แจ็กเดอะริปเปอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แจ็กเดอะริปเพอร์)
แจ็กเดอะริปเปอร์
Drawing of a man with a pulled-up collar and pulled-down hat walking alone on a street watched by a group of well-dressed men behind him
"กับคณะกรรมการเฝ้าระวังในฝั่งตะวันออก: ตัวละครที่น่าสงสัย" จาก ดิ อิลลัสสเตรท ลอนดอน นิวส์, 13 ตุลาคม 1888
เกิดไม่ทราบ
ชื่ออื่น"นักฆ่าแห่งไวต์ชาเปล"
"Leather Apron"
รายละเอียด
ผู้เสียหายไม่ทราบ (5 ตามบัญญัติ)
วันที่ค.ศ.1888–1891(?)
(ค.ศ.1888: 5 ตามบัญญัติ)
ตำแหน่งไวต์ชาเปล, ลอนดอน, อังกฤษ (5 ตามบัญญัติ)
ปกวารสารพุกฉบับวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1889 แสดงการ์ตูนเป็นภาพของแจ็กเดอะริปเปอร์ ที่ไม่ทราบว่าเป็นใครยืนดูประกาศจับ

แจ็กเดอะริปเปอร์ (อังกฤษ: Jack the Ripper) เป็นสมญาของฆาตกรต่อเนื่องที่ฆ่าคนในย่าน "ไวต์ชาเปล" ถิ่นยากจนในย่านอีสต์เอนด์ ของกรุงลอนดอน ในช่วงครึ่งปีหลังของ ค.ศ. 1888 ชื่อสมญาได้มาจากข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ที่ลงข่าวจดหมายลึกลับที่เขียนถึงสำนักเป็นฆาตกร ถึงแม้จะมีการสืบสวนและมีทฤษฎีที่น่าเชื่อถือมากมาย แต่ก็ไม่สามารถบ่งบอกโฉมหน้าที่แท้จริงของฆาตกรได้เลย

ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับฆาตกรแจ็กเดอะริปเปอร์ได้กลายเป็นขนมผสมน้ำยา ระหว่างการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจังทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดและนิทานพื้นบ้าน การขาดหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดทำให้เกิดมีคำว่า "นักริปเปอร์วิทยา" มาใช้เรียกนักประวัติศาสตร์และนักสืบสมัครเล่นที่ศึกษาคดีอันโด่งดังนี้เพื่อกล่าวหาหรือพาดพิงถึงบุคคลต่าง ๆ ว่าคือตัวริปเปอร์ หนังสือพิมพ์ซึ่งมียอดขายเพิ่มสูงมากในช่วงนี้โทษว่าเป็นเพราะความล้มเหลวของตำรวจสกอตแลนด์ยาร์ดที่ไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ ทำให้ฆาตกรได้ใจและท้าทาย เหตุการณ์จึงเกิดต่อเนื่องเรื่อยมา บางครั้งตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุหลังเกิดการฆ่าเพียง 2-3 นาที แต่กลับไม่ได้ตัวคนร้าย

เหยื่อเกือบทั้งหมดเป็นโสเภณี ฆาตกรรมส่วนใหญ่เกิดในที่สาธารณะหรือกึ่งสาธารณะ เหยื่อทุกรายถูกเชือดคอ หลังจากนั้นซากศพจะถูกหั่นตรงช่วงท้องและบางครั้งที่อวัยวะเพศ คาดกันว่าเหยื่อจะถูกรัดคอให้เงียบเสียก่อนลงมือฆ่า มีหลายกรณีที่มีการตัดอวัยวะภายในออก จึงมีผู้อนุมานว่าฆาตกรอาจเป็นศัลยแพทย์หรือไม่ก็คนขายเนื้อ ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้

การสืบสวน[แก้]

กรณีแจ็กเดอะริปเปอร์ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในเทคนิคการสอบสวนและนิติเวชศาสตร์มากที่สุดหลังเหตุการณ์

วิธีการด้านนิติเวชสมัยใหม่ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่รู้จักของตำรวจนครบาลในสมัยวิกตอเรีย แนวคิดเกี่ยวกับแรงกระตุ้นหรือแรงดลใจให้ลงมือกระทำการฆ่าของฆาตกรต่อเนื่องยังไม่เป็นที่เข้าใจกันแต่อย่างใด ตำรวจในสมัยนั้นเข้าใจเพียงแรงจูงใจอาชญากรรมที่มีต้นจากความต้องการทางเพศเท่านั้น

ลำดับเหตุการณ์[แก้]

  • 31 สิงหาคม ค.ศ. 1888 ฆาตกรรมเหยื่อรายแรก เป็นโสเภณี
  • 8 กันยายน ค.ศ. 1888 ฆาตกรรมเหยื่อรายที่สอง เป็นโสเภณีเช่นกัน
  • 25 กันยายน ค.ศ. 1888 จดหมายส่งถึงสำนักงานเซ็นทรัล ลงนาม “แจ๊กเดอะริปเปอร์”
  • 30 กันยายน ค.ศ. 1888 ฆาตกรรมเหยื่อรายที่สามกับสี่ในเวลาไล่เลี่ยกัน
  • 1 ตุลาคม ค.ศ. 1888 ไปรษณีย์บัตร “แจ็ค เดอะ ริพเปอร์” ถึงสำนักข่าวเดิม
  • 16 ตุลาคม ค.ศ. 1888 พัสดุลงชื่อ “จากนรก” ส่งไตครึ่งซีกไปให้จอร์ช ประธานคณะกรรมการป้องกันภัยไวต์ชาเปล
  • 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1888 เหยื่อรายที่ห้าคาดว่าเป็นรายสุดท้าย
  • 31 ธันวาคม ค.ศ. 1888 พบศพมองตาดู จอห์น ดรูอิทท์ หนึ่งในผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแจ๊กเดอะริปเปอร์ จมน้ำตาย สันนิษฐานว่าเป็นการฆ่าตัวตาย
  • ค.ศ. 1890 อารอน โคสมินสกี้ ผู้ส่งเข้าโรงพยาบาลโรคจิตและเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1919
  • ค.ศ. 1892 ปิดคดีแจ็กเดอะริปเปอร์ โดยหาผู้กระทำความผิดไม่เจอ

มรดก[แก้]

มีการนำกรณีหรือชื่อของ "แจ็กเดอะริปเปอร์" มาสร้างเป็นนวนิยายหลายเรื่อง ตั้งเป็นชื่อวงดนตรีบ้าง ชื่อเพลงบ้างทั้งโดยตรงและใช้ชื่อสถานที่ที่มีการอ้างอิงแพร่หลายในข่าวที่เป็นที่รู้จักบ้าง เช่น พิงค์ดอท บอบ ไดลาน จูดาส พรีสท์และสกรีมมิง ลอร์ด ซัทช์ ต่างร้องและอัดเพลงจำหน่ายในชื่อ แจ็กเดอะริปเปอร์

มีหลายบริษัทที่เอาแจ็กเดอะริปเปอรมาทำตุ๊กตาและของเล่นขาย จนบางครั้งได้รับการประท้วงจากสังคม ในปี ค.ศ. 2006 วารสารประวัติศาสตร์ บีบีซี. ลงคะแนนเสียงโดยผู้อ่านให้กรณี "แจ็กเดอะริปเปอร์" เป็นประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายที่สุดของอังกฤษ

ถึงปัจจุบันมีหนังสือที่ไม่ใช่นวนิยายเกี่ยวกับแจ็กเดอะริปเปอร์มากถึง 150 เล่มทำให้แจ็กเดอะริปเปอร์เป็นคดีฆาตกรรมจริงที่มีผู้นำไปเขียนมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่แล้ว แม้ขณะนี้ก็ยังมีวารสารเกี่ยวกับแจ็กเดอะริปเปอร์ตีพิมพ์จำหน่ายพร้อมกัน 6 ฉบับในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงมีการสร้างและอ้างอิงถึงในภาพยนตร์รวมถึงซีรีส์ต่าง ๆ มากมาย เช่น From Hell ในปี ค.ศ. 2001 ที่นำแสดงโดย จอห์นนี เดปป์ และเฮเทอร์ แกรห์ม เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  • The Complete History of Jack the Ripper by Philip Sugden, ISBN 0-7867-0276-1
  • The Ultimate Jack the Ripper Sourcebook by Stewart P. Evans and Keith Skinner, ISBN 0-7867-0768-2
  • Jack the Ripper: The Facts by Paul Begg, ISBN 1-86105-687-7
  • The Complete Jack the Ripper by Donald Rumbelow, ISBN 0-425-11869-X
  • Ripperology by Robin Odell, ISBN 0-87338-861-5
  • The Jack the Ripper A-Z by Paul Begg, Martin Fido and Keith Skinner, ISBN 0-7472-5522-9
  • The Mammoth Book of Jack the Ripper by Maxim Jakubowski and Nathan Braund (editors) , ISBN 0-7867-0626-0
  • Casebook: Jack the Ripper by Stephen P. Ryder (editor)
  • Vanderlinden, Wolf (April 2005). "'Considerable Doubt' and the Death of Annie Chapman". Ripper Notes.
  • DiGrazia, Christopher-Michael (March 2000). "Another Look at the Lusk Kidney". Ripper Notes.