เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย
และเมืองบริวาร *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
วัดมหาธาตุในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
พิกัด17°01′03.7″N 99°42′13.4″E / 17.017694°N 99.703722°E / 17.017694; 99.703722พิกัดภูมิศาสตร์: 17°01′03.7″N 99°42′13.4″E / 17.017694°N 99.703722°E / 17.017694; 99.703722
ประเทศ ไทย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i), (iii)
อ้างอิง574
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2534 (คณะกรรมการสมัยที่ 15)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร[1] เป็น 1 ใน 3 แหล่งมรดกโลกแห่งแรกของประเทศไทย ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง (ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย) หลังผ่านเกณฑ์ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) โดยเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

อุทยานประวัติศาสตร์ที่ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก[แก้]

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก[แก้]

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชรได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว[2]

โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น 1 ใน 3 แหล่งมรดกโลกแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมกับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. UNESCO World Heritage Centre. Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns - UNESCO World Heritage Centre. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://whc.unesco.org/en/list/574 [ม.ป.ป.].
  2. ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก. กระทรวงวัฒนธรรม. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.22.96/heritage_culture.aspx#Line0 [ม.ป.ป.].

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]