แบบจำลองโครงลวด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพไวร์เฟรม ของ ลูกบาศก์ icosahedron และ รูปกึ่งทรงกลม
ภาพตัวอย่าง ไวร์เฟรม สามมิติ ใช้ในการออกแบบอาคาร

ไวร์เฟรม (อังกฤษ: wire-frame) หรือ แบบจำลองโครงลวด (อังกฤษ: wire frame model) เป็นลักษณะการแสดงผลของแบบจำลองสามมิติของวัตถุหรือสิ่งของที่สร้างในคอมพิวเตอร์ โดยการแสดงเส้นตรงหรือเส้นโค้ง ซึ่งเป็นเส้นของขอบของวัตถุที่เกิดจากคำนวณทางคณิตศาสตร์ของพื้นผิวที่ไม่ต่อเนื่องของวัตถุ

การใช้งานแบบจำลองโครงลวด นอกจากช่วยให้มองเห็นสิ่งที่อยู่ภายในวัตถุสามมิติแล้ว การแสดงผลแบบนี้จะแสดงผลได้เร็วกว่าการแสดงผลแบบจำลองสามมิติทั่วไป นิยมใช้ในโครงสร้างวัตถุสามมิติที่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ออกแบบสามารถปรับเปลี่ยน ตรวจสอบและแก้ไขได้ง่ายและสะดวกกว่า โดยเมื่อสร้างและแก้ไขเสร็จแล้ว แบบจำลองสามมิติจะถูกนำไปสร้างเป็นแบบจำลองเสมือนจริงผ่านกระบวนการเร็นเดอร์

รูปแบบจำลองโครงลวดยังคงนิยมใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมให้กับเครื่องจักรประเภทดีเอ็นซี (Direct Numerical Control, DNC)

ดูเพิ่ม[แก้]