อตกลงการบินร่วม[แก้]

แอร์แคนาดามีข้อตกลงการทำบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[7]

ข้อตกลงระหว่างสายการบิน[แก้]

แอร์แคนาดามีข้อตกลงกับสายการบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบิน[แก้]

ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2022 ฝูงบินของแอร์แคนาดามีดังนี้:

ฝูงบินหลักของแอร์แคนาดา
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร[12][13] หมายเหตุ
J W Y รวม
แอร์บัส เอ220-300 28 17[14] 12 125 137 คำสั่งซื้อดั่งเดิม 45 ลำกับ 30 ตัวเลือก[15]
คำสั่งซื้อ 12 ลำถูกยกเลิกในปี 2020,[16] และสั่งซื้ออีกครั้งในปี 2021[17]
แอร์บัส เอ319-100 1 14 106 120 เครื่องบินหนึ่งลำจะนำกลับมาใช้งานหลังจากการปลดประจำการในเดือนมีนาคม 2022
แอร์บัส เอ320-200 17 14 132 146 จะถูกปลดประจำการและแทนที่ด้วยโบอิง 737 MAX-8
แอร์บัส เอ321-200 15 16 174 190
แอร์บัส เอ321XLR 26 14 168 182 เริ่มส่งมอบในปีค.ศ. 2024[18]
มีการติดตั้งที่นั่งชั้นซิกเนเจอร์คลาส.[18]
14 สิทธิ์ในการซื้อเพิ่มเติมจากปีค.ศ. 2027 ถึง 2030[18]
แอร์บัส เอ330-300 16 32 24 241 297 เครื่องบินทั้งหมดจะมีการติดตั้งที่นั่งแบบใหม่
เครื่องบินบางลำเคยประจำการกับสิงคโปร์แอร์ไลน์และตัปปูร์ตูกัล[19][20]
27 21 244 292
โบอิง 737 MAX-8 35 5 16 153 169 คำสั่งซื้อเดิม MAX-8 33 ลำและ MAX-9 28 ลำ ด้วย 18 และ 30 สิทธิ์สั่งซื้อตามลำดับ[21]
มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อเป็น MAX-8 50 ลำและ MAX-9 11 ลำ[22][23]
ยกเลิกคำสั่งซื้อของรุ่น MAX-9 ทั้ง 11 ลำและรุ่น MAX-8 10 ลำในปีค.ศ. 2020[24][16]
กำหนดส่งมอบในปีค.ศ. 2022[25]
ทดแทนแอร์บัส เอ320-200[26]
โบอิง 777-200LR 6 40 24 236 300
โบอิง 777-300อีอาร์ 18 40 24 336 400
28 398 450
โบอิง 787-8 8 20 21 214 255
โบอิง 787-9 29 3 30 21 247 298 1 ลำมีกำหนดส่งมอบในปี 2022 และ 2 ลำในปี 2023[25]
ฝูงบินของแอร์แคนาดาเจ็ทซ์
แอร์บัส เอ319-100 4 58 58
ฝูงบินของแอร์แคนาดาคาร์โก้
โบอิง 767-300อีอาร์/BDSF 2 6 Cargo เริ่มส่งมอบเครื่องบินดัดแปลงในปีค.ศ. 2021[27][28]
รวม 179 57

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Air Canada - Star Alliance". web.archive.org. 2009-04-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "Air Canada History". CBC News. 14 May 2004. Archived from the original on 31 March 2009. Retrieved 4 April 2009.
  3. "Timeline | Air Canada's 80th Anniversary". web.archive.org. 2018-12-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "CBC News Indepth: Air Canada". web.archive.org. 2006-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-21. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "Air Canada Strike Settled". web.archive.org. 2009-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-13. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. "CBC News Indepth: Air Canada". web.archive.org. 2006-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-21. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. "Air Canada Codeshare Partners". www.aircanada.com. สืบค้นเมื่อ 22 April 2020.
  8. "Cathay Pacific signs codeshare deal with Air Canada".
  9. "What Qatar Airways' New Air Canada Codeshare Means for Passengers". 18 November 2020.
  10. Curran, Andrew (29 March 2022). "Air Canada Inks A Partnership With Mexican Airline Aeromar". Simple Flying. simpleflying.com. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  11. "INTERLINE AND CODESHARE TRAVEL". Pakistan International Airlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
  12. Air Canada/Air Canada Jazz fleet Date accessed: 18 February 2009
  13. Cabin Comfort – Economy Class – North America Date accessed: 4 December 2013
  14. "Air Canada reverses decision to cancel 12 A220s, will take the jets after all".
  15. "Air Canada and Bombardier Finalize Landmark C Series Order for up to 75 Aircraft" (Press release). 28 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
  16. 16.0 16.1 "Air Canada Cancels 12 Airbus A220 And 10 737 MAX Orders". 9 November 2020.
  17. "Air Canada reverses decision to cancel 12 A220s, will take the jets after all".
  18. 18.0 18.1 18.2 "Air Canada Announces the Acquisition of 26 Airbus A321neo Extra-Long Range Aircraft". 22 March 2022. สืบค้นเมื่อ 22 March 2022.
  19. "ST Aerospace Secures Interior Reconfiguration Contract from Air Canada for its A330-300 Fleet". 10 April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-29. สืบค้นเมื่อ 17 April 2018.
  20. "Q4 2020 MDA" (PDF). 1 April 2021.
  21. "Boeing, Air Canada Finalize Order for 61 737 MAXs" (Press release). 1 April 2014.
  22. "Q1 2017 MDA" (PDF). Air Canada. 5 May 2017. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "Q3 2017 MDA" (PDF). Air Canada. 25 October 2017. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "Q1 2020 MDA" (PDF). Air Canada. 4 May 2017. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. 25.0 25.1 "Air Canada Reports Third Quarter 2021 Results". News Release Archive (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  26. "Air Canada Responds to Transport Canada's Closure of Canadian Airspace to the Boeing 737 MAX Aircraft". Air Canada (Press release). 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.
  27. "Air Canada Cargo welcomes Boeing 767 freighters, heralding new chapter in storied history of moving goods". Air Canada (Press release). November 2021.
  28. "Air Canada takes delivery of first B767 dedicated freighter". Ch-Aviation. 8 December 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]