แผลร้อนใน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผลร้อนใน
(aphthous stomatitis)
ร้อนในบริเวณริมฝีปากล่าง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10K12.0
ICD-9528.2
MedlinePlus000998
eMedicineent/700 derm/486 ped/2672
MeSHD013281

แผลร้อนใน (อังกฤษ: aphthous stomatitis) หรือ แอ็ฟทา (อังกฤษ: Aphthae) คือ แผลเปิดภายในช่องปากเกิดจากการแตกของเยื่อเมือก

อาการ[แก้]

แผลร้อนในจะเกิดเป็นจุดแดงหรือตุ่มและต่อมาจะพัฒนาแยกออกมาเป็นแผลเปิด มีลักษณะเป็นสีขาว รูปวงรี โดยมีขอบเป็นสีแดงนูนออกมา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม. ซึ่งในบางครั้งอาจจะกว้างถึง 1 ซม. จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณแผล

ระยะเวลาของอาการอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 1 ถึง 2 สัปดาห์

สาเหตุ[แก้]

สาเหตุของ "ร้อนใน" การแพทย์แผนปัจจุบันไม่ทราบเป็นที่ชัดเจน แต่ปัจจัยที่มักจะก่อให้เกิด ได้แก่ ความเครียด เหนื่อยล้า การนอนดึก การกัดโดน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การมีประจำเดือน การแพ้อาหาร หรืออาจเกิดจากการขาด วิตามิน B12 ธาตุเหล็ก หรือกรดโฟลิก อาจลดและป้องกันการเกิดแผลร้อนในได้ด้วยการรับประทานน้ำในปริมาณมาก ๆ หลังหรือพร้อมอาหารในทันที ควรรับประทานน้ำมาก ๆ ระหว่างมื้อแทน เพราะช่วยให้กรดในกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น และลดโอกาสที่กรดจะเอ่อล้นขึ้นมาในท่อหลอดอาหาร ซึ่งจะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุหลอดอาหารและช่องปาก จนทำให้เกิดแผลร้อนในได้ง่าย

ชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ[แก้]

แผลร้อนในจะเรียกว่า "mouth ulcer" หรือ "canker sore" และยังคงเรียก "aphthous stomatitis" หรือ "aphthous ulcer"

อ้างอิง[แก้]

  • Chahine L, Sempson N, Wagoner C (1997). "The effect of sodium lauryl sulfate on recurrent aphthous ulcers: a clinical study". Compend Contin Educ Dent 18 (12) : 1238–40. PMID 9656847.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]