แรพโซดีอินบลู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แรพโซดีอินบลู (อังกฤษ: Rhapsody in Blue) เป็นผลงานประพันธ์ของจอร์จ เกิร์ชวินสำหรับบรรเลงเดี่ยวเปียโนร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส เกิร์ชวินแต่งเพลงนี้ในปี ค.ศ. 1924 โดยผสมผสานระหว่างแนวดนตรีคลาสสิกกับเทคนิคการเล่นแบบแจ๊สและแร็กไทม์ เป็นผลงานในแนวทดลองชิ้นแรก ๆ ของเขา ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง สร้างชื่อเสียงให้กับเกิร์ชวินในฐานะนักแต่งเพลง ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นดนตรีที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของความเป็นนิวยอร์ก และเป็นเพลงหนึ่งที่ได้รับความนิยมที่สุดในสหรัฐอเมริกา [1]

ภาพ Nocturne in Black and Gold: The Falling Rocket ของวิสต์เลอร์ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิร์ชวิน

เกิร์ชวินแต่งเพลงนี้โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการนั่งรถไฟสายบอสตัน-นิวยอร์ก โดยใช้จังหวะดนตรีเลียนแบบเสียงรางรถไฟ [2] และจากภาพจิตรกรรมสีน้ำมันชื่อ Nocturne in Black and Gold: The Falling Rocket และ Arrangement in Gray and Black ผลงานของของเจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ [3]

เกิร์ชวินใช้เวลาแต่งเพลงนี้เพียง 5 สัปดาห์ให้กับวงดนตรีของพอล ไวท์แมน เพื่อใช้สำหรับบรรเลงในการแสดงคอนเสิร์ต An Experiment in Modern Music ที่หอประชุม Aeolian ในย่านไทม์สแควร์ [4] ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 คอนเสิร์ตครั้งนี้มีนักแต่งเพลงคนสำคัญหลายคนเข้าร่วมแสดงและชมด้วย เช่น จอห์น ฟิลิป ซูซา, เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ [5] ในการแสดงรอบปฐมทัศน์นี้ จอร์จ เกิร์ชวินเป็นผู้เล่นเปียโนด้วยตัวเอง

ผลงานเพลงนี้ปรากฏในภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์เรื่อง แฟนเทเชีย 2000 [6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schwarz, Frederick D. (1999). Time Machine: 1924 Seventy-five Years Ago: Gershwin’s Rhapsody. American Heritage 50(1), February/March 1999 เก็บถาวร 2006-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved Feb 17 2007.
  2. George Gershwin: He Got Rhythm Ron Cowen, The Washington Post
  3. Schiff, David (1997). Gershwin: Rhapsody in Blue. Cambridge University Press. ISBN 0-521-55077-7. p. 13
  4. Schiff, David (1997). Gershwin: Rhapsody in Blue. Cambridge University Press. ISBN 0-521-55077-7. หน้า 53
  5. Downes, Olin (1924). "A Concert of Jazz". The New York Times. February 13, 1924. p. 16.
  6. Solomon, Charles (1999): Rhapsody in Blue: Fantasia 2000's Jewel in the Crown

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]