แคนเซอร์ เดธมาสค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคนเซอร์ เดธมาสค์
ชื่อ
ชื่อไทย แคนเซอร์ เดธมาสค์
ชื่ออักษรละติน Cancer Deathmask
ชื่อญี่ปุ่น 蟹座のデスマスク
นักพากย์ เรียวอิจิ ทานากะ
ข้อมูลเฉพาะ
ระดับ โกลด์เซนต์
เกิด 24 มิถุนายน
ราศี กรกฎ
กลุ่มดาวประจำตัว กลุ่มดาวปู
อายุ 23 ปี
ความสูง 184 เซนติเมตร
น้ำหนัก 82 กิโลกรัม
กรุ๊ปเลือด A
สถานที่เกิด ประเทศอิตาลี
สถานที่ฝึกวิชา ซิชิลี
ท่าไม้ตาย พลังสู่ยมโลกเซกิชิกิ
ชุดเกราะ
ประเภทชุดเกราะ โกลด์คล็อธ
ชื่อชุดเกราะ แคนเซอร์คล็อธ
ภาพคล็อธ

แคนเซอร์ เดธมาสค์ (ญี่ปุ่น: 蟹座(キャンサー)のデスマスクโรมาจิKyansā no Desumasuku) ตัวละครจากการ์ตูนเรื่องเซนต์เซย่า เป็นโกลด์เซนต์ประจำราศีกรกฎ ผู้ดูแลปราสาทปูยักษ์ 1 ใน 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่

บทบาท[แก้]

ปรากฏตัวครั้งแรก[แก้]

เดธมาสค์ปรากฏตัวครั้งแรก ณ เทือกเขาโกโรโฮ ประเทศจีน โดยได้รับคำสั่งจากเคียวโกเพื่อไปสังหารท่านผู้เฒ่าในข้อหาทรยศต่อแซงค์ทัวรี่ แต่ในขณะที่เดธมาสค์กำลังจะลงมือนั้น ดราก้อน ชิริว ได้เข้ามาขัดขวางเสียก่อน ชิริวโจมตีเดธมาสค์ด้วยหมัดมังกรผงาดโรซันซึ่งสามารถทำให้เดธมาสค์ถึงกับกระเด็นเลยทีเดียว เดธมาสค์จึงตัดสินใจใช้พลังสู่ยมโลกเซกิชิกิ ในขณะนั้นเอง แอเรียส มู ก็ปรากฏตัวขึ้นเพื่อมาแจ้งข่าวกับท่านผู้เฒ่า ดังนั้น เดธมาสค์จึงตัดสินใจถอยกลับไปยังแซงค์ทัวรี่ เนื่องจากไม่ต้องการต่อสู้กับโกลด์เซนต์พร้อมกันทีเดียวถึง 2 คน[1]

ผู้ดูแลปราสาทปูยักษ์[แก้]

เดธมาสค์ได้ขังวิญญาณผู้ที่เขาเคยฆ่าไว้ที่ปราสาท ทำให้ดูชั่วร้ายมาก รวมทั้งยังเป็นหนึ่งในเซนต์ผู้รู้ความลับของเคียวโก แต่ยังรับใช้เค้าอยู่ โดยเดธมาสค์ได้ใช้ เซกิชิกิ ใส่ชิริว จนวิญญาณมุ่งไปสู่ยมโลก แต่ปรากฏว่า ชิริวกลับมาได้ จึงใช้พลังอีกครั้ง แต่คราวนี้เขาได้ตามไปเพื่อโยนชิริวลงบ่อนรกเองเลย แต่ด้วยความชั่วของเขาๆ โกลต์ คล็อธ จึงไม่ยอมรับเขาแล้วหลุดออกจากร่าง ซึ่งเป็นเหตุให้พ่ายต่อชิริวนั่นเอง

สงครามสุริยะเทพอาเบล[แก้]

ในภาคสงครามสุริยะเทพอาเบล เดธมาสค์ได้ฟื้นคืนชีพโดยอาศัยพลังของเทพอาเบล เนื่องจากเดธมาสค์มีความเชื่อว่าความแข็งแกร่ง คือ ความถูกต้อง ดังนั้น จึงได้สวามิภักดิ์ต่ออาเบลหลังจากที่อาเทน่าตายลง เดธมาสค์ได้ต่อสู้กับดราก้อน ชิริวซึ่งเดินทางมาช่วยเหลืออาเทน่า โดยได้ใช้พลังสู่ยมโลกเซกิชิก เมื่อมาถึงนรกเดธมาสค์ได้บอกให้ชิริวรู้เรื่องการเดินทางไปสู่ความตายของอาเทน่าก่อนที่จะสังหารชิริว อย่างไรก็ตาม ชิริวได้ใช้หมัดมังกรผงาดโรซันสังหารเดธมาสค์ลงได้อีกครั้งหนึ่ง

สงครามศักดิ์สิทธิ์-เทพเจ้าฮาเดส[แก้]

เดสมาสค์และอโฟรดิตี้ ขณะสวมใส่ชุดเซอร์พรีสเครื่องหมายแห่งสเป็คเตอร์

เดธมาสค์ ปรากฏตัวอีกครั้งในฐานะสเป็คเตอร์ของฮาเดส โดยได้รับคำสั่งจากฮาเดสเพื่อมาเด็ดศีรษะของอาเทน่า ซึ่งภายหลังแอเรียส ชิออน ได้บอกความจริงว่า การที่พวกโกลด์เซนต์ที่ตายไปยอมเป็นลูกน้องของฮาเดสนั้น เนื่องจากต้องการปลุกอาเทน่าคล็อธขึ้นมา

ภาคฮาเดสนั้น เดธมาสค์จะปรากฏตัวคู่กับพิสซิส อโฟรดิเทเสมอ โดยในระหว่างการต่อสู้กับ แอเรียส มู ที่ปราสาทแกะขาวนั้น เดธมาสค์โจมตีมูด้วยพลังสู่ยมโลกเซกิชิกิ แต่ไม่สามารถทำอะไรมูได้ ในระหว่างนั้นเอง เซย่าได้เดินทางมาถึงปราสาทแกะขาวและได้เป็นคู่ต่อสูของเดธมาสค์อีกคน ในที่สุด เดธมาสค์ก็จบชีวิตลงอีกครั้งด้วยท่าสตาร์ไลท์เอ็กซ์ทิงชั่นของมู

หลังจากนั้น เดสมาสค์และอโฟรดิเท ปรากฏตัวอีดครั้ง ณ ปราสาทฮาเดส เพื่อต้องการขอพบฮาเดส อย่างไรก็ตาม ไวเวิร์น ราดาแมนทีส ได้ปฏิเสธที่จะให้ทั้ง 2 เข้าพบฮาเดสและได้ลงโทษทั้ง 2 คนที่ไม่สามารถเด็ดศีรษะของอาเทน่าได้ โดยการส่งอโฟรดิเทและเดสมาสค์กลับไปยังขุมนรกอีกครั้ง[2]

หลังจากนั้น เดธมาสค์ปรากฏตัวอีกครั้ง ณ ยมโลก โดยได้ร่วมมือกับโกลด์เซนต์ทั้ง 11 คน ในการทำลายกำแพงวิปโยคเพื่อเปิดทางให้พวกเซย่า เดินทางไปยังเอลิเชี่ยนเพื่อช่วยเหลืออาเทน่า[3]

บทบาทในภาค Soul Of Gold[แก้]

ท่าไม้ตาย[แก้]

ท่าไม้ตายของเดธมาสค์ ได้แก่ พลังสู่ยมโลกเซกิชิกิ (Seki Shiki Mei Kai Ha) ซึ่งเป็นท่าที่สามารถส่งคนที่ยังมีชีวิตไปสู่ยมโลกได้ ซึ่งเป็นท่าที่มาจากบริเวณกระจุกดาวเปรเซเป้ (กระจุกดาวรวงผึ้ง) แห่งกลุ่มดาวปู (ในภาษาจีน เรียกกระจุกดาวนี้ว่า "จิชิกิ" และในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า "เซกิชิกิ"; 積屍氣) ที่เป็นจุดที่วิญญาณบนโลกวนเวียนอยู่[1]

หมายเหตุ[แก้]

  • ชื่อ เดธมาสค์ (Deathmask) นั้น หมายถึง หน้ากากแห่งความตาย โดยเป็นสัญลักษณ์ความโหดร้ายของเดธมาสค์ที่เข่นฆ่าผู้คนที่บริสุทธิ์มากมายเพื่อลอกหน้ามาประดับไว้ทั่วปราสาทของตนเอง
  • คำว่า แคนเซอร์ (Cancer) ที่หมายถึง "ปู" ในภาษาลาติน เป็นคำเดียวกับคำว่า Cancer ที่แปลว่า "มะเร็ง" ในภาษาอังกฤษ โดยผู้ที่เป็นมะเร็งนั้น เซลล์มะเร็งจะขยายลามไปตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ ซึ่งเปรียบเสมือนขาปู

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 8, สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2545
  2. มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์เซย่า เล่มที่ 19, สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2548
  3. มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์เซย่า เล่มที่ 26, สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2549

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]