แคสเซิลบราโว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคสเซิลบราโว
เมฆรูปเห็ดจากการระเบิดของแคสเซิลบราโว
ข้อมูลการทดลอง
ประเทศสหรัฐอเมริกา
โครงการปฏิบัติการแคสเซิล
บริเวณทดสอบบิกีนีอะทอลล์, หมู่เกาะมาร์แชลล์
วันที่ทดสอบ1 มีนาคม 1954
รูปแบบระเบิดเหนือพื้นดิน
แรงระเบิด15 เมกะตันทีเอ็นที
ชนิดระเบิดระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์

แคสเซิลบราโว (อังกฤษ: Castle Bravo) เป็นสมญานามของระเบิดอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์หรือระเบิดไฮโดรเจนแบบเชื้อเพลิงแห้งลูกแรกของสหรัฐอเมริกา ระเบิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1954 ณ บิกีนีอะทอลล์, หมู่เกาะมาร์แชลล์ เป็นการทดลองการระเบิดครั้งแรกในปฏิบัติการแคสเซิล แคสเซิลบราโว ยังเป็นระเบิดนิวเคลียร์ที่ทรงอานุภาพที่สุดเท่าที่สหรัฐอเมริกาเคยใช้งาน[1] โดยมีแรงระเบิดเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 15 เมกะตัน[2] (มีขนาดเพียงหนึ่งในสามของระเบิดนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการระเบิดมา) เกินจากที่คาดไว้ที่ 4 ถึง 6 เมกะตันอย่างมาก ทำให้เกิดการปนเปื้อนจากกัมมันตภาพตรังสีรุนแรงที่สุดเท่าที่สหรัฐอเมริกาเคยก่อ

แคสเซิลบราโว (Castle Bravo) เป็นชื่อรหัสที่กำหนดให้สำหรับการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนเทอร์โมนิวเคลียร์นิวเคลียร์ ที่ใช้เชื้อเพลิงแห้งเป็นครั้งแรก การทดสอบได้ดำเนินการในวันที่ 1 มีนาคม 1954 ที่เกาะปะการังบิกินี หมู่เกาะมาร์แชลล์ เมื่ออาวุธถูกจุดระเบิดและการระเบิดเกิดขึ้น ทำให้เกิดเป็นปากปล่องภูเขาไฟ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) ลึก 250 ฟุต (75 เมตร) แคสเซิลบราโวเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด กว่าที่เคยถูกจุดระเบิดมาโดยสหรัฐอเมริกา โดยมีพลังงานได้ออกมาถึง 15 เมกะตัน ซึ่งมากเกินกว่าระดับพลังงานที่คาดหวังไว้คือ 4-6 เมกะตัน ในส่วนนี้เป็นผลมาจากการคำนวณที่ผิดพลาด อันนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุอันรุนแรงทางด้านการปนเปื้อนทางรังสี ยิ่งกว่าครั้งใดที่สหรัฐอเมริกาเคยทำให้เกิดขึ้น โดยถ้าคิดในแง่ของความเทียบเท่ากับลูกระเบิดทีเอ็นทีเป็นตันแล้ว แคสเซิลบราโวมีพลังงานที่มากกว่าประมาณ 1,200 เท่าของลูกระเบิดอะตอมที่ทิ้งในฮิโรชิมาและนางาซากิ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิ่งไปกว่านั้น เมฆของรังสีทำให้เกิดการปนเปื้อนปกคลุมพื้นที่มากกว่า 7 พันตารางไมล์รอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งหมู่เกาะเล็ก ๆ เช่น Rongerik และ Rongelap และ Utirik ผู้คนบนเกาะต้องถูกอพยพออก แต่ในลูกหลานในรุ่นต่อมาได้รับผลกระทบ ชาวบ้านท้องถิ่นได้รับความทรมานจากความไม่สมบูรณ์ทางร่างกายตั้งแต่เกิด เรือประมงของญี่ปุ่นชื่อ Daigo Fukuryu Maru ได้รับการสัมผัสปนเปื้อนฝุ่นกัมมันตรังสี เป็นสาเหตุให้ลูกเรือทั้งหมดเกิดการเจ็บป่วยมีผู้เสียชีวิตไปหนึ่งราย ปลา น้ำ พื้นดิน เกิดการปนเปื้อนทางกัมมันตรังสีอย่างรุนแรง ทำให้แคสเซิลบราโวเป็นหนึ่งในอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุด

บริเวณทดสอบ[แก้]

การออกแบบ[แก้]

การระเบิด[แก้]

เมฆรูปเห็ดของแคสเซิลบราโว

แคสเซิลบราโว ถูกจุดระเบิดเกิดขึ้นเมื่อเวลา 6:45 ของวันที่ 1 มีนาคม 1954 ตามเวลาท้องถิ่น (18:45 ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ GMT)[2]

เมื่อเกิดระเบิด แคสเซิลบราโว ได้ก่อให้เกิดลูกไฟขนาดใหญ่เกือบ 7 กิโลเมตร ซึ่งสามารถมองเห็นได้จาก ควาจาเลียนอะทอลล์ (Kwajalein Atoll) ซึ่งอยู่ห่างออกไปไกลถึง 400 กิโลเมตร และเมื่อผ่านไปเพียงหนึ่งนาทีเมฆรูปเห็ดก็มีความสูงถึง 14 กิโลเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 11 กิโลเมตร และในสิบนาทีหลังจากการระเบิดเมฆรูปเห็นก็ขยายตัวไปสูงถึง 40 กิโลเมตร และกว้างถึง 100 กิโลเมตร นั่นคือขยายตัวในอัตรา 100 เมตรต่อวินาที (360 กิโลเมตร/ชั่วโมง) หลังการระเบิดได้ทิ้งร่องรอยคล้ายปล่องภูเขาไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 กิโลเมตร และลึก 76 เมตร เมฆเจือปนกัมมันตภาพรังสีได้กระจายเป็นวงกว้างกว่า 11,000 ตารางกิโลเมตร[1] เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งรวมทั้งเกาะเล็ก ๆ ในบริเวณใกล้เคียงเช่น รอนเกริคอะทอลล์ (Rongerik Atoll), รอนเกแลปอะทอลล์ (Rongelap Atoll) และ อูทิริคอะทอลล์ (Utirik Atoll)[3]

นอกจากนี้ หากวัดในเชิงของแรงระเบิดเปรียบเทียบกับระเบิดเทียบกับทีเอ็นที ด้วยขนาด 15 เมกะตันของ แคสเซิลบราโว จะทรงอานุภาพกว่าระเบิดที่ทิ้งที่เมืองฮิโระชิมะระหว่างช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่สองกว่าพันเท่า[1] แต่ระเบิดที่ทรงอานุภาพที่สุดเท่าที่ได้เกิดระเบิดขึ้นบนโลกนั้นระเบิดหลังจากแคสเซิลบราโวไปเจ็ดปีครึ่ง นั่นคือระเบิดซาร์บอมบาของสหภาพโซเวียตด้วยแรงระเบิดถึง 50 เมกะตัน การระเบิดของแคสเซิลบราโว จึงเป็นการระเบิดรุนแรงที่สุดลำดับที่ 5 จากการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดในประวัติศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "CTBTO - 1 MARCH 1954 - CASTLE BRAVO". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-22. สืบค้นเมื่อ 2013-07-27.
  2. 2.0 2.1 "Nuclear Weapon Archive". สืบค้นเมื่อ 2008-03-01.
  3. Titus, A. Costandina. Bombs in the backyard atomic testing and American politics. Reno: University of Nevada P, 2001. Google Books. [1][ลิงก์เสีย].