แบบจำลองเอกภพสถิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


แนวคิดเกี่ยวกับ เอกภพสถิต หรือ เอกภพของไอน์สไตน์ เป็นหนึ่งในแนวคิดที่สนับสนุนว่า อวกาศไม่มีการขยายตัวหรือหดตัว แต่มีลักษณะที่คงที่อยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยเสนอให้เพิ่มค่าคงที่จักรวาลเข้าไปในสมการในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเพื่อให้ได้แบบจำลองในลักษณะนี้ เป็นการชดเชยกับผลกระทบเชิงพลศาสตร์ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง อันจะทำให้เอกภพของสสารสามารถแตกสลายได้ แนวคิดนี้ถูกล้มล้างไปหลังจากที่ เอ็ดวิน ฮับเบิล ค้นพบว่าเอกภพมิได้มีลักษณะคงที่ แต่กำลังขยายตัว เนื่องจากฮับเบิลได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไปทางแดงกับระยะห่างระหว่างดาว ซึ่งเป็นรากฐานในการพิจารณาการขยายตัวของอวกาศในวิทยาศาสตร์ยุคใหม่