เอเชียนบีชเกมส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอเชี่ยนบีชเกมส์)
เอเชียนบีชเกมส์
Asian Beach Games
ตราสัญลักษณ์ของกีฬาเอเชียนเกมส์
ชื่อย่อAsiad
คำขวัญEver Onward
(ก้าวหน้าตลอดไป)
ก่อตั้งครั้งที่ 1 ที่บาหลี
อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
จัดขึ้นทุก2 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 6 ที่ดานัง
เวียดนาม เวียดนาม
วัตถุประสงค์กีฬาชายหาดในภูมิภาคเอเชีย
สำนักงานใหญ่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย
กรุงคูเวตซิตี, รัฐคูเวต
ประธานคูเวต เชค ฟาฮัด อัล-ซาบะห์
เว็บไซต์เอเชียนบีชเกมส์

เอเชียนบีชเกมส์ (อังกฤษ: Asian Beach Games; ABG) เป็นการแข่งกีฬาหลายชนิดระดับนานาชาติ จัดขึ้นทุก 4 ปี ด้วยการแข่งขันของนักกีฬาจากทวีปเอเชีย จัดโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) เป็นการแข่งขันที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากเอเชียนเกมส์ จัดขึ้นครั้งแรกที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 18-26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย หรือ “โอซีเอ” จัดกีฬาเอเชี่ยนบีชเกมส์มาเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับวงการกีฬาของเอเชีย และได้นำกีฬาที่ไม่มีการแข่งขันในเอเชี่ยนเกมส์มาบรรจุแข่งขันในเอเชี่ยนบีชเกมส์ เจ้าภาพครั้งแรกคือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะบาหลี มีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 19 ชนิด โดยมีการชิงชัย 71 เหรียญทอง และมี 45 ประเทศเข้าร่วมแข่งขัน มีสโลแกนการแข่งขันว่า “ไมตรีจิต คำมั่นสัญญา ความศรัทธาอย่างแรงกล้า สปิริตในเกมกีฬา” โดยครั้งแรกมีการแข่งขันที่ 4 ชายหาด ของเกาะบาหลี คือ

  • หาดกูต้า แข่งเพาะกายชายหาด กระดานโต้คลื่น เรือยาว 22 ฝีพาย
  • หาดนูซา ดัว แข่งโปโลน้ำ กาบัดดี้ชายหาด มวยปล้ำชายหาด ปันจักสีลัตชายหาด เจ็ตสกี พาราไกลดิ้ง วู้ดบอล ว่ายน้ำมาราธอนและบาสเกตบอลชายหาด ซึ่งเป็นกีฬาสาธิต
  • หาดซานูร์ แข่งวอลเลย์บอลชายหาด เซปักตะกร้อชายหาด ฟุตบอลชายหาด แฮนด์บอลชายหาด ไตรกีฬา
  • หาดเซรังกัน แข่งเรือใบและวินด์เซิร์ฟ

ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกนี้ 16 ชนิด กีฬาที่ไม่ได้ส่งเข้าแข่งขันเช่นโปโลน้ำ ว่ายน้ำมาราธอน เพราะไม่มีการเล่นแพร่หลายในประเทศไทยรวมนักกีฬาไทยที่เข้าแข่งขันครั้งนี้ทั้งหมด 201 คน จำนวนมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศอินโดนีเซียที่เป็นเจ้าภาพ [1]

การจัดการแข่งขัน[แก้]

เมืองเจ้าของของการแข่งขันเอเชียนบีชเกมส์
ครั้งที่ ปี ค.ศ. เมืองเจ้าภาพ ประเทศ พิธีเปิดโดย วันที่เริ่ม วันที่สิ้นสุด จำนวนประเทศ จำนวนนักกีฬา ชนิดกีฬา รายการ เจ้าภาพเหรียญทอง อ้างอิง
1 2008 บาหลี  อินโดนีเซีย ประธานาธิบดี ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน 18 ตุลาคม 26 ตุลาคม 41 1,665 17 59  อินโดนีเซีย (INA) [2]
2 2010 มัสกัต  โอมาน สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านกอบูส บิน ซะอีด อัสซะอีด 8 ธันวาคม 16 ธันวาคม 43 1,131 14 52  ไทย (THA) [3]
3 2012 ไห่หยาง  จีน ที่ปรึกษาแห่งรัฐ หม่า ไข่ 16 มิถุนายน 22 มิถุนายน 43 1,336 13 49  จีน (CHN) [4]
4 2014 ภูเก็ต  ไทย องคมนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์ 14 พฤศจิกายน 23 พฤศจิกายน 42 2,335 26 168  ไทย (THA) [5]
5 2016 ดานัง  เวียดนาม นายกรัฐมนตรี เหงียน ซวน ฟุก 24 กันยายน 3 ตุลาคม 41 2,197 14 172  เวียดนาม (VIE) [6]
6 2023 ซานย่า  จีน 12 สิงหาคม 19 กันยายน 22 [7]

สรุปเหรียญการแข่งขันตลอดกาล[แก้]

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 ไทย (THA)1309791318
2 เวียดนาม (VIE)626870200
3 จีน (CHN)605564179
4 อินโดนีเซีย (INA)422853123
5 เกาหลีใต้ (KOR)223545102
6 อิหร่าน (IRI)20211556
7 ญี่ปุ่น (JPN)14142250
8 มองโกเลีย (MGL)1441331
9 คาซัคสถาน (KAZ)13181748
10 อินเดีย (IND)1252946
11 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)119929
12 จีนไทเป (TPE)10212960
13 กาตาร์ (QAT)83920
14 โอมาน (OMA)75618
15 บาห์เรน (BRN)73111
16 มาเลเซีย (MAS)6171942
17 ปากีสถาน (PAK)6141636
18 ฮ่องกง (HKG)6101632
19 กัมพูชา (CAM)661022
20 อุซเบกิสถาน (UZB)61916
21 พม่า (MYA)511521
22 ฟิลิปปินส์ (PHI)5103247
23 ลาว (LAO)553343
24 สิงคโปร์ (SGP)531220
25 คูเวต (KUW)49821
26 จอร์แดน (JOR)47718
27 อิรัก (IRQ)461222
28 ซีเรีย (SYR)43815
29 เติร์กเมนิสถาน (TKM)381627
30 เลบานอน (LBN)241117
31 อัฟกานิสถาน (AFG)22610
32 คีร์กีซสถาน (KGZ)13711
33 บรูไน (BRU)1269
34 เยเมน (YEM)1124
35 ทาจิกิสถาน (TJK)1045
36 มาเก๊า (MAC)0167
37 ศรีลังกา (SRI)0066
38 บังกลาเทศ (BAN)0033
39 ซาอุดีอาระเบีย (KSA)0011
 ปาเลสไตน์ (PLE)0011
 มัลดีฟส์ (MDV)0011
 เนปาล (NEP)0011
รวม (42 ประเทศ)5095097311749

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Matichon
  2. "1st ABG Bali 2008". OCA. สืบค้นเมื่อ 18 October 2008.[ลิงก์เสีย]
  3. "2nd ABG Muscat 2010". OCA. สืบค้นเมื่อ 8 December 2010.[ลิงก์เสีย]
  4. "3rd ABG Haiyang 2012". OCA. สืบค้นเมื่อ 16 June 2012.[ลิงก์เสีย]
  5. "4th ABG Phuket 2014". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-13. สืบค้นเมื่อ 14 November 2014.
  6. "5th ABG Danang 2016". OCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-08. สืบค้นเมื่อ 24 September 2016.
  7. "Sanya City in China awarded 2020 Asian Beach Games". Inside The Games. สืบค้นเมื่อ 11 June 2018.