แดวู เลแมนส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แดวู เลแมนส์
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตแดวู
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2529 - 2540 (เกาหลีใต้)
พ.ศ. 2538 – 2560 (รุ่นที่ได้รับลิขสิทธิ์)
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact Car)
รูปแบบตัวถังแฮทช์แบค 3 ประตู
ซีดาน 4 ประตู
แฮทช์แบค 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า สตาร์เล็ท/เทอร์เซล/ยาริส/วีออส
ฮอนด้า แจ๊ซ/ซิตี้
นิสสัน มาร์ช/อัลเมร่า
มิตซูบิชิ โคลท์/มิราจ
มาสด้า 2
ซูซูกิ คัลตัส/สวิฟท์
ไดฮัทสุ ชาเรด
ฮุนได โพนี่/เอ็กเซล/แอคเซนท์
เกีย ไรโอ
เปอโยต์ 208
ซีตรอง C3/DS3
โฟล์กสวาเกน โปโล
โอเปิล คอร์ซา
เชฟโรเลต อาวีโอ
ฟอร์ด เฟสติวา/เฟียสตา
โปรตอน เซฟวี่/ซากา
เฌอรี่ A1
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าแดวู มาเอ็พซี
รุ่นต่อไปแดวู ลาโนส

แดวู เลแมนส์ (อังกฤษ: Daewoo Lemans) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) ผลิตโดย แดวู โดยใช้แพลตฟอร์มของรถร่วมกับ โอเปิล คาเด็ท เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2529 และเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2540 โดยมีแดวู ลาโนสมาทดแทน มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 2 Generation (รุ่น) โดยในแต่ละรุ่นจะมีชื่อหลักๆ ในการทำตลาดในเกาหลีแตกต่างกัน รวมถึงชื่อที่ใช้ในตลาดโลกด้วย เช่น Lemans,Fantasy,Cielo,Nexia,Racer เป็นต้น และในรุ่นแรกได้มีการส่งออกไปในยื่ห้ออื่นๆด้วย เช่น พอนทิแอค,เชฟโรเลต ด้วย

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2529-2537)[แก้]

แดวู เลแมนส์ รุ่นที่ 1

แดวู เลแมนส์ รุ่นที่ 1 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2529 มีชื่อในการทำตลาดในเกาหลีใต้ว่า แดวู เลแมนส์ (อังกฤษ: Daewoo Lemans) ใช้แพลตฟอร์มของรถร่วมกับ โอเปิล คาเด็ท โดยในช่วงแรก มีเฉพาะตัวถังซีดาน 4 ประตูและแฮทช์แบค 3 ประตู แต่ในภายหลัง ได้เพิ่มตัวถังแฮทช์แบค 5 ประตู โดยเพิ่มชื่อ Penta5 ตามหลังคำว่า Lemans ด้วย และรุ่นแฮทช์แบค 3 ประตูถูกเรียกว่า Racer มีเครื่องยนต์ให้เลือก 3 ขนาดคือ 1.5 ,1.6 และ 2.0 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 4 และ 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด ทำตลาดมาเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ. 2537

ในประเทศไทย แดวู เลแมนส์ ถูกนำเข้ามาขายโดย บริษัท มอเตอร์แอนด์ลีเซ้ง (ประเทศไทย) จำกัด มีชื่อในการทำตลาดว่า แดวู เรเซอร์ และ บริษัท ไทยแดวูมอเตอร์เซลส์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2537 มีชื่อในการทำตลาดว่า แดวู แฟนตาซี ขายในระยะสั้นๆ ก่อนจะนำ แดวู เซียโล ซึ่งก็คือรุ่นต่อไปเข้ามาขายนั่นเอง

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2537-2540)[แก้]

แดวู เลแมนส์ รุ่นที่ 2

แดวู เลแมนส์ รุ่นที่ 2 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2537 ใช้แพลตฟอร์มของรถร่วมกับ โอเปิล คาเด็ท มีชื่อในการทำตลาดว่า แดวู เซียโล มีฐานการประกอบที่ประเทศเกาหลีใต้ ,อียิปต์ ,อุซเบกิสถาน ,โรมาเนีย ,โปแลนด์ ,เวียดนามและอิหร่าน ซึ่งรุ่นนี้ มีเครื่องยนต์แบบเดียวคือ 1.5 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 3 และ 4 สปีด ทำตลาดมาเรื่อยๆ ก่อนยุติการผลิตในปี พ.ศ. 2540

ในประเทศไทย แดวู เซียโล ถูกนำเข้ามาขายโดยบริษัท ไทยแดวูมอเตอร์เซลส์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2537 ทั้งตัวถังซีดานและแฮทช์แบค มี 2 ชื่อในการทำตลาด คือ แดวู เซียโล (อังกฤษ: Daewoo Cielo) และ แดวู เน็กเซีย (อังกฤษ: Daewoo Nexia) และทำยอดขายได้เรื่อยๆ แต่ไม่หวือหวานัก เนื่องจากในสมัยนั้น รถเกาหลีใต้ที่เข้ามาขายในไทย ถึงแม้บางรุ่นจะขายดี แต่ในสมัยนั้น คนไทยยังมองรถเกาหลีเมื่อ 20 ปีก่อน แบบเดียวกับที่มองรถมาเลเซียและจีนในปัจจุบันนั่นเอง ปัจจุบัน เซียโลยังสามารถพบเห็นได้เรื่อยๆ แม้ไม่มากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับหายากนัก