แผ่นดินไหวในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2555

พิกัด: 44°54′N 11°14′E / 44.9°N 11.24°E / 44.9; 11.24
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2555
แผ่นดินไหวในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2555ตั้งอยู่ในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา
แผ่นดินไหวในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2555
แผ่นดินไหวในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2555ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี
แผ่นดินไหวในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2555
เวลาสากลเชิงพิกัด 
 2012-05-20 02:03:53
 2012-05-29 07:00:03
รหัสเหตุการณ์ ISC 
 601025379
 605482196
USGS-ANSS 
 ComCat
 ComCat
วันที่ท้องถิ่น 
 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
เวลาท้องถิ่น 
 04:03
 09:00
ขนาด6.1 Mw
 5.8 Mw
ความลึก5.6 กิโลเมตร (3.5 ไมล์)
ศูนย์กลาง44°54′N 11°14′E / 44.9°N 11.24°E / 44.9; 11.24
ประเภทรอยเลื่อนย้อน
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ประเทศอิตาลี
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VIII (อย่างรุนแรง)
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 27 คน (7 คนในวันที่ 20 พฤษภาคม และอีก 20 คนในวันที่ 29 พฤษภาคม) บาดเจ็บในช่วงแผ่นดินไหวแรกอย่างน้อย 50 คน และในแผ่นดินไหวครั้งที่สอง 350 คน รวมผู้ไร้ที่อยู่อาศัยสูงถึง 45,000 คน[1][2]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่สองครั้งในอิตาลีตอนเหนือ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 27 คนและความเสียหายเป็นวงกว้าง ในประเทศอิตาลีรู้จักกันในชื่อ แผ่นดินไหวในแคว้นเอมีเลีย ค.ศ. 2012 เนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอยู่ในแคว้นเอมีเลีย

แผนดินไหวครั้งแรกในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญามีขนาด 6.1 เกิดขึ้นทางเหนือของเมืองโบโลญญาประมาณ 36 กิโลเมตร (22 ไมล์) ในวันที่ 20 พฤษภาคม เวลา 04:03 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น (02:03 UTC) โดยจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างฟีนาเลเอมีเลีย, บนเดโน และเซร์มีเด ภายหลังเกิดแผ่นดินไหวตาม 2 ครั้งที่มีขนาด 5.2 ครึ่งที่หนึ่งเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์หลักประมาณหนึ่งชั่วโมง[3] และครั้งที่สองเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์หลักประมาณ 11 ชั่วโมง[4] ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน

9 วันต่อมา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในพื้นที่เดียวกัน ทำใหมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 20 คนและเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอาคารที่ทรุดโทรมลงจากแผ่นดินไหวในวันที่ 20 พฤษภาคม[5] คราวนี้ จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่เมโดลลา โดยเกิดอยู่ในพื้นดินที่ความลึกประมาณ 10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์)[6]

ความเสียหาย[แก้]

บ้านที่พังเสียหายที่Cento

รายงานเบื้องต้นหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในวันที่ 20 พฤษภาคมระบุผู้เสียชีวิต 7 คน ซึ่งรวมแรงงานก่อสร้าง 4 คนในโรงงานที่แฟร์รารา[1] และผู้คนไร้ที่อยู่อาศัยประมาณ 5,000 คน[7] สิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างน้อย 100 แห่งเสียหายหรือพังทลาบ โบสถ์หลายแห่งในเมืองรอบ ๆ จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวได้รับความเสียหาย[7][8] หนึ่งในหอคอยของ Castello Estense เสียหายจากแผ่นดินไหว[9] หอนาฬิกาครึ่งหนึ่งที่สร้างขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่ฟีนาเลเอมีเลียพังทลายลงหลังแผ่นดินไหวแรกและภายหลังแผ่นดินไหวตาม ส่วนที่เหลือจึงพังทลายทั้งหมด นอกจากนี้โรงงานและพื้นที่การเกษตรในแคว้นนี้เกิดความเสียหายมาก[10]

การผลิตชีสแข็ง Grana Padano และปาร์มีจาโนเรจจาโนได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยสูญเสียชีสไปประมาณ 300,000 อัน รวมมูลค่าประมาณ 200 ล้านยูโร[11]

สำนักงานเทศบาลเมืองSant'Agostinoที่พังเสียหาย

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในวันที่ 29 พฤษภาคมทำให้มีผู้เสียชีวิต 18 คน บาดเจ็บมากกว่า 350 คน และไร้ที่อยู่อาศัยมากกว่า 15,000 คน[12] หลังคาอาสนวิหารมิรันโดลาที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 พังเสียหายจากแผ่นดินไหวฝนวันที่ 20 พฤษภาคม พังทลายหลังแผ่นดินไหวในวันที่ 29 พฤษภาคม[13]

รายงานจาก Gaetano Maccaferri รองประธาน Confindustria ประจำแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ความเสียหายจากแผ่นดินไหวในเอมีเลีย "อาจสูงถึง 4 พันล้าน"[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Jewkes, Stephen (20 May 2012). "Strong quake hits North Italy, at least three dead". Reuters. สืบค้นเมื่อ 20 May 2012.
  2. "Un seísmo de 5,9 grados sacude Italia y deja al menos tres muertos". El País. 27 February 2012. สืบค้นเมื่อ 20 May 2012.
  3. "Magnitude 5.2 – NORTHERN ITALY". United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 20 May 2012.
  4. "Magnitude 5.1 – NORTHERN ITALY". United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 20 May 2012.
  5. "New earthquake shakes northern Italy – 'nine dead'". BBC News. 29 May 2012. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  6. "Terremoto : 16 morti, e 350 feriti Monti: «Lo Stato farà tutto il possibile". Corriere della Sera. 24 December 2009. สืบค้นเมื่อ 30 October 2016.
  7. 7.0 7.1 "Terremoto, scossa di magnitudo 5.9 Epicentro a 36 km a nord di Bologna". Corriere della sera. 20 May 2012. สืบค้นเมื่อ 20 May 2012.
  8. "Forte scossa di terremoto a nord di Bologna Paura, gente per strada, almeno una vittima". La Repubblica. 20 May 2012. สืบค้นเมื่อ 20 May 2012.
  9. "Preliminary findings of UNESCO mission sent to assess earthquake damage to sites in northern Italy". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 24 May 2022.
  10. TG5. Canale 5. Mediaset. 22 May 2012. 13.00
  11. Salim, Dizery (21 May 2012). "Italy quake highlights need to educate the public, says expert". United Nations International Strategy for Disaster Reduction. สืบค้นเมื่อ 25 May 2012.
  12. "TGCOM24".
  13. Kington, T. (29 May 2012). "Italy hit by 5.8-magnitude earthquake". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 May 2012.
  14. "Terremoto, l'allarme di Confindustria: danni per oltre quattro miliardi, lo Stato intervenga". สืบค้นเมื่อ 25 August 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]