เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014
รายละเอียดการแข่งขัน
วันที่29 มกราคม – 1 พฤศจิกายน 2014
ทีม47 (จาก 19 สมาคม)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศออสเตรเลีย เวสเทิร์น ซิดนีย์ วันเดอร์เรอส์ (สมัยที่ 1)
รองชนะเลิศซาอุดีอาระเบีย อัล-ฮิลาล
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน141
จำนวนประตู374 (2.65 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม1,975,439 (14,010 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดกานา กียาน อซาโมอาห์
(12 ประตู)
ผู้เล่นยอดเยี่ยมออสเตรเลีย อันเต โควิค
2013
2015

เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014 เป็นการแข่งขันชิงแชมป์สโมสรถ้วยสูงสุดของทวีปเอเชีย จัดโดยสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย โดยการแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขั้นครั้งที่ 12 ภายใต้ชื่อเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และเป็นการแข่งขันครั้งที่ 33 ของบอลถ้วยสูงสุดของเอเชีย โดยสโมสรที่ชนะเลิศจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2014 สำหรับทีมที่ชนะเลิศในรายการนี้เมื่อปี 2013 คือสโมสรฟุตบอลกว่างโจว เอเวอร์แกรนด์

การจัดสรรทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน[แก้]

เอเอฟซีจะประกาศจำนวนทีมที่ได้เข้าแข่งขันในปีนี้ โดยจะประกาศในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ยึดหลักการดังนี้[1]

  • สมาคมฟุตบอลในสังกัด AFC ที่มีอันดับสูงสุด 23 อันดับแรกสามารถยื่นความจำนงขอเข้าร่วมรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกได้
  • สมาชิกในภาคตะวันออกและตะวันตกของสมาพันธ์จะได้รับการจัดสรรทีมเข้าร่วมแข่งขันภาคละ 14 ทีม โดยอีก 2 ทีมของแต่ละภาคจะได้มาจากการเพลย์ออฟ
  • ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศในรายการเอเอฟซี คัพจะได้สิทธิ์เข้าร่วมเพลย์ออฟ



การประเมินสำหรับเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014[2]
ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด (> 600 คะแนน)
ผ่านเกณฑ์บางส่วน
ไม่ได้รับการประเมิน แต่ได้รับสิทธิ์
  • ^ สโมสรจากคูเวตได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน 2 สโมสรในฐานะผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศรายการเอเอฟซีคัพ 2013
  • ^ สมาคมฟุตบอลอินเดียสังกัดโซนตะวันตก แต่ในการแข่งขันครั้งนี้ให้เข้าร่วมการแข่งขันในโซนตะวันออก
  • [3]

    ทีมที่เข้าร่วม[แก้]

    หมายเหตุ
  • ^ India (IND) : สโมสรปูนได้ลงเล่นในรายการเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกแทนที่สโมสรเชอร์ชิล บราเธอร์ เนื่องจากเชอร์ชิล บราเธอร์ส่งเอกสารคลับไลเซนส์ซิงไม่ทันเวลา สโมสรปูนจึงได้สิทธิ์ลงเล่นแทน[4]
  • ^ Bahrain (BHR) : อัล-ฮิด จะเป็นตัวแทนของลีกประเทศบาห์เรน เนื่องจากผ่านคลับไลเซนส์ซิง.[5]
    • จำนวนครั้งที่เข้าร่วมแข่งขัน นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อรายการเป็นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกเท่านั้น

    ตารางการแข่งขัน[แก้]

    สำหรับการกำหนดตารางการแข่งขันและการจับสลากจะประกาศและทำการจับ ณ สำนักงานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย[6][7]

    รอบ การแข่งขัน วันจับสลาก นักแรก นัดที่สอง
    รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ รอบแรก 10 ธันวาคม 2013 2 กุมภาพันธ์ 2014
    รอบที่สอง 8 กุมภาพันธ์ 2014
    รอบที่สาม 15 กุมภาพันธ์ 2014
    รอบแบ่งกลุ่ม นัดที่ 1 10 ธันวาคม 2013[8] 25–26 กุมภาพันธ์ 2014
    นัดที่ 2 11–12 มีนาคม 2014
    นัดที่ 3 18–19 มีนาคม 2014
    นัดที่ 4 1–2 เมษายน 2014
    นัดที่ 5 15–16 เมษายน 2014
    นัดที่ 6 22–23 เมษายน 2014
    รอบแพ้คัดออก รอบ 16 ทีมสุดท้าย 6–7 พฤษภาคม 2014 13–14 พฤษภาคม 2014
    รอบก่อนรองชนะเลิศ TBA 17 กันยายน 2014 30 กันยายน–1 ตุลาคม 2014
    รอบรองชนะเลิศ 22 ตุลาคม 2014 29 ตุลาคม 2014
    รอบชิงชนะเลิศ TBA TBA

    ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2013, คณะกรรมการจัดการแข่งขันพิจารณาให้มีการจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในรูปแบบเหย้าและเยือน (ซึ่งแต่เดิมเคยมีมติจะให้แข่งนัดเดียว)[1][9] รวมถึงให้จัดการแข่งขันแยกโซนระหว่างตะวันออกและตะวันตก ส่งผลให้ในรอบชิงชนะเลิศจะมีตัวแทนทั้งจากฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเข้าชิง[10]

    รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ[แก้]

    สำหรับวงเล็บในรอบคัดเลือกเพลย์ออฟจะถูกกำหนดโดยคะแนนประเมินสมาคมของแต่ละประเทศ หากสโมสรใดมาจากสมาคมที่มีคะแนนสูงจะได้เล่นในรอบที่ 2 และรอบที่ 3[7] การแข่งขันในแต่ละรอบนั้นเป็นการแข่งขันเพียงนัดเดียว โดยสโมสรที่มาจากสมาคมที่มีคะแนนสูงกว่าสโมสรที่พบกันจะได้เป็นเจ้าบ้าน หากในการแข่งขันไม่สามารถหาผู้ชนะได้ในเวลาปกติจะใช้การต่อเวลาพิเศษและการยิงจุดโทษตามลำดับเพื่อหาผู้ชนะเลิศเข้าสู่รอบต่อไป สโมสรที่ชนะเลิศในรอบที่ 3 จะได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันต่อในรอบแบ่งกลุ่ม โดยรอบนี้จะคัด 4 สโมสรเข้าไปรวมกับ 28 สโมสรที่ได้เข้ารอบมาโดยอัตโนมัติ สำหรับสโมสรของสมาคมฟุตบอลแห่งใดที่ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันเฉพาะรอบนี้เท่านั้น หากตกรอบจะได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันเอเอฟซี คัพต่อไป แต่ถ้าหากเข้ารอบแบ่งกลุ่มได้สโมสรในอันดับต่อไปในลีกจะได้สิทธิ์เล่นเอเอฟซีคัพแทน

    รอบแรก[แก้]

    ทีมหนึ่ง  ผล  ทีมสอง
    โซนเอเชียตะวันตก
    อัล-ซูวาอิค โอมาน 0 - 1 คูเวต คาดเซีย เอสซี
    ชาบับ อัล-ออร์ดอน จอร์แดน 1 - 3
    (ต่อเวลา)
    บาห์เรน อัล-ฮิด
    คูเวต เอสซี คูเวต 1 - 0 อิรัก อัล-ชอร์ตา
    โซนเอเชียตะวันออก
    แทมปิเนส โรเวอส์ สิงคโปร์ 1 - 2
    (ต่อเวลา)
    ฮ่องกง เซาท์ ไชนา
    ปูเน เอฟซี อินเดีย 0 - 3 เวียดนาม ฮานอย ทีแอนด์ที

    รอบสอง[แก้]

    ทีมหนึ่ง  ผล  ทีมสอง
    โซนเอเชียตะวันตก
    บานิยาส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 0 - 4 คูเวต คาดเซีย เอสซี
    เอล จาอิช ประเทศกาตาร์ 5 - 1 อุซเบกิสถาน นาซาฟ การ์ชี
    เลคห์วียา ประเทศกาตาร์ 2 - 1 บาห์เรน อัล-ฮิด
    โลโคโมทีฟ ทาชเคนต์ อุซเบกิสถาน 1 - 3 คูเวต คูเวต เอสซี
    โซนเอเชียตะวันออก
    ชลบุรี เอฟซี ไทย 3 - 0 ฮ่องกง เซาท์ ไชนา
    เมืองทอง ยูไนเต็ด ไทย 2 - 0 เวียดนาม ฮานอย ทีแอนด์ที

    รอบสาม[แก้]

    ทีมหนึ่ง  ผล  ทีมสอง
    โซนเอเชียตะวันตก
    เอล จาอิช ประเทศกาตาร์ 3 - 0 คูเวต คาดเซีย เอสซี
    เลคห์วียา ประเทศกาตาร์ 4 - 1 คูเวต คูเวต เอสซี
    โซนเอเชียตะวันออก
    ปักกิ่ง กั๋วอัน จีน 4 - 0 ไทย ชลบุรี เอฟซี
    เมลเบิร์น วิกตอรี ออสเตรเลีย 2 - 1 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด

    รอบแบ่งกลุ่ม[แก้]

    โดยรอบแบ่งกลุ่มมีการจับสลากแบ่งกลุ่มในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556[11] ซึ่งสโมสรจากประเทศเดียวกันจะไม่สามารถอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ โดยอันดับที่ 1 และ 2 ของกลุ่มจะได้ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก

    กลุ่ม เอ[แก้]

    ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
    ซาอุดีอาระเบีย อัล-ชาบับ ริยาดห์ 6 5 0 1 12 8 +4 15
    สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัล-จาซีรา 6 3 1 2 12 10 +2 10
    อิหร่าน เอสเตก์ลาล 6 2 1 3 7 7 0 7
    ประเทศกาตาร์ อัล-เรย์ยาน 6 1 0 5 9 15 –6 3
      EST RAY JAZ SHB
    เอสเตก์ลาล 3–1 2–2 0–1
    อัล-เรย์ยาน 1–0 2–3 0–2
    อัล-จาซีรา 0–1 3–2 1–2
    อัล-ชาบับ ริยาดห์ 2–1 4–3 1–3

    กลุ่ม บี[แก้]

    ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
    อิหร่าน ฟูลอัด 6 4 2 0 11 3 +8 14
    อุซเบกิสถาน บุนยอดกอร์ 6 2 2 2 7 7 0 8
    ประเทศกาตาร์ เอล จาอิช 6 2 2 2 6 6 0 8
    ซาอุดีอาระเบีย อัล-ฟาเตห์ 6 0 2 4 3 11 –8 2
      FAT FLD JSH BUN
    อัล-ฟาเตห์ 1–5 0–0 0–0
    ฟูลอัด 1–0 3–1 1–0
    เอล จาอิช 2–0 0–0 1–2
    บุนยอดกอร์ 3–2 1–1 1–2

    กลุ่ม ซี[แก้]

    ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
    สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัล-อิน 6 3 2 1 14 7 +7 11
    ซาอุดีอาระเบีย อัล-อิตติฮัด 6 3 1 2 8 6 +2 10
    ประเทศกาตาร์ เลคห์วียา 6 2 1 3 5 10 –5 7
    อิหร่าน แทรกเตอร์ ซาซี 6 1 2 3 4 8 –4 5
      AIN ITT TRS LEK
    อัล-อิน 1–1 3–1 2–1
    อัล-อิตติฮัด 2–1 2–0 3–1
    แทรกเตอร์ ซาซี 2–2 1–0 0–1
    เลคห์วียา 0–5 2–0 0–0

    กลุ่ม ดี[แก้]

    ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
    ซาอุดีอาระเบีย อัล-ฮิลาล 6 2 3 1 12 7 +5 9
    ประเทศกาตาร์ อัล-ซาดด์ 6 2 2 2 8 14 –6 8
    สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัล-อาห์ลี 6 1 4 1 6 6 0 7
    อิหร่าน เซปาฮาน เอสฟาฮาน 6 2 1 3 9 8 +1 7
      SAD AHL HIL SEP
    อัล-ซาดด์ 2–1 2–2 3–1
    อัล-อาห์ลี 1–1 0–0 0–0
    อัล-ฮิลาล 5–0 2–2 1–0
    เซปาฮาน 4–0 1–2 3–2

    กลุ่ม อี[แก้]

    ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
    เกาหลีใต้ โปฮัง สตีลเลอส์ 6 3 3 0 11 6 +5 12
    ญี่ปุ่น เซเรโซ โอซากา 6 2 2 2 10 9 +1 8
    ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 6 1 3 2 5 9 –4 6
    จีน ซานตง หลู่เนิ่ง ไต๋ซาน 6 1 2 3 9 11 –2 5
      POH BUR SHD CER
    โปฮัง สตีลเลอส์ 0–0 2–2 1–1
    บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 1–2 1–0 2–2
    ซานตง หลู่เนิ่ง 2–4 1–1 1–2
    เซเรโซ โอซากา 0–2 4–0 1–3

    กลุ่ม เอฟ[แก้]

    ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
    เกาหลีใต้ เอฟซี โซล 6 3 2 1 9 6 +3 11
    ญี่ปุ่น ซานเฟรสเซ ฮิโรชิมา 6 2 3 1 9 8 +1 9
    จีน ปักกิ่ง กั๋วอัน 6 1 3 2 7 8 –1 6
    ออสเตรเลีย เซ็นทรัล โคสต์ มารีเนอส์ 6 2 0 4 4 7 –3 6
      HIR CCM SEO BEI
    ซานเฟรสเซ ฮิโรชิมา 1–0 2–1 1–1
    เซ็นทรัล โคสต์ มารีเนอส์ 2–1 0–1 1–0
    เอฟซี โซล 2–2 2–0 2–1
    ปักกิ่ง กั๋วอัน 2–2 2–1 1–1

    กลุ่ม จี[แก้]

    ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
    จีน กว่างโจว เอเวอร์แกรนด์ 6 3 1 2 10 8 +2 10
    เกาหลีใต้ ชุนบุค ฮุนได มอเตอร์ส 6 2 2 2 8 7 +1 8
    ออสเตรเลีย เมลเบิร์น วิกตอรี 6 2 2 2 9 9 0 8
    ญี่ปุ่น โยโกฮามา เอฟ. มารีนอส 6 2 1 3 7 10 –3 7
      GUA YOK JEO MEL
    กว่างโจว เอเวอร์แกรนด์ 2–1 3–1 4–2
    โยโกฮามา เอฟ. มารีนอส 1–1 2–1 3–2
    ชุนบุค ฮุนได มอเตอร์ส 1–0 3–0 0–0
    เมลเบิร์น วิกตอรี 2–0 1–0 2–2

    กลุ่ม เอช[แก้]

    ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
    ออสเตรเลีย เวสเทิร์น ซิดนีย์ วันเดอร์เรอส์ 6 4 0 2 11 5 +6 12
    ญี่ปุ่น คาวาซากิ ฟรอนตาเล 6 4 0 2 7 5 +2 12
    เกาหลีใต้ อุลซาน ฮุนได 6 2 1 3 8 10 –2 7
    จีน กุ้ยโจว เหรินเฮอ 6 1 1 4 4 10 –6 4
      WSW GUI KAW ULS
    เวสเทิร์น ซิดนีย์ วันเดอร์เรอส์ 5–0 1–0 1–3
    กุ้ยโจว เหรินเฮอ 0–1 0–1 3–1
    คาวาซากิ ฟรอนตาเล 2–1 1–0 3–1
    อุลซาน ฮุนได 0–2 1–1 2–0

    รอบน็อกเอาท์[แก้]

    รอบ 16 ทีมสุดท้าย[แก้]

    ทีมแรก   ผล   ทีมที่สอง นัดแรก นัดที่สอง
    โซนเอเชียตะวันตก
    อัล-อิตติฮัด ซาอุดีอาระเบีย 4–1 ซาอุดีอาระเบีย อัล-ชาบับ ริยาดห์ 1–0 3–1
    อัล-จาซีรา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2–4 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัล-อิน 1–2 1–2
    อัล-ซาดด์ ประเทศกาตาร์ 2–2 (a) อิหร่าน ฟูลอัด 0–0 2–2
    บุนยอดกอร์ อุซเบกิสถาน 0–4 ซาอุดีอาระเบีย อัล-ฮิลาล 0–1 0–3
    โซนเอเชียตะวันออก
    ชุนบุค ฮุนได มอเตอร์ส เกาหลีใต้ 1–3 เกาหลีใต้ โปฮัง สตีลเลอส์ 1–2 0–1
    เซเรโซ โอซากา ญี่ปุ่น 2–5 จีน กว่างโจว เอเวอร์แกรนด์ 1–5 1–0
    คาวาซากิ ฟรอนตาเล ญี่ปุ่น 4–4 (a) เกาหลีใต้ เอฟซี โซล 2–3 2–1
    ซานเฟรสเซ ฮิโรชิมา ญี่ปุ่น 3–3 (a) ออสเตรเลีย เวสเทิร์น ซิดนีย์ วันเดอร์เรอส์ 3–1 0–2

    รอบ 8 ทีมสุดท้าย[แก้]

    การจับสลากประกบคู่สำหรับรอบก่อนรองชนะเลิศ (รอบ 8 ทีมสุดท้าย), รอบรองชนะเลิศ, และรอบชิงชนะเลิศ (ในการตัดสินทั้งสองนัด) จะมีขึ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม 2014. ในการจับสลากครั้งนี้, ทีมที่มาจากแตกต่างโซนจะไม่สามารถเจอะเจอกันได้จนกระทั่งถึงนัดชิงชนะเลิศ, และรอบนี้เป็นต้นไปจะไม่มีทีมวางหรือ "ทีมจากประเทศเดียวกันพบกันได้", ดังนั้นทีมจากสมาคมเดียวกันสามารถจับสลากโคจรมาพบกันได้.[12]

    ทีมแรก   ผล   ทีมที่สอง นัดแรก นัดที่สอง
    โซนเอเชียตะวันตก
    อัล-ฮิลาล ซาอุดีอาระเบีย 1–0 ประเทศกาตาร์ อัล-ซาดด์ 1–0 0–0
    อัล-อิน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 5–1 ซาอุดีอาระเบีย อัล-อิตติฮัด 2–0 3–1
    โซนเอเชียตะวันออก
    โปฮัง สตีลเลอส์ เกาหลีใต้ 0–0 (0–3 p) เกาหลีใต้ เอฟซี โซล 0–0 0–0
    (ต่อเวลา)
    เวสเทิร์น ซิดนีย์ วันเดอร์เรอส์ ออสเตรเลีย 2–2 (a) จีน กว่างโจว เอเวอร์แกรนด์ 1–0 1–2

    รอบรองชนะเลิศ[แก้]

    ทีมแรก   ผล   ทีมที่สอง นัดแรก นัดที่สอง
    โซนเอเชียตะวันตก
    อัล-ฮิลาล ซาอุดีอาระเบีย 4–2 อัล-อิน 3–0 1–2
    โซนเอเชียตะวันออก
    เอฟซี โซล เกาหลีใต้ 0–2 ออสเตรเลีย เวสเทิร์น ซิดนีย์ วันเดอร์เรอส์ 0–0 0–2

    รอบชิงชนะเลิศ[แก้]

    ทีมแรก   ผล   ทีมที่สอง นัดแรก นัดที่สอง
    เวสเทิร์น ซิดนีย์ วันเดอร์เรอส์ ออสเตรเลีย 1–0 ซาอุดีอาระเบีย อัล-ฮิลาล 1–0 0–0

    รางวัล[แก้]

    รางวัล ผู้เล่น ทีม
    นักฟุตบอลทรงคุณค่า[13] ออสเตรเลีย อันเต โควิค ออสเตรเลีย เวสเทิร์น ซิดนีย์ วันเดอร์เรอส์
    ดาวซัลโวสูงสุด กานา อซาโมอาห์ กียาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัล-อิน
    ทีมแฟร์เพลย์ ซาอุดีอาระเบีย อัล-ฮิลาล

    อ้างอิง[แก้]

    1. 1.0 1.1 "ACL base widened from 2014". AFC. 12 March 2013.
    2. "สรุปโควต้าเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก-2014". GoalThailand. 26 November 2013.
    3. "AFC ExCo okays ACL slots, format". AFC. 26 November 2013.
    4. "Pune FC to play AFC Champions League play-off". Goal.com. 26 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-28.
    5. "Bahrain get AFC Champions League qualifying slot". Gulf Daily News. 29 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-11-29.
    6. "AFC Calendar of Competitions 2014" (PDF). AFC.
    7. 7.0 7.1 "AFC Champions League 2014 and AFC Cup 2014 Competition Format - AFC Champions League & AFC Cup Play-off" (PDF). Asian Football Confederation. Vietnam Professional Football. 28 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.
    8. "Media accreditation open for Official Draws of 2014 AFC Champions League and AFC Cup". International Sports Press Association.
    9. "Focus on ACL stability". AFC. 10 March 2013.
    10. "ACL: East vs West final proposed". AFC. 25 November 2013.
    11. "AFC Champions League 2014 Group Stage draw". AFC. 10 December 2013.
    12. "ACL 2014 KO Stage Draw Mechanics" (PDF). AFC.
    13. "Custodian Covic named Most Valuable Player". AFC. 2 November 2014.

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]