แหล่งโบราณคดีโคกพุทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แหล่งโบราณคดีโคกพุทรา เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ในตำบลวัดโบสถ์ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

ประวัติ[แก้]

แหล่งโบราณคดีโคกพุทรา จากหลักฐานที่ขุดพบและชั้นดินทางโบราณคดี สันนิษฐานว่าโคกพุทรามีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์อาจจะอยู่ในช่วงสมัยหินใหม่ ซึ่งใช้เครื่องมือหินขัด และภาชนะดินเผาแบบเนื้อหยาบ และรู้จักจับสัตว์บกและสัตว์น้ำมาเป็นอาหาร อายุประมาณ 2,000- 4,000ปีมาแล้ว หลักฐานที่พบ

  • 1. โครงกระดูกมนุษย์ 3 โครง ฝังนอนหงายเหยียดยาว มีการโรยดินเทศ และมัดมือก่อนฝังศพ
  • 2. ขวานหินขัด 2 ชิ้น
  • 3. หินดุ
  • 4. กระสุนดินเผา
  • 5. เครื่องประดับ มีเปลือกหอยเจาะรูลูกปัดดินเผา
  • 6. เครื่องมือทำด้วยกระดูกตัดฝนปลายจนมีคม
  • 7. เศษภาชนะเนื้อหยาบตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ลายขูดขีด และลายเขียนสีที่คอ
  • 8. เปลือกหอยพบเป็นจำนวนมากถึง 3,194 กิโลกรัม ส่วนใหญ่เป็นหอยตลับ รองลงมาเป็นหอยแครง หอยนางรม
  • 9. กองเถ้าถ่าน
  • 10. กระดูกสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นกระดูกสัตว์ทะเล เช่น ปลา

หมายเหตุ - สำรวจขุดค้น 2524

ที่ตั้ง[แก้]

แหล่งโบราณคดีโคกพุทรา ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอ พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แผนที่ทหาร พิมพ์ครั้งที่1 -RTSD ลำดับชุดL7017 ระวาง 5235 IV รุ้ง 13ฐ 28' 00" เหนือ แวง 101 ฐ 09'00 " ตะวันออก พิกัดกริด 47 PQQ 329925

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]