แสงโลก (ดาราศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสงโลกเมื่อมองจากกล้องโทรทรรศน์ ด้านสว่างเกิดจากแสงอาทิตย์โดยตรง แต่ส่วนที่เหลือของดวงจันทร์เกิดจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนมาจากผิวโลก
ภาพร่างแสงโลก โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ในหนังสือ Codex Leicester ระหว่าง ค.ศ. 1506–1510

ปรากฏการณ์แสงโลก[1] (อังกฤษ: earthshine) เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดจากแสงอาทิตย์สะท้อนกับผิวโลกไปยังดวงจันทร์ และสะท้อนกลับมายังผู้สังเกตบนโลกอีกต่อหนึ่ง ทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นแสงจาง ๆ จากด้านกลางคืนของดวงจันทร์[2] ปรากฏการณ์นี้จะสังเกตได้ดีในช่วงวันขึ้น 1–3 ค่ำ หรือ แรม 12–14 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงจันทร์ดับ[3] เมื่อสังเกตจากโลกจะเห็นดวงจันทร์มืดมิด แต่หากสังเกตจากดวงจันทร์ จะเห็นว่าโลกมีแสงสว่าง การเกิดแสงโลกนี้จะทำให้เห็นพื้นผิวดวงจันทร์ได้เกือบทั้งหมด

เลโอนาร์โด ดา วินชีได้อธิบายปรากฏการณ์นี้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 เมื่อเขาเห็นว่าโลกและดวงจันทร์นั้นสะท้อนแสงอาทิตย์ในเวลาเดียวกัน

หากเกิดปรากฏการณ์เดียวกันบนดาวเคราะห์ดวงอื่น จะเรียกว่า "planetshine"

อ้างอิง[แก้]

  1. แสงโลก ปรากฏการณ์ Earth Shine[ลิงก์เสีย]
  2. ปรากฏการณ์ Earth Shine คืออะไร -- วิชาการ.คอม
  3. "ปรากฏการณ์แสงโลก (Earth Shine)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-13. สืบค้นเมื่อ 2015-03-27.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]