แผ่นดินไหวในลิสบอน ค.ศ. 1755

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในลิสบอน ค.ศ. 1755
แผ่นดินไหวในลิสบอน ค.ศ. 1755ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก
แผ่นดินไหวในลิสบอน ค.ศ. 1755
วันที่ท้องถิ่น1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 (1755-11)
เวลาท้องถิ่น09:40
ขนาด7.7–9.0 Mw (ประมาณ)
ศูนย์กลาง36°N 11°W / 36°N 11°W / 36; -11พิกัดภูมิศาสตร์: 36°N 11°W / 36°N 11°W / 36; -11
ทางตะวันตกเฉียงใต้ทางตะวันตกของแหลมเซนต์วินเซนต์ประมาณ 200 km (120 mi) และทางตะวันตกเฉียงใต้ของลิสบอนประมาณ 290 กิโลเมตร (180 ไมล์)
รอยเลื่อนรอยเลื่อนอะโซร์ส-ยิบรอลตาร์[1]
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้XI (สุดขีด) [2]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 12,000–50,000 คน

แผ่นดินไหวที่ลิสบอน ค.ศ. 1755 หรือ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ลิสบอน (โปรตุเกส: Terramoto de Lisboa) ส่งผลกระทบต่อโปรตุเกส คาบสมุทรไอบีเรีย และแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือในตอนเช้าวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 9:40 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่น[3] หลังจากเกิดแผ่นดินไหว ได้เกิดอัคคีภัยและคลื่นสึนามิตามมา ซึ่งทำลายกรุงลิสบอนและบริเวณใกล้เคียง นักวิทยาแผ่นดินไหวประเมินว่าแผ่นดินไหวลิสบอนคราวนี้มีขนาดประมาณ 7.7[4][5] หรือมากกว่านั้น[6] ตามมาตราขนาดโมเมนต์ โดยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวในมหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจากแหลมเซนต์วินเซนต์ไปทางตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้ราว 200 กิโลเมตร

นี่ถือเป็นเหตุการณ์แผ่นดืนไหวขนาดใหญ่ครั้งที่สามที่ถูกนครนี้ (ก่อนหน้านี้เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1321 และ 1531) ตัวเลขประเมินผู้เสียชีวิตเฉพาะในกรุงลิสบอนอยู่ระหว่าง 12,000[5] ถึง 50,000 คน[6] จึงนับเป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์

แผ่นดินไหวดังกล่าวเน้นความตึงเครียดทางการเมืองในราชอาณาจักรโปรตุเกส และรบกวนความทะเยอทะยานด้านอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของประเทศลงอย่างลึกซึ้ง เหตุการณ์ดังกล่าวถูกอภิปรายและพูดเขียนอธิบายอย่างกว้างขวางโดยนักปรัชญายุโรปยุคเรืองปัญญา และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่พัฒนาการสำคัญในเทวยุติธรรม (theodicy) และในปรัชญาแห่งสุนทรียปรัชญา (sublime) เนื่องจากเป็นแผ่นดินไหวครั้งแรกที่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงผลกระทบต่อพื้นที่อันกว้างใหญ่ จึงได้นำไปสู่การกำเนิดของวิทยาแผ่นดินไหวสมัยใหม่ และวิศวกรรมแผ่นดินไหว

เหตุการณ์[แก้]

แผ่นดินไหวดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 ซึ่งเป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints' Day) วันหยุดของนิกายคาทอลิก รายงานร่วมสมัยระบุว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นนาน 3.5-6 นาที ทำให้เกิดรอยแรกขนาดใหญ่กว้าง 5 เมตรเกิดขึ้น ณ ใจกลางนคร ผู้รอดชีวิตต่างเร่งรุดไปยังพื้นที่เปิดของท่าเรือเพื่อความปลอดภัยและเฝ้ามองขณะที่น้ำลดต่ำลง ประมาณ 40 นาทีหลังเกิดแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิขนาดยักษ์ได้พัดท่วมท่าเรือและเขตเมือง ไปจนถึงแม่น้ำทากัส[7] หลังจากนี้ยังมีคลื่นสึนามิอีกสองคลื่นเกิดขึ้นตามมา ในบางพื้นที่ เพลิงได้โหมลุกอย่างรวดเร็วและลุกไหม้นานถึงห้าวัน

แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวสามารถรู้สึกได้ทั่วทวีปยุโรป[8] ไกลถึงฟินแลนด์และแอฟริกาเหนือ และในบางแหล่งข้อมูล กระทั่งในกรีนแลนด์[9] และแคริบเบียน[10] คลื่นสึนามิสูงถึง 20 เมตรกวาดชายฝั่งแอฟริกาเหนือ และพัดถล่มมาร์ตินีกและบาร์เบโดสทั่วมหาสมุทรแอตแลนติก

ผลกระทบ[แก้]

นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ อัลวาโร เปเรรา ประเมินว่า จากประชากรของลิสบอนที่ประมาณ 200,000 คน มีผู้เสียชีวิตราว 30,000-40,000 คน และอีก 10,000 คนอาจเสียชีวิตในโมร็อกโก อย่างไรก็ดี การศึกษารายงานร่วมสมัยซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ใน ค.ศ. 2009 พบว่าตัวเลขนี้คลุมเครือ และยากที่จะแยกจากรายงานการเกิดแผ่นดินไหวท้องถิ่นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน คือ 18-19 พฤศจิกายน[11] เปเรราประเมินว่ายอดผู้เสียชีวิตทั้งสิ้นในโปรตุเกส สเปนและโมร็อกโกจากแผ่นดินไหว ตลอดจนอัคคีภัยและคลื่นสึนามิที่เกิดตามมาอยู่ที่ 40,000 ถึง 50,000 คน[12]

ความพยายามสร้างนครใหม่[แก้]

พระเจ้าโจเซที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส และเสนาบดี พยายามสร้างนครขึ้นใหม่ วันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1755 ประมาณหนึ่งเดือนให้หลังเหตุแผ่นดินไหว มานูเอล ดา แมร์ (Manuel da Maia) หัวหน้าวิศวกร นำเสนอแผนการของเขาสำหรับการสร้างกรุงลิสบอนขึ้นใหม่ แมร์เสนอห้าทางเลือกตั้งแต่ละทิ้งกรุงลิสบอนไปจนถึงสร้างนครใหม่ขึ้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งพระเจ้าโจเซและเสนาบดีตัดสินใจเลือกการรื้อถอนย่านไบซา (Baixa quarter) และ "สร้างถนนใหม่โดยไม่รีรอ"[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Zitellini N. et al., The tectonic source of the 1755 Lisbon earthquake and tsunami. Anali di Geofisica 1999; 42(1): 49. Online PDF. เก็บถาวร 11 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 27 May 2009.
  2. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972), Significant Earthquake Information (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5TD9V7K
  3. Between History and Periodicity: Printed and Hand-Written News in 18th-Century Portugal
  4. Fonseca, Joao F. B. D. (2020). "A Reassessment of the Magnitude of the 1755 Lisbon Earthquake". Bulletin of the Seismological Society of America. GeoScienceWorld. 110 (1): 1–17. Bibcode:2020BuSSA.110....1F. doi:10.1785/0120190198. S2CID 213399185.
  5. 5.0 5.1 "Magnitude of Great Lisbon Earthquake may have been lower than previous estimates". ScienceDaily (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.
  6. 6.0 6.1 "The Lisbon Earthquake". VolcanoCafe (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-05-06. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
  7. Viana-Baptista MA, Soares PM. Tsunami propagation along Tagus estuary (Lisbon, Portugal) preliminary results. Science of Tsunami Hazards 2006; 24(5):329 Online PDF. Accessed 2009-05-23. 2009-05-27.
  8. Memoirs of Casanova, Book 2, Ch. XXVI; Casanova himself noted feeling the shocks when he was imprisoned in "The Leads" in Venice and specifically states they were the same that destroyed Lisbon
  9. Brockhaus' Konversations-Lexikon. 14th ed., Leipzig, Berlin and Vienna 1894; Vol. 6, p. 248
  10. Lyell, Charles. Principles of Geology. 1830. Vol. 1, chapter 25, p. 439 Online electronic edition. Accessed 2009-05-19. 2009-05-21.
  11. Blanc P.-L. Earthquakes and tsunami in November 1755 in Morocco: a different reading of contemporaneous documentary sources. Nat. Hazards Earth Syst. Sci. 2009; 9: 725–738. Online PDF. Accessed 2009-05-23. 2009-05-27.
  12. Pereira (2006), pages 8–9 and 33-9921.
  13. Shrady, The Last Day pp. 152-155.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Benjamin, Walter. "The Lisbon Earthquake." In Selected Writings vol. 2. Belknap, 1999. ISBN 0-674-94586-7. The often abstruse critic Benjamin gave a series of radio broadcasts for children in the early 1930s; this one, from 1931, discusses the Lisbon earthquake and summarizes some of its impact on European thought.
  • Braun, Theodore E. D., and John B. Radner, eds. The Lisbon Earthquake of 1755: Representations and Reactions (SVEC 2005:02). Oxford: Voltaire Foundation, 2005. ISBN 0-7294-0857-4. Recent scholarly essays on the earthquake and its representations in art, with a focus on Voltaire. (In English and French.)
  • Brooks, Charles B. Disaster at Lisbon: The Great Earthquake of 1755. Long Beach: Shangton Longley Press, 1994. (No apparent ISBN.) A narrative history.
  • Chase, J. "The Great Earthquake at Lisbon (1755)". Colliers Magazine, 1920.
  • Dynes, Russell Rowe. "The dialogue between Voltaire and Rousseau on the Lisbon earthquake: The emergence of a social science view." University of Delaware, Disaster Research Center, 1999.
  • Fonseca, J. D. 1755, O Terramoto de Lisboa, The Lisbon Earthquake. Argumentum, Lisbon, 2004.
  • Gunn, A.M. "Encyclopedia of Disasters". Westport, Connecticut: Greenwood Publishing Group, 2008. ISBN 0-313-34002-1.
  • Hamacher, Werner. "The Quaking of Presentation." In Premises: Essays on Philosophy and Literature from Kant to Celan, pp. 261–293. Stanford University Press, 1999. ISBN 0-8047-3620-0.
  • Kendrick, T.D. The Lisbon Earthquake. Philadelphia and New York: J. B. Lippincott, 1957.
  • Molesky, Mark. This Gulf of Fire: The Destruction of Lisbon, or Apocalypse in the Age of Science and Reason. New York: Knopf, 2015.
  • Neiman, Susan. Evil in Modern Thought: An Alternative History of Modern Philosophy. Princeton University Press, 2002. This book centers on philosophical reaction to the earthquake, arguing that the earthquake was responsible for modern conceptions of evil.
  • Paice, Edward. Wrath of God: The Great Lisbon Earthquake of 1755. London: Quercus, 2008. ISBN 978-1-84724-623-3
  • Pereira, A.S. "The Opportunity of a Disaster: The Economic Impact of the 1755 Lisbon Earthquake". Discussion Paper 06/03, Centre for Historical Economics and Related Research at York, York University, 2006.
  • Quenet, Grégory. Les tremblements de terre en France aux XVIIe et XVIIIe siècles. La naissance d'un risque. Seyssel: Champ Vallon, 2005.
  • Ray, Gene. "Reading the Lisbon Earthquake: Adorno, Lyotard, and the Contemporary Sublime." Yale Journal of Criticism 17.1 (2004): pp. 1–18.
  • Seco e Pinto, P.S. (Editor). Earthquake Geotechnical Engineering: Proceedings of the Second International Conference, Lisbon, Portugal, 21–25 June 1999. ISBN 90-5809-116-3
  • Shrady, Nicholas. The Last Day: Wrath, Ruin & Reason in The Great Lisbon Earthquake of 1755, Penguin, 2008, ISBN 978-0-14-311460-4
  • Weinrich, Harald. "Literaturgeschichte eines Weltereignisses: Das Erdbeben von Lissabon." In Literatur für Leser, pp. 64–76. Stuttgart: Kohlhammer Verlag, 1971. ISBN 3-17-087225-7. In German. Cited by Hamacher as a broad survey of philosophical and literary reactions to the Lisbon earthquake.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]