เอเชียนอินดอร์เกมส์ 2005

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์เกมส์ ครั้งที่ 1
เมืองเจ้าภาพกรุงเทพมหานคร ไทย
คำขวัญDawn of the Asian Stars
รุ่งอรุณแห่งเอเซีย
ประเทศเข้าร่วม37
นักกีฬาเข้าร่วมประมาณ 2,343 คน
กีฬา9 ชนิด
พิธีเปิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
พิธีปิด19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ประธานพิธีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พิธีเปิด)
[[]] (พิธีปิด)
นักกีฬาปฏิญาณปฏิวัติ ทองสลับ
ผู้ตัดสินปฏิญาณจตุพร เหมวรรณโณ
ผู้จุดคบเพลิงจา พนม (นายทัชชกร ยีรัมย์)
สนามกีฬาหลักอินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก,

ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง,
อาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร,
อาคารศิลปอาชา สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี,

อาคารกรีฑาในร่ม พัทยา

เอเชียนเกมส์อินดอร์เกมส์ 2005 เป็นการจัดกีฬาเอเชียนอินดอร์เกมส์ครั้งที่แรก จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12 พฤศจิกายน - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยมีประเทศเข้าร่วมแข่งขัน 37 ประเทศ และ มีกีฬาแข่งขันทั้งหมด 9 ชนิด

สัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์ของการแข่งขัน เป็นสิ่งสำคัญที่มีความสำคัญที่สุดในระบบเอกลักษณ์ ออกแบบเป็นรูป แบบตัวอักษรภาษาอังกฤษ“A” สื่อความหมายถึง เอเชีย, เอเชี่ยน และเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ (Asia, Asian, Asian Indoor Games) ตัวอักษรถูกเขียนเป็นรูปหลังคาทรงจั่วแบบไทย เพราะต้องการสื่อว่าเป็นการแข่งขันกีฬา ของ ชาวเอเชียที่จัดขึ้นในประเทศไทย และ แสดงให้เห็นถึงการแข่งขัน กีฬาในร่ม โดยกำหนดให้ใช้สีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งในขณะที่เส้นสีทอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตัวอักษร “A” ออกแบบให้เป็นรอยยิ้มเพื่อสื่อถึงความเป็นมิตร ความมีน้ำใจไมตรีของประเทศไทย และคนไทยในฐานะที่เป็นเจ้าภาพ สีเหลืองที่มุมซ้ายบนของตัวอักษร ประกอบด้วยกลุ่มดาว 9 ดวง (9 Asian Stars) สื่อถึงความหมายถึงวิสัยทัศน์ของการแข่งขัน 9 ประการ คือ[1]

  1. จิตวิญญาณที่ดี (Spirit)
  2. น้ำใจนักกีฬา (Sportmanship)
  3. มิตรภาพ (Friendship)
  4. สุขภาพ (Health)
  5. แรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ (Inspiration)
  6. ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ(Creativity and Imagination)
  7. ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Solidarity)
  8. ความสุข (Happiness)
  9. ความสงบสันติภาพ (Peace)

ส่วนที่มุมด้านบนเป็นสัญลักษณ์ของ การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ (รูปดวงอาทิตย์สีแดง) และ เป็นสัญลักษณ์ แสดงสิทธิ์และความเป็นเจ้าภาพร่วมของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Concil of Asia) ถัดลงมา ด้านล่างเป็นสัญลักษณ์ TM (Trademark) และข้อความแสดงสิทธิ์ (Copyright Notice)

ตัวนำโชค[แก้]

ช้างฝาแฝด เฮ-ฮา (twins Elephant Hey-Há) เฮ เป็นช้างสีฟ้าสดใส อายุ 8 ปี รูปร่างผอมสูง แข็งแรง เป็นนักกีฬา เล่นกีฬาเก่งเป็นนักเรียนทุนของโรงเรียนกีฬาสุพรรณบุรี ขี้โมโหนิดๆ เพราะมีความมุ่งมั่น ตั้งใน ทำอะไรทำจริง มีความพยายามที่จะไปให้ถึง จุดสูงสุดเสมอ เฮมีบุคลิกโดยรวม ดูเป็นผู้ใหญ่ กว่าฮา มีเสียงค่อนข้างดัง พูดมีจังหวะจะโคน ชัดถ้อยชัดคำ ระมัดระวังเรื่องอักษรกล้ำโดย เฉพาะพูด ร เรือ ชัดมาก

ฮา ช้างอ้วนสีเหลือง อายุ 6 ปี พูดภาษาอังกฤษเก่ง เพราะเป็น นักเรียนโรงเรียนนานาชาติ รูปร่างเจ้าเนื้อเพราะกินจุ แม้จะเล่นกีฬา ใดๆ ไม่ถนัด แต่มีใจรัก และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เล่น ฮา มักจะ เห็นความดีงามในทุกเรื่องที่เฮทำเสมอ ท่าที่มันชอบทำคือวิ่งวนไป วนมารอบๆ เฮ พร้อมทั้งกระโดดโลดเต้นไปด้วย และถึงแม้นจะอ้วน แต่ก็เคลื่อนไหวได้เร็ว ฮา มีเสียงแหลมเล็กคล้ายเด็ก และยังมี อารมณ์เด็กอยู่มาก

สนามแข่งขัน[แก้]

สนาม อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก อาคารกีฬานิมิบุตร กรีฑาสถานแห่งชาติ อาคารกีฬาเวสน์ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)
ภาพ
เขต เขตบางกะปิ เขตปทุมวัน เขตดินแดง
ความจุ 6,000 5,600 5,000

ตารางการแข่งขัน[แก้]

 OC  พิธีเปิด  ●   การแข่งขัน   การแข่งขันชิงเหรียญทอง  CC  พิธีปิด
พฤศจิกายน 2548 10th
พฤ
11th
12th
13th
อา
14th
15th
16th
17th
พฤ
18th
19th
Gold
จำนวนเหรียญทอง
Ceremonies OC CC
Aerobic gymnastics 2 2 4
Dancesport 6 6 12
Extreme sports – BMX freestyle 2 1 3
Extreme sports – Inline skate 1 2 3
Extreme sports – Skateboard 1 1 2
Extreme sports – Sport climbing 4 4
Futsal 1 1 2
Hoop takraw 2 2
Indoor athletics 4 9 13 26
Indoor cycling 2 2 1 5
Muay 1 1 2 3 10 17
Short course swimming 8 8 8 8 8 40
Total gold medals 13 26 31 22 16 12 120
พฤศจิกายน 2548 10th
พฤ
11th
12th
13th
อา
14th
15th
16th
17th
พฤ
18th
19th
Gold
จำนวนเหรียญทอง

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน[แก้]

สรุปเหรียญการแข่งขัน[แก้]

      ไทย(เจ้าภาพ)
 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 ธงของประเทศจีน จีน 24 19 14 57
2 ธงของประเทศคาซัคสถาน คาซัคสถาน 23 15 6 44
3  ไทย 19 21 34 74
4 ธงของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ฮ่องกง 12 9 5 26
5 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 7 3 8 18
6 ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 6 7 9 22
7 ธงของสาธารณรัฐจีน ไต้หวัน 6 4 3 13
8 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 6 2 6 14
9 ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 5 7 10 22
10 ธงของมาเก๊า มาเก๊า 3 6 5 14
11 ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน 3 5 2 10
12 ธงของประเทศกาตาร์ กาตาร์ 2 2 2 6
13 ธงของประเทศจอร์แดน จอร์แดน 1 1 4 6
14 ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1 1 2 4
15 ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 1 0 2 3
16 ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 1 0 0 1
17  สิงคโปร์ 0 6 4 10
18 ธงของประเทศลาว ลาว 0 5 2 7
19 ธงของประเทศอิรัก อิรัก 0 3 3 6
20 ธงของประเทศคูเวต คูเวต 0 2 3 5
21 ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม 0 1 1 2
22 ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน 0 1 0 1
22 ธงของประเทศซีเรีย ซีเรีย 0 1 0 1
24 ธงของประเทศคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน 0 0 1 1
24 ธงของประเทศเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 0 0 1 1
24 ธงของประเทศโอมาน โอมาน 0 0 1 1
รวม 120 121 128 369

การตลาด[แก้]

สิทธิการออกอากาศ[แก้]

สำหรับการถ่ายทอดสดการแข่งขันทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11) กรมประชาสัมพันธ์ จะทำการถ่ายทอดสดเป็นเวลา 2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งมีทั้งหมด 6 ชนิดกีฬา และ เสนอเทปสรุปผลการแข่งขันรายวันในเวลา 22.45-23.45 น. ส่วนสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องอื่นๆ จะทำการบันทึกเทปสรุปผลการแข่งขันเพื่อนำเผยแพร่ในภาคข่าวกีฬาของแต่ละช่องทุกวัน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-21. สืบค้นเมื่อ 2018-08-11.