เฮสเตีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เฮสเทีย)
เฮสเตีย
เทพเจ้าแห่งเตาอิฐหรือบริเวณข้างกองไฟ
ประติมากรรมหินอ่อน "จุสตินิอานิเฮสเตีย" ภาพจาก O. Seyffert, Dictionary of Classical Antiquities, 1894
ที่ประทับเดลฟีหรือยอดเขาโอลิมปัส
สัญลักษณ์เตาอิฐและไฟของเตาอิฐ
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองไม่มี
บุตร - ธิดาไม่มี
บิดา-มารดาโครนัสและเรีย
พี่น้องเฮดีส ดีมิเทอร์ โพไซดอน ฮีราและซูส
เทียบเท่าในโรมันเวสตา

ในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (อังกฤษ: Hestia; กรีกโบราณ: Ἑστία, "เตาอิฐ" หรือ "บริเวณข้างเตาไฟ") ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย[1]

เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ เพลิงจากเตาอิฐสาธารณะของเฮสเตียในนครแม่จะถูกนำไปยังนิคมใหม่ด้วย พระนางประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้เรียบ ๆ โดยมีเบาะขนแกะสีขาว และไม่ทรงเลือกสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ภาคโรมันของพระนาง คือ เวสตา[2]

เฮสเตียทรงเป็นเทพเจ้าโอลิมปัสรุ่นแรก ร่วมกับดีมิเทอร์และฮีรา พระนางเป็นธิดาแห่งไททันโครนัสและเรีย พระเชษฐภคินีแห่งเฮดีส ดีมิเทอร์ โพไซดอน ฮีราและซูส โครนัสกลืนบุตรธิดาของตนทั้งหมดทันทีหลังคลอด ยกเว้นซูสบุตรคนสุดท้อง ต่อมาซูสบังคับให้โครนัสคายพี่น้องของพระองค์และทรงนำในสงครามกับบิดาและไททันอื่น[3] เฮสเตียทรงเป็น "พระองค์แรกที่ถูกกลืนกิน... และพระองค์สุดท้ายที่ถูกขับออกอีกครั้ง" พระองค์จึงเป็นทั้งธิดาพระองค์แรกและพระองค์สุดท้าย การผกผันตำนานนี้พบในเพลงสวดสรรเสริญแอโฟรไดทีของกวีโฮเมอร์ (700 ปีก่อน ค.ศ.)[4] เฮสเตียทรงปฏิเสธการเกี้ยวพาราสีของโพไซดอนและอพอลโล และทรงสาบานพระองค์เป็นพรหมจรรย์ตลอดกาล ซูสทรงบัญชาให้เฮสเตียทำหน้าที่เลี้ยงและรักษาไฟในเตาไฟโอลิมปัสด้วยส่วนที่ติดมันและติดไฟได้ของสัตว์ที่บูชาแด่พระเจ้า[5]

สถานภาพเทพเจ้าโอลิมปัสของเฮสเตียนั้นกำกวม Kenneth Dorter บันทึกว่า ในเอเธนส์ ใน "ชีวิตของเพลโต" "มีข้อแตกต่างกันในรายพระนามพระเจ้าหลักสิบสองพระองค์ว่าจะรวมเฮสเตียหรือไดอะไนซัสเข้ากับอีกสิบเอ็ดพระองค์ที่เหลือ ตัวอย่างเช่น แท่นบูชาพระเจ้าที่อโกรา มีแท่นบูชาของเฮสเตีย แต่ที่แถบลายตกแต่งตะวันออกของวิหารพาร์เธนอนกลับมีแท่นบูชาของไดอะไนซัส"[6] บางครั้งถือกันว่าการละเว้นเฮสเตียออกจากรายพระนามเทวสภาโอลิมปัสเป็นนิทัศน์ของธรรมชาติไม่โต้ตอบและไม่เผชิญหน้าของพระนาง โดยทรงยกบัลลังก์โอลิมปัสให้แก่ไดอะไนซัสเพื่อป้องกันความขัดแย้งบนสวรรค์ เฮสเตียเป็นที่รู้จักกันในความเมตตา แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลหรือตำนานโบราณอธิบายการยอมจำนนหรือการถอนพระองค์นี้[7] Burkert ให้ข้อคิดเห็นว่า "เนื่องจากเตาอิฐไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เฮสเตียจึงไม่อาจมีส่วนแม้ในกระบวนการแห่งพระเจ้า โดยทรงปล่อยการเล่นตลกอื่นของเทพเจ้าโอลิมปัสไว้"[8] สถานภาพทางเทพปกรณัมของพระองค์ที่เป็นธิดาหัวปีของเรียและโครนัสเหมือนจะอธิบายประเพณีที่ว่าของบูชาเล็กน้อยส่วนหนึ่งถวายแด่เฮสเตียก่อนการบูชาอื่นทั้งหมด ("เฮสเตียทรงมาก่อน")[9]

ความกำกวมในเทพปกรณัมของเฮสเตียตรงกับลักษณะประจำ บุคลิกและการบรรยายที่คลุมเครือของพระองค์ พระนางทรงถูกระบุด้วยเตาอิฐซึ่งเป็นวัตถุรูปธรรม และภาวะนามธรรมของชุมชนและกิจกรรมในบ้าน แต่ภาพของพระนางนั้นหายากและไม่ค่อยปลอดภัย[10] ในศิลปะกรีกคลาสสิก บางครั้งมีผู้วาดพระนางเป็นสตรี มีผ้าคลุมศีรษะอย่างเรียบง่ายและถ่อมพระองค์ บางครั้งแสดงภาพพระนางมีไม้เท้าในพระหัตถ์หรือประทับอยู่ข้างกองไฟขนาดใหญ่

อ้างอิง[แก้]

  1. Graves, Robert. "The Palace of Olympus". Greek Gods and Heroes.
  2. Larousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.
  3. Hesiod, Theogony, 4.53 f.
  4. Kereny 1951:91
  5. Kajava, Mika, "Hestia Hearth, Goddess, and Cult", Harvard Studies in Classical Philology, Vol. 102, (2004), p. 1, 2.
  6. Dorter, "Imagery and Philosophy in Plato's Phaedrus," Journal of the History of Philosophy 9.3 (July 1971:279-88).
  7. Károly Kerényi, The Gods of the Greeks, 1951, p.92: "there is no story of Hestia's ever having taken a husband or ever having been removed from her fixed abode."
  8. Burkert, Greek Religion 1985:170.
  9. Not so for every Greek in every generation, however: in Odyssey 14, 432-36, the loyal swineherd Eumaeus begin the feast for his master Odysseus by plucking tufts from a boar's head and throwing them into the fire with a prayer addressed to all the powers, then carved the meat into seven equal portions: "one he set aside, lifting up a prayer to the forest nymphs and Hermes, Maia's son." (Robert Fagles' translation).
  10. Kajava, Mika, "Hestia Hearth, Goddess, and Cult", Harvard Studies in Classical Philology, Vol. 102, (2004), p. 2.