เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ (กัวลาลัมเปอร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของบริษัท เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ จำกัด
ที่ตั้งหุบเขากลัง ประเทศมาเลเซีย
ประเภทรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน
จำนวนสาย6 7
จำนวนสถานี6
ผู้โดยสารต่อวัน27,307 (2015)
ผู้โดยสารต่อปี9.967 ล้าน (2015)[1]
(เพิ่มขึ้น 7.9%)
เว็บไซต์kliaekspres.com
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน14 เมษายน 2002; 21 ปีก่อน (2002-04-14)
จำนวนขบวน
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง57 km (35 mi) (รวม)
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
การจ่ายไฟฟ้า25 kV 50 Hz เหนือหัว
ความเร็วเฉลี่ย176 km/h (109 mph)

บริษัท เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ จำกัด (อังกฤษ: Express Rail Link Sdn Bhd) เป็นบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ มีระยะทาง 57 กิโลเมตร แบ่งชนิดรถที่ให้บริการเป็นสองประเภท คือ

ประวัติ[แก้]

บริษัท เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท วายทีแอล จำกัด, บริษัท เลิมบากาตาบุงฮาจิ และบริษัท ตริซิลโก อีควิตี้ จำกัด โดยแต่ละบริษัทเป็นเจ้าของอยู่ 50%, 40% และ 10% ตามลำดับ ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1997 รัฐบาลมาเลเซีย ได้ประกาศให้บริษัทนี้สัมปทานอยู่ 30 ปี ในด้านการสร้างและดูแลทางรถไฟ

การก่อสร้างเริ่มในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1997 และสร้างเสร็จในอีก 5 ปีถัดมา ภารกิจได้ถูกส่งมอบไปยังสมาคมเอสวายแซด ซึ่งเป็นสมาคมลูกครึ่งมาเลเซีย-เยอรมัน

การบำรุงเส้นทางถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1999 โดยมีเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์เป็นเจ้าของ แต่เดิมเกิดจากร่วมทุนกันของบริษัท เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ จำกัด กับบริษัท ซีเมนส์ จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005 หลังจากนั้นอยู่ภายใต้การดำเนินการของเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ แต่เพียงผู้เดียว[2]

จากวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2540 ส่งผลให้บริษัทต้องไปยืมเงินกู้จากองค์การธนาคารมาเลเซียมาประมาณ 940 ล้านริงกิต[3]

หน่วยงานย่อย[แก้]

เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ มีบริษัทย่อยคือ บริษัทการบำรุงทางของอีอาร์แอล หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า อี–เอ็มเอเอส[4]

ระบบรถไฟฟ้า[แก้]

ทั้ง เคแอลไอเอ แทรนซิต และเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส ต่างก็ใช้รถไฟฟ้าซีเมนส์ เดซิโร อีที 425 เอ็ม เหมือนกัน โดยจัดขบวนรถเป็นแบบ 4 คันต่อขบวน รวมทั้งหมด 12 ขบวน[5] แบ่งเป็นรถไฟฟ้าเอ็กซ์เพรส 8 ขบวน และรถไฟฟ้าแทรนซิต 4 ขบวน มีความเร็วสูงสุดที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นรถไฟที่เร็วที่สุดในมาเลเซีย

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 ได้มีการสั่งซื้อรถไฟฟ้า 6 ขบวนใหม่ จากบริษัทฉางชุน เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่มากขึ้น โดยแบ่งเป็นรถไฟฟ้าเอ็กซ์เพรส 2 ขบวน และรถไฟฟ้าแทรนซิต 4 ขบวน คาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016[6][7][8][9]

อุบัติเหตุ[แก้]

ส่วนต่อขยาย[แก้]

สมุดภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "JADUAL 2.9 : BILANGAN PENUMPANG BAGI PERKHIDMATAN SISTEM ALIRAN RINGAN, SUKU KEEMPAT, 2015" [Table 2.9 : Number of Passengers for Light Rail Transit (LRT) Services, Fourth Quarter, 2015] (PDF) (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Ministry of Transport, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 31 March 2016.
  2. Developing local capabilities in Malaysia เก็บถาวร 2016-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Railway Gazette International April 2006
  3. "Import Credit Definition from The Free Dictionary".
  4. "ERL Joins Forces with Prasarana to Send Operations Staff to Makkah Metro to Support the 2014 Hajj Season". myrapid.com.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 2014-07-22.
  5. "Siemens - Express Rail Link Kuala Lumpur" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-07-20. สืบค้นเมื่อ 2015-05-26.
  6. "Express Rail Link & Changchun Railway Ink Agreement for Purchase of New Trains". prnewswire.com. สืบค้นเมื่อ 2014-11-27.
  7. "Express Rail Link signs deal for six new trains". globalairrail.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-15. สืบค้นเมื่อ 2014-11-26.
  8. "China's rail carmaker to supply Malaysia with six trains". usa.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2014-11-26.
  9. "ERL buys 6 new trains from China's CRC". myrapid.com.my. สืบค้นเมื่อ 2014-11-26.
  10. "2 ERLs crash at KL Sentral".
  11. "2 ERLs crash at KL Sentral, 3 hurt".
  12. http://www.kliaekspres.com/erlsb/ExpressRailLinkExtensiontoKLIA2/tabid/373/Default.aspx

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]