คูโบซัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แมงกะพรุนกล่อง)
คูโบซัว
Chironex fleckeri เป็นแมงกะพรุนขนาดใหญ่ที่สุดในชั้นนี้ และมีพิษร้ายแรง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Cnidaria
ไฟลัมย่อย: Medusozoa
ชั้น: Cubozoa
Werner, 1975
อันดับ
ชื่อพ้อง

คูโบซัว (ชั้น: Cubozoa; อังกฤษ: Box jellyfish, Sea wasp) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นหนึ่งของไฟลัมไนดาเรีย มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษเรียกโดยรวมว่า "แมงกะพรุนกล่อง" (Box jellyfish) หรือ "แมงกะพรุนสาหร่าย" หรือ "สาโหร่ง" (Sea wasp)[1] เพราะมีพิษที่ร้ายแรงและมีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์อันเป็นที่มาของชื่อ

คูโบซัว จัดเป็นแมงกะพรุนที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับใหญ่ ๆ โดยดูที่ลักษณะของหนวดที่มีพิษเป็นสำคัญ ได้แก่ พวกที่มีหนวดพิษเส้นเดี่ยวที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม เช่น แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) กับพวกที่มีหนวดเป็นกลุ่มที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม มุมละ 15 เส้น ซึ่งจะเป็นหนวดที่ยาวมาก อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ได้แก่ Chironex fleckeri มีเข็มพิษประมาณ 500,000 เล่มที่หนวดแต่ละเส้น ซึ่งมีพิษร้ายแรงซึมเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกต่อยได้

โดยมากจะพบตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น ออสเตรเลียทางตอนเหนือ, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะฟิลิปปิน, หมู่เกาะฮาวาย ช่วงที่พบได้มากคือ เดือนตุลาคม-เมษายน และหลังช่วงพายุฝนที่จะถูกน้ำทะเลพัดพาเข้ามาจนใกล้ฝั่ง[2]

การจำแนก[แก้]

ในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการจำแนกทางวิทยาศาสตร์ของแมงกะพรุนในชั้นคูโบซัว มีทั้งหมด 36 ชนิด ใน 6 วงศ์ 2 อันดับ[3][4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. สัตว์มีพิษในทะเลไทย:แมงกะพรุน
  2. แมงกะพรุนไฟ - แมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish) พิษร้าย ที่นักดำน้ำควรรู้[ลิงก์เสีย]
  3. Lewis, C. and B. Bentlage (2009). Clarifying the identity of the Japanese Habu-kurage, Chironex yamaguchii, sp nov (Cnidaria: Cubozoa: Chirodropida). Zootaxa 2030: 59–65
  4. Gershwin, L. and M. Gibbons (2009). Carybdea branchi, sp. nov., a new box jellyfish (Cnidaria: Cubozoa) from South Africa. Zootaxa 2088: 41–50
  5. Gershwin, L. (2009). Staurozoa, Cubozoa, Scyphozoa (Cnidaria). In Gordon, D. editor (2009). New Zealand Inventory of Biodiversity. Vol. 1: Kingdom Animalia.