เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอฟ/เอ-18)
เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท
บทบาทเครื่องบินขับไล่หลากบทบาท
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตแมคดอนเนลล์ ดักลาส/โบอิง
นอร์ทธรอป
บินครั้งแรก18 กันยายน พ.ศ. 2521
เริ่มใช้7 มกราคม พ.ศ. 2526
สถานะปลดประจำการ(กองทัพเรือสหรัฐ)
ผู้ใช้งานหลักกองทัพเรือสหรัฐ
กองนาวิกโยธินสหรัฐ
กองทัพอากาศออสเตรเลีย
กองทัพอากาศสเปน
จำนวนที่ผลิตเอฟ/เอ-18เอ-ดี 1,480 ลำ[1]
มูลค่า29-27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2549)[2]
พัฒนามาจากนอร์ทธรอป วายเอฟ-17
แบบอื่นซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ท
เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท

เอฟ-18 ฮอร์เน็ท (อังกฤษ: F-18 Hornet) ของแมคดอนเนลล์ ดักลาส (ปัจจุบันคือโบอิง) เป็นเครื่องบินโจมตีหลากบทบาทหลากสภาพอากาศที่สามารถใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินและถูกออกแบบมาเพื่อการโจมตีทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ มันถูกออกแบบในทศวรรษที่ 1970 ให้กับกองทัพเรือและกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ฮอร์เน็ทยังถูกใช้โดยกองทัพอากาศในหลายประเทศ มันถูกเลือกให้ใช้ทำการแสดงโดยบลูแองเจิลของกองทัพเรือสหรัฐฯ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529 ภารกิจหลักของมันคือเป็นเครื่องบินคุ้มกัน สร้างการป้องกันทางอากาศให้กับกองเรือ การข่มการป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด และการสอดแนม ความหลากประโยชน์และความไว้ใจได้ของมันได้พิสูจน์ความมีค่าพอที่จะใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน แม้ว่ามันถูกวิจารณ์ในความบกพร่องในเรื่องพิสัยและภาระบรรทุกเมื่อเทียบกับเครื่องบินสมัยเดียวกัน[3]

เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือการพัฒนาที่สำคัญของเอฟ/เอ-18 เพื่อทำหน้าที่เติมเต็มบทบาทของฮอร์เน็ทในกองทัพเรือสหรัฐฯ[4]

การพัฒนา[แก้]

ต้นกำเนิด[แก้]

การพัฒนาของเอฟ/เอ-18 นั้นมาจากผลของเครื่องบินขับไล่ในโครงการทดลองของกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยเพื่อจัดหาอากาศยานหลากหลายบทบาทมาแทนที่เอ-4 สกายฮอว์ค เอ-7 คอร์แซร์ 2 เอฟ-4 แฟนทอม 2 และเพื่อเพิ่มองค์ประกอบที่สมบูรณ์ให้กับเอฟ-14 ทอมแคท รองนายพลเรือเคนท์ ลีเป็นผู้นำในการสนับสนุนโครงการทดลองเครื่องบินขับไล่ที่นายทหารเรือมากมายต่อต้าน[5]

วายเอฟ-17 คอบราถูกพัฒนาให้เป็นเอฟ/เอ-18

ในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2516 สภาได้มีคำสั่งว่ากองทัพเรือมองหาทางเลือกที่มีราคาต่ำกว่าเอฟ-14 กรัมแมนเสนอเอฟ-14เอกซ์ที่ดัดแปลงมาจากเอฟ-14 ในขณะที่แมคดอนเนลล์ ดักลาสเสนอเอฟ-15 แต่ทั้งสองก็มีราคาที่แพงเท่ากับเอฟ-14[6] ในฤดูร้อนนั้นเองรัฐมนตรีกลาโหมได้สั่งให้กองทัพเรือประเมินคู่แข่งในโครงการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาของกองทัพอากาศ วายเอฟ-16ของเจเนรัล ไดนามิกส์และวายเอฟ-17ของนอร์ทธรอป[7] การแข่งขันของกองทัพอากาศเน้นไปที่เครื่องบินขับไล่กลางวันที่ไม่มีความสามารถในการจู่โจม ในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2517 คณะกรรมการด้านอาวุธได้ย้ายทุนจำนวน 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากโครงการเดิมไปโครงการใหม่คือเครื่องบินขับไล่ของกองทัพเรือ[7] โดยตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีสูงสุดที่พัฒนามาเพื่อโครงการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบา[6]

การออกแบบใหม่ของวายเอฟ-17[แก้]

ถึงแม้ว่าวายเอฟ-16 จะชนะการแข่งขันดังกล่าว กองทัพเรือก็สงสัยว่าอากาศยานนั้นที่มีเครื่องยนต์เดี่ยวและขนาดแคบน่าจะเหมาะกับการใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินมากกว่าและพวกเขาก็ปฏิเสธเอฟ-16 กองทัพเรือต่อสู้เพื่อและได้คำอนุญาตให้พัฒนาอากาศยานที่มีพื้นฐานมาจากวายเอฟ-17 เนื่องมาจากเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาไม่ได้มีการออกแบบที่เน้นความต้องการเช่นเดียวกับโครงการเดิม ทางกองทัพเรือสอบถามแมคดอนเนลล์ ดักลาสและนอร์ทธรอปเพื่อทำการออกแบบอากาศยานลำใหม่โดยมีพื้นฐานมาจากวายเอฟ-17 อากาศยานลำใหม่มีชื่อว่าเอฟ-18 เลขาธิการกองทัพเรือได้ประกาศในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2520 ว่าชื่อของอากาศยานลำใหม่คือ"ฮอร์เน็ท"[6]

เอฟ/เอ-18 ติดเข้ากับแท่นส่งบนดาดฟ้าเรือของยูเอสเอส อับราฮัม ลินคอร์น

ทั้งนอร์ทธรอปและแมคดอนเนลล์ ดักลาสตกลงที่จะแบ่งการผลิตเท่าๆ กันด้วยการที่แมคดอนเนลล์ ดักลาสเป็นผู้ทำงานขั้นสุดท้าย (20% ของทั้งหมด) แมคดอนเนลล์ ดักลาสสร้างปีก ตัวสมดุล และลำตัวด้านหน้า นอร์ทธรอปสร้างลำตัวส่วนกลางและส่วนท้าย แมคดอนเนลล์เป็นผู้ทำสัญญาหลักของเอฟ-18 สำหรับกองทัพเรือ[7] นอร์ทธรอปจะเป็นผู้ทำสัญญาหลักและทำงานสุดท้ายทั้งหมดในเอฟ-18 สำหรับฐานบินบนบกซึ่งนอร์ทธรอปหวังว่าจะขายรุ่นนี้ในตลาดส่งออก[6]

เอฟ-18 รู้จักในตอนแรกว่าเป็นแมคดอนเนลล์ ดักลาส แบบ 267 ดัดดัดแปลงมาจากวายเอฟ-17 ในขณะที่ยังมีส่วนที่เหมือนเดิมอยู่บ้าง สำหรับการใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินโครงสร้างด้านล่างและตะขอเกี่ยวถูกกทำให้แข็งแกร่งขึ้น ปีกที่พับได้และที่ยึดกับแท่นส่งถูกติดตั้งเข้าไป ล้อก็ถูกขยายด้วยเช่นกัน[8] เพื่อให้ได้ตามความต้องการของกองทัพเรือแมคดอนเนลล์ได้เพิ่มความจุของถังเชื้อเพลิงอีก 2,020 กิโลกรัมและเชื้อเพลิงในปีกอีก 96 แกลลอน ปีกและตัวทำสมดุลถูกขยาย ส่วนโครงด้านหลังกว้างขึ้นอีก 4 นิ้ว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพิ่มน้ำหนักทั้งหมดเป็น 16,800 กิโลกรัม ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมของวายเอฟ-17 ถูกแทนที่ด้วยระบบแบบติจิตอลล้วนๆ[8]

แผนเดิมมีส่วนเกี่ยวข้องกับรุ่นที่คล้ยคลึงมากที่สุดทั้งสิ้น 780 รุ่น เอฟ-18เอและเอ-18เอแบบที่นั่งเดี่ยวทีความแตกต่างในด้านการบิน ทีเอฟ-18เอแบบสองที่นั่งได้เติมเต็มการทำภารกิจเต็มที่ของเอฟ-18 ยกเว้นการลดลงของความจุเชื้อเพลิง ด้วยการออกแบบใหม่และการพัฒนาในด้านการบินและความหลากหลายในการทำงาน มันได้กลายเป็นการผสมของเอ-18เอและเอฟ-18เอเข้าด้วยกัน[6] ในพ.ศ. 2523 อากาศยานเริ่มหมายถึงเอฟ/เอ-18เอและกลายเป็นชื่อทางการในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2527 ทีเอฟ-18เอถูกตั้งชื่อใหม่ว่าเอฟ/เอ-18บี[6]

เอฟ-18แอลของนอร์ทธรอป[แก้]

นอร์ทธรอปได้สร้างเอฟ-18แอลขึ้นเป็นอากาศยานส่งออก เนื่องมาจากการที่มันไม่แข็งแกร่งพอที่จะทำงานบนเรือบรรทุกเครื่องบินมันจึงถูกคาดว่าจะเบากว่าและทำงานดีกว่า[9] และเป็นผู้แข่งขันที่แข็งแกร่งกว่าเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน น้ำหนักทั้งหมดของเอฟ-18แอลคือ 3,493 กิโลกรัมซึ่งเบากว่าเอฟ/เอ-18 เนื่องมาจากอุปกรณ์ในการลงจอดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า การนำปีกแบบพับได้ออก ลดชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักมาก และความจุเชื้อเพลิงที่น้อยลง ถึงแม้ว่าอากาศยานดังกล่าวมีตะขอเกี่ยวที่เบากว่า ความแตกต่างภายนอกที่เห็นได้ชัดคือการนำเอส"สแนคส์" (snags) ที่ปลายปีกออก มันยังคงมีระบบที่คล้ายคลึงกับเอฟ/เอ-18 แม้ว่าจะมีการเสนอให้เปลี่ยนแปลงก็ตาม มันไม่เหมือนกับเอฟ/เอ-18 ตรงที่เอฟ-18แอลนั้นไม่มีเชื้อเพลิงในปีกของมันและมันมีที่ติดตั้งอาวุธสามตำแหน่งใต้ปีกแต่ละข้าง[10]

หุ้นส่วนระหว่างแมคดอนเนลล์ ดักลาสและนอร์ทธรอปขุ่นเคืองในการแข่งขันเพื่อขายรุ่นสำหรับส่งออก นอร์ทธรอปรู้สึกว่าแมคดอนเนลล์ ดักลาสจะนำเอฟ/เอ-18 เข้าลงการแข่งขันกับเอฟ-18แอล ในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2522 นอร์ทธรอปได้ฟ้องแมคดอนเนนล์ในการใช้เทคโนโลยีของนอร์ทธรอปที่ใช้สร้างเอฟ-18แอลซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลง และข้อให้ทำการระงับการส่งออกฮอร์เน็ทของแมคดอนเนลล์ ดักลาส คดีถูกตัดสินในปีพ.ศ. 2528 เมื่อแมคดอนเนลล์ตกลงที่จะจ่ายเงินจำนวน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อบรรลุสิทธิในการออกแบบ โดยปราศการยอมรับการกระทำผิด จากนั้นนอร์ทธรอปได้หยุดการทำงานกับเอฟ-18แอลและการสั่งซื้อส่วนมากก็เป็นเอฟ-16 หรือเอฟ/เอ-18[10]

การออกแบบ[แก้]

ฮอร์เน็ทแสดงการเชิดหัวด้วยความเร็วสูงในงานแสดง มุมโจมตีที่รวดเร็วทำให้เกิดกระแสลมวนที่ทรงพลัง

เอฟ/เอ-18 มีสองเครื่องยนต์ ปีกที่ตรงกลางลำตัว เป็นอากาศยานที่หลากหลายหน้าที่ มันมีการเคลื่อนไหวที่เป็นเลิศซึ่งเป็นผลจากแรงขับของมัน มันมีระบบควบคุมการบินแบบดิจิตอลและมีส่วนที่คล้ายปีกเสริมที่ด้านหน้าของปีกหลัก ส่วนที่คล้ายปีกเสริมนั้นทำให้ฮอร์เน็ทสามารถควบคุมได้ในขณะทำมุมชัน นี่ก็เพราะส่วนดังกล่าวจะสร้างกระแสลมวนที่ทรงพลังเหนือปีก เป็นการสร้างกระแสลมที่รุนแรงเหนือปีกซึ่งทำให้ปีกของฮอร์เน็ทนั้นให้แรงยกตัวได้มากกว่าหลายเท่าของน้ำหนักของเครื่องบิน ดังนั้นฮอร์เน็ทจึงสามารถเลี้ยงแบบหักโค้งได้ในขณะที่ทำความเร็วสูง

ปีกแนวตั้งท้ายเครื่องที่ลาดเอียงเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งในการออกแบบและมันทำให้ฮอร์เน็ทสามารถทำมุมได้มากซึ่งรวมทั้งปีกท้ายแนวนอนที่ใหญ่เกินตัว แฟลบ (ส่วนของปีกที่พับขึ้นลงได้) ขนาดยาว และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมการบินซึ่งเพิ่มการควบคุมการเคลื่อนไหวในระดับต่ำและการขยับหางเสือแทนที่จะเป็นการเคลื่อนที่ซ้ายขวาแบบธรรมดา

ฮอร์เน็ทเป็นหนึ่งในอากาศยานพวกแรกที่ใช้หน้าจอแบบหลากหลายซึ่งเพียงแค่การกดสวิตช์ก็ทำให้นักบินทำหน้าที่ได้ทั้งโจมตีและต่อสู้ ความสามารถนี้ทำให้มันมีความยืดหยุ่นเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว มันเป็นอากาศยานแบบแรกของกองทัพเรือที่ทำงานร่วมกับระบบดิจิตอล[3]

ฮอร์เน็ทยังมีชื่อเสียงด้วยการที่มันถูกออกแบบให้ดูแลรักษาง่ายและส่งผลให้มันใช้เวลาในการดูแลน้อยกว่าเอฟ-14 ทอมแคทและเอ-6 อินทรูเดอร์ มันใช้เวลาเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น[3] ตัวอย่างเช่น ในขณะที่การเปลี่ยนเครื่องยนต์ของเอ-4 สกายฮอว์คต้องนำส่วนหางของเครื่องบินออก แต่เครื่องยนต์ของฮอร์เน็ทนั้นมีจุดเชื่อมเพียงสามแห่งและสามารถนำออกได้โดยไม่ยาก ลูกเรือซ่อมแซมที่มีประสบการณ์จะสามารถเปลี่ยนเครื่องยนต์ของเอฟ/เอ-18 ได้ภายในสองสามชั่วโมง

เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทเดินทางผ่านเสียง

เครื่องยนต์เอฟ404-จีอี-400 หรือเอฟ404-จีอี-402 ของเจเนรัล อิเลคทริคให้กำลังกับฮอร์เน็ทนั้นถูกออกแบบให้เชื่อถือได้และซ่อมแซมได้ง่าย มันมีอัตราการทำงานที่ดี ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ และมันยากที่จะดับหรือติดไฟ เครื่องยนต์แพรทท์แอนด์วิทนีย์ ทีเอฟ30 ที่ให้กำลังกับเอฟ-14 ทอมแคทนั้นชอบดับและไหม้ไฟในสภาพการบินที่ปกติ

ช่องอากาศของเครื่องยนต์ตายตัวเหมือนกับเอฟ-16 ในขณะที่เอฟ-4 เอฟ-15 และเอฟ-15 เป็นรูปทรงเรขาคณิตหรือทางลาด รูปแบบเรขาคณิตทำให้เครื่องบินมีความเร็วสูงจนสามารถทลายกำแพงเสียงได้ ข้อจำกัดทางด้านความเร็วมีในการออกแบบของฮอร์เน็ท เพื่อทดแทนฮอร์เน็ทใช้ช่องระบายอากาศในเครื่องยนต์เพื่อลดจำนวนของอากาศที่จะเข้าไปในเครื่องยนต์ ในขณะที่มันไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับแบบเรขาคณิต ช่องอากาศไหลเวียนนี้ก็มากพอที่จะทำความเร็วได้ถึง 2 มัคซึ่งเป็นความต้องการในการทำภารกิจ

เพราะว่ามันถูกออกแบบให้เป็นอากาศยานหลากหลายบทบาทขนาดเบาเพื่อทดแทนให้กับเครื่องบินพิเศษอย่างเอฟ-14และเอ-6 มันมีการกระจายของเชื้อเพลิงที่น้อยทำให้เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตอนน้ำเครื่องขึ้นประมาณ 23% การกระจายของเชื้อเพลิงอยู่ที่ .23 อากาศยานส่วนใหญ่จะมีการกระจายอยู่ที่ระหว่าง .30 ถึง .35 สิ่งนี้ทำให้เอฟ/เอ-18 มักใช้ถังเชื้อเพลิงขนาด 330 แกลลอน

การเปลี่ยนแปลงแบบ[แก้]

ในปีพ.ศ. 2533 กองทัพเรือสหรัฐฯ เผชิญหน้ากับความต้องการที่จะหาสิ่งมาแทนที่เอ-6 อินทรูเดอร์ อีเอ-6 โพรว์เลอร์ เอ-7 คอร์แซร์ 2 และเอฟ-14 ทอมแคท เพื่อตอบสนองทางกองทัพเรือได้มีการพัฒนาเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท ถึงแม้ว่าจะชื่อคล้ายกันแต่มันก็ไม่ใช่รุ่นพัฒนาจากเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท แต่เป็นโครงสร้างที่ใหม่และใหญ่กว่า ฮอร์เน็ทและซูเปอร์ฮอร์เน็ททำหน้าที่ในคลังแสงของเรือบรรทุกเครื่องบิน จนกระทั่งมีการเปิดตัวของเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 ซึ่งจะเข้ามาแทนที่เอฟ/เอ-18เอ-ดี ฮอร์เน็ท

ประวัติการใช้งาน[แก้]

สหรัฐอเมริกา[แก้]

เข้าประจำการ[แก้]

เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทบนดาดฟ้าเรือของเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส แฮร์รี่ เอส ทรูแมน

แมกดอนเนลล์ ดักลาสได้ผลิตเอฟ/เอ-18เอลำแรกในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2521[11] มันทำการบินครั้งแรกในวันที่ 18 พฤศจิกายน[11]

ในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2522 ร้อยโทจอห์น แพดเจทท์ได้กลายเป็นนักบินกองทัพเรือคนแรกที่บินเอฟ/เอ-18[12] จากนั้นเอฟ/เอ-18เอจำนวน 9 ลำและเอฟ/เอ-18บีจำนวน 2 ลำถูกนำไปพัฒนาระบบการบิน

เอฟ/เอ-18 กำลังขึ้นจากเรือยูเอสเอส คิทตี้ ฮอว์ค

ฮอร์เน็ทเริ่มเข้าประจำการในฝูงบินมากมายรวมทั้งในกองนาวิกโยธินเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2526[11] และในฝูงบินของกองทัพเรือในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2526 เพื่อเข้าแทนที่เอฟ-4 เอ-7อีตามลำดับ[3] รายงานตอนแรกจากกองบินนั้นเป็นที่น่าพอใจ มันระบุว่าฮอร์เน็ทเชื่อถือได้และแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้ามันอย่างมากนั้นก็คือเอฟ-4[13]


ฝูงบินผาดโผนบลู แองเจิลของกองทัพเรือสหรัฐฯ เปลี่ยนมาใช้เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทในปีพ.ศ. 2529[11] เมื่อมันเข้ามาแทนที่เอ-4 สกายฮอว์ค บลู แองเจิลใช้เอฟ/เอ-18เอและบีในงานแสดงและงานอื่นๆ นักบินบลู แองเจิลต้องมีชั่วโมงบิน 1,350 ชั่วโมงและมีใบรับรองจากเรือบรรทุกเครื่องบิน แบบบีที่มีสองที่นั่งใช้เพื่อบุคคลสำคัญหรือทำการแสดงปกติได้หากจำเป็น

เข้าสู้รบ[แก้]

เอฟ/เอ-18 ทำการรบครั้งแรกในเดือนเมษายนพ.ศ. 2529 เมื่อฝูงบินจากเรือยูเอสเอส คอรัล ซีทำภารกิจต่อสู้กับการป้องกันทางอากาศของลิเบียในปฏิบัติการไพรรีไฟร์ (Operation Prairie Fire) และเข้าโจมตีเมืองเบนกาซิของลิเบีย[13]

ในสงครามอ่าวครั้งแรก เอฟ/เอ-18 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ สองลำถูกทำลายและสูญเสียนักบิน[13] ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 ในวันแรกของสงคราม นาวาตรีสกอตต์ สไปเชอร์ถูกยิงตกและถูกแจ้งว่าสูญหาย เอฟ/เอ-18 อีลำที่บินโดยเรือโทโรเบิร์ต ดิวเยอร์ (ถูกแจ้งว่าถูกสังหารแต่ไม่พบศพ) สูญหายในทางเหนือของอ่าวเปอร์เซียหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในอิรัก

นักบินเอฟ/เอ-18 ได้ชื่อจากการสังหารสองครั้งในช่วงสงครามอ่าว ทั้งสองครั้งเป็นเครื่องมิก-21[14] ในวันแรกของสงครามนักบินจากกองทัพเรือสหรัฐฯ เรือโทนิก มอนกิลโลและนาวาตรีมาร์ค ฟ็อกซ์ถุกส่งออกจากเรือ|ยูเอสเอส ซาราโตกาในทะเลแดงเพื่อเข้าทิ้งระเบิดสนามบินในทางใต้ของอิรัก ในขณะเดินทางพวกเขาพบว่ามิก-21 กำลังเข้ามาทางพวกเขา ฮอร์เน็ทยิงมิกสองลำตกและกลับเข้าสู่การทิ้งระเบิดก่อนกลับสู่เรือซาราโตกา[11][3] ความสามารถในการอยู่รอดของฮอร์เน็ทถูกทดสอบเมื่อฮอร์เน็ทถูกยิงใส่เครื่องยนต์ทั้งสองและบินเป็นระยะทาง 201 กิโลเมตรกลับฐาน มันถูกซ่อมแซมและบินได้อีกครั้งภายในไม่กี่วัน ตลอดสงครามอ่าวเอฟ/เอ-18 ทำการบิน 4,551 ครั้งโดยมี 10 ลำที่ได้รับความเสียหายและรวมทั้งสองลำที่ถูกยิงตก[15]

เมื่อเอ-6 อินทรูเดอร์ถูกปลดประจำการในปีพ.ศ. 2534 บทบาทของมันถูกแทนที่ด้วยเอฟ/เอ-18 มันได้แสดงความหลากประโยชน์และความช่าเชื่อถือของมันในปฏิบัติการดีเซิร์มสตอร์มด้วยการยิงเครื่องบินรบของข้าศึกตกและตามาด้วยการทิ้งระเบิดใส่ศัตรูด้วยเครื่องบินลำเดิม มันได้ทำลายสถิติของอากาศยานในเรื่องการใช้ประโยชน์ ความน่าเชื่อถือ และการดูแลรักษา

ทั้งเอฟ/เอ-18เอ/ซีของกองทัพเรือและเอฟ/เอ-18เอ/ซี/ดีของนาวิกโยธินถูกใช้งานต่อในปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอชท์และเหนือบอสเนียและคอซอวอในปีพ.ศ. 2533 ฮอร์เน็ตของกองทัพเรือสหรัฐฯ ทำการบินในปฏิบัติการเอ็นดัวริงฟรีดอม ทั้งเอฟ/เอ-18เอ/ซี และเอฟ/เอ-18อี/เอฟที่ใหม่กว่าถูกใช้ในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก เอฟ/เอ-18ซีหนึ่งลำตกเพราะยิงกันเองโดยขีปนาวุธเอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียตและอีกสองลำชนกันเหนืออิรักเมื่อปีพ.ศ. 2548 ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2550 เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทสองลำของกองทัพเรือชนกันกลางอากาศและตกลงในอ่าวเปอร์เซีย[16]

เข้าประจำการนอกสหรัฐฯ[แก้]

ถึงแม้ว่าอากาศยานของกองทัพเรือนั้นจะขายไม่ดีนักในการส่งออก แต่เอฟ/เอ-18 ก็ถูกซื้อและเข้าประจำการในหลายๆ ประเทศ ฮอร์เน็ทรุ่นส่งออกนั้นจะคล้ายคลึงกับแบบของสหรัฐฯ เนื่องมาจากว่าไม่มีลูกค้ารายใดที่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน แบบที่ส่งออกนั้นจึงไม่มีระบบลงจอดสำหรับภารกิจดังกล่าวและทางกองทัพอากาศออสเตรเลียก็นำส่วนยึดกับแท่นส่งออก[13] ยกเว้นของแคนาดา ลูกค้าทุกรายซื้อฮอร์เน็ทผ่านทางกองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนผู้จัดการการขายแต่ก็ต้องประสบกับการขาดทุน แคนาดาได้สั่งซื้อโดยตรงจากบริษัทผู้ผลิต

ออสเตรเลีย[แก้]

กองทัพอากาศออสเตรเลียได้ซื้อเอฟ/เอ-18เอจำนวน 57 ลำและเอฟ/เอ-18บีสองที่นั่งสำหรับการฝึกจำนวน 18 ลำ โดยมีในประจำการทั้งหมด 71 ลำและสูญเสียไป 4 ลำ[17] เอฟ/เอ-18 ลำแรกถูกส่งให้กับกองทัพอากาศในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2527[11] ทางกองบินคาดหวังว่าจะถูกปลดประจำการในพ.ศ. 2558 และถูกแทนที่ด้วยเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2[18][19]

มีสามทางเลือกที่ถูกพิจารณาในการแทนที่เครื่องมิราจ 3 ของกองทัพอากาศออสเตรเลีย ทางเลือกได้แก่เอฟ-15 อีเกิล เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน และเอฟ/เอ-18 แบบใหม่ เอฟ-15 ถูกมองข้ามเพราะรุ่นที่ถูกนำเสนอนั้นไม่สามารถทำการโจมตีทางพื้นดินได้ เอฟ-16 ถูกมองว่าไม่เหมาะเพราะมีเครื่องยนต์เดียว ผลที่ตามมาก็คือออสเตรเลียทำสัญญาในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2524 เครื่องบินสองลำแรกถูกผลิตขึ้นในสหรัฐฯ ส่วนที่เหลือนำไปประกอบในออสเตรเลีย การส่งเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2528 และเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2533 ความแตกต่างระหว่างของออสเตรเลียกับของสหรัฐฯ คือ

  • การนำส่วนที่ใช้ยึดกับแท่นส่งบนเรือบรรทุกเครื่องบินออก
  • เพิ่มความถี่วิทยุ
  • ระบบประเมินข้อมูลที่ด้อยกว่าของออสเตรเลีย
  • เครื่องบันทึกวิดีโอและเสียงที่พัฒนา
  • ที่นั่งที่แตกต่าง
  • ใช้ระบบลงจอดธรรมดาแทนระบบลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน[20]

ในพ.ศ. 2544 ออสเตรเลียวางกำลังเครื่องบินสี่ลำที่ฐานทัพอากาศไดโก การ์เซียเพื่อทำหน้าที่ป้องกันในปฏิบัติการร่วมกับรัฐบาลร่วมที่ต้องการจัดการกับกลุ่มตาลิบันในอัฟกานิสถาน ในปีพ.ศ. 2546 ฝูงบินหมายเลข 75 ใช้เอฟ/เอ-18 จำนวน 14 ลำในกาตาใน่สวนหนึ่งของปฏิบัติการฟอลโคเนอร์และเครื่องบินเหล่านี้ได้ทำหน้าที่ในตอนที่บุกอิรัก[21]

แคนาดา[แก้]

ซีเอฟ-18เอ ฮอร์เน็ทของแคนาดานอกชายฝั่งฮาวาย การทำลายห้องนักบินที่ส่วนท้องนั้นก็เพื่อหลอกนักบินศัตรูในตอนที่ต่อสู้กัน

แคนาดาเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกของฮอร์เน็ทเพื่อเข้าแทนที่ซีเอฟ-104 ซีเอฟ-101 วูดู และซีเอฟ-116 ฟรีดอม แคนาดาได้สั่งซื้อรุ่นเอจำนวน 98 ลำและรุ่นบีจำนวน 40 ลำ

ในปีพ.ศ. 2534 แคนาดานำซีเอฟ-18 จำนวน 26 เครื่องเข้าร่วมสงครามอ่าวโดยตั้งฐานอยู่ที่กาตา ในเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2542 ซีเอฟ-18 จำนวน 18 ลำเข้าสู่ฐานทัพอากาศที่เอเวียโน่ประเทศอิตาลีและพวกมันได้ทำหน้าที่ทั้งอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นในยูโกสลาเวีย

เครื่องบินเผชิญกับโครงการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่นานขึ้นถึงปีพ.ศ. 2563[13] เป็นการพัฒนาเอฟ-18เอและเอฟ-18บีให้กลายเป็นเอฟ/เอ-18ซีและดี ซีเอฟ-18 มีจำนวนทั้งสิ้น 80 ลำ ประกอบด้วยแบบที่นั่งเดียว 62 ลำและสองที่นั่ง 18 ลำที่ถูกเลือกเข้าโครงการพัฒนา เมื่อถึงปีพ.ศ. 2546 แคนาดามีทั้งหมด 123 ลำในประจำการและสูญเสียไป 15 ลำ[22]


ฟินแลนด์[แก้]

กองทัพอากาศฟินแลนด์ได้วั่งซื้อเอฟ-18ซี/ดีจำนวน 64 ลำ การส่งเริ่มในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ฮอร์เน็ทได้เข้ามาแทนที่มิก-21และซาอับ 35 ดราเคน เครื่องบินลำหนึ่งถูกทำลายในการชนกลางอากาศในปีพ.ศ. 2544[11] เอฟ-18ซีอีกลำที่ได้รับความเสียหายถูกสร้างขึ้นใหม่เป็นเอฟ-18ดี

เอฟ-18ซีของฟินแลนด์ยังมีระบบป้องกันการรบกวนที่เรียกว่าเอเอสพีเจ (Airborne-Self-Protection-Jammer) กองทัพเรือสหรัฐฯ ต่อมาได้ติดตั้งระบบดังกล่าวที่เรียกว่าเอแอลคิว-165 ในเครื่องซูเปอร์ฮอร์เน็ต ฮอร์เน็ทของฟินแลนด์ถูกใช้เพื่อป้องกันเท่านั้น

ฟินแลนด์ได้ปรับเปลี่ยนระบบมากมายของเอฟ-18 มีทั้งหมวกแบบเอชเอ็มเอส (helmet mounted sights) หน้าจอแสดงแบบใหม่ และเซ็นเซอร์ ฮอร์เน็ท 63 ลำใช้อาวุธโจมตีภาคพื้นดินอย่างเอจีเอ็ม-154ซี เจซอว์ การพัฒนายังรวมทั้งการใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-9 เอกซ์ ไซด์ไวน์เดอร์และเอไอเอ็ม-120ซี-7 แอมแรม การพัฒนานี้มีมูลค่าประมาณ 1-1.6 พันล้านยูโรและวางแผนงานว่าจะเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2558 หลังจากพัฒนาเครื่องบินจะอยู่ประจำการจนถึงปี 2568[23][24]

คูเวต[แก้]

กองทัพอากาศคูเวตมีเอฟ/เอ-18ซีและเอฟ/เอ-18ดีจำนวน 39 ลำในปีพ.ศ. 2551[25] อากาศยานเหล่านี้ถูกสั่งซื้อล่วงหน้าก่อนการเข้าบุกอิรักในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2533 การส่งเริ่มขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2534[11] เอฟ/เอ-18ซี/ดีถูกแทนที่ด้วยเอ-4เคยู สกายฮอว์ค

มาเลเซีย[แก้]

กองทัพอากาศมาเลเซียมีเอฟ/เอ-18ดีจำนวน 9 ลำ[26] กองทัพอากาศแบ่งการสั่งซื้อระหว่างเอฟ/เอ-18 และมิโคยัน มิก-29[27]

สเปน[แก้]

เอฟ-18 ของสเปน

กองทัพอากาศสเปนได้สั่งซื้ออีเอฟ-18เอจำนวน 60 ลำและอีเอฟ-18บีจำนวน 12 ลำ ("E"ย่อมาจากคำว่า"España"ที่แปลว่าของสเปน) ต่อมาชื่อได้ถูกเปลี่ยนเป็นซี.15 และซีอี.15 โดยกองทัพอากาศสเปน[22] การส่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528[11] ปัจจุบันเครื่องบินทั้งหมดถูกพัฒนาเป็นเอฟ-18เอ+/บี+ ใกล้เคียงกับเอฟ/เอ-18ซี/ดี

ในพ.ศ. 2548 สเปนได้รับเอฟ/เอ-18เอจำนวน 24 ลำที่เคยเป็นของกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยมีทางเลือกเพิ่มอีกหก หกลำแรกถูกส่งในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2548 ก่อนหน้าการส่งพวกมันถูกดัดแปลงด้วยเครื่องยนต์เอฟ404 และการดัดแปลงที่ทางสเปนเป็นผู้เรียกร้อง พวกมันเป็นส่วนเกินส่วนแรกของกองทัพเรือสหรัฐฯ

ฮอร์เน็ทของสเปนทำงานในทุกภาพอากาศและทั้งกลางวันกลางคืน ในสงครามในแต่ละฝูงบินที่แนวหน้าจะมีบทบาทหลักของตนเอง การเติมเชื้อเพลิงจะทำหน้าที่โดยเคซี-130เอชและโบอิง 707ทีที

สวิตเซอร์แลนด์[แก้]

กองทัพอากาศสวิตเซอร์แลนด์ได้ซื้อแบบซี 26 ลำและแบบดี 8 ลำ แบบดีลำหนึ่งสูญเสียในการตก[22] การส่งเริ่มขึ้นในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2539[11]

ในท้ายปีพ.ศ. 2550 สวิตเซอร์แลนด์ได้ขอโครงการพัฒนาเอฟ/เอ-18ซี/ดี เพื่อขยายระยะการใช้งานของเอฟ/เอ-18ซี/ดี ในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2551 กองบินฮอร์เน็ทของสวิตมีเที่ยวบิน 50,000 เที่ยวบิน[28]

ประเทศที่อาจใช้งาน[แก้]

เอฟ/เอ-18ซีและเอฟ/เอ-18ดีถูกพิจารณาโดยกองทัพเรือฝรั่งเศสในช่วงปีพ.ศ. 2523 สำหรับการนำไปใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน[29] และอีกครั้งในปีพ.ศ. 2533 สำหรับใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์[30]

ออสเตรเลีย[31] ชิลี[13] สาธารณรัฐเชค[31] ฮังการี,[31] ฟิลิปปินส์[31] โปแลนด์[31] และสิงคโปร์[13] ประเมินฮอร์เน็ทแต่ก็ไม่ได้ซื้อมัน ไทยได้สั่งซื้อฮอร์เน็ทแบบซีและดีแต่ด้วยปัญหาการเงินของเอเชียในปลายพ.ศ. 2533 ทำให้การสั่งซื้อถูกยกเลิก[13]

เอฟ-18แอลสำหรับกรีซก็ไม่ได้ถูกผลิตในปีพ.ศ. 2523 และถูกเลือกโดยกองทัพอากาศกรีซ แต่ทางรัฐบาลของกรีซก็เลือกเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนและมิราจ 2000 แทน[32]

แบบต่าง ๆ[แก้]

เอ/บี[แก้]

เอฟ/เอ-18เอเป็นแบบที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18บีนั้นเป็นแบบที่สองที่นั่ง พื้นที่สำหรับห้องนักบินที่มีสองที่นั่งได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งของอุปกรณ์และลดเชื้อเพลิงภายในลงไป 6% ฮอร์เน็ทสองที่นั่งมีความสามารถในการต่อสู้ที่เหมือนเดิม แบบบีนั้นใช้สำหรับการฝึกเป็นหลัก

ซี/ดี[แก้]

เอฟ/เอ-18ซีเป็นแบบที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18ดีเป็นแบบสองที่นั่ง แบบดีสามารถนำไปใช้ฝึกหรือเป็นเครื่องบินโจมตีในทุกสภาพอากาศ แบบดีที่มีสองที่นั่งมีที่นั่งสำหรับนักบินผู้ช่วยที่จะควบคุมระบบอาวุธต่างๆ แบบดีนั้นใช้โดยนาวิกโยธินสหรัฐฯ สำหรับการโจมตีในตอนกลางคืน[33][34]

เอฟ/เอ-18ซีและดีเป็นผลจากการพัฒนาในปีพ.ศ. 2530[11] ที่รวมทั้งการพัฒนาเรดาร์ ระบบการบิน และความสามารถในการบรรทุกขีปนาธแบบใหม่อย่างเอไอเอ็ม-120 แอมแรมและเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก[3] และเอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน การพัฒนายังรวมทั้งรบบดีดตัวของมาร์ตินเบเกอร์และเครื่องป้องกันคลื่นรบกวน เรดาร์ภาคพื้นดินทำให้นักบินสามารถหาเป้าหมายในสภาพที่ยากลำบากได้

นอกจากนี้ แบบดี 60 ลำถูกทำให้มีความสามารถโจมตีตอนกลางคืน[33] สิ่งเหล่านี้ก็คือเซ็นเซอร์แบบเอทาร์ส (ATARS) ในตำแหน่งเดียวกับปืน[35]

ด้วยการเริ่มในปีพ.ศ. 2535 เครื่องยนต์ที่เพิ่มสมรรถนะแบบเอฟ404-จีอี-402 ทำให้มันมีแรงขับคงที่สูงสุดเพิ่มขึ้นอีก 10% จากเครื่องยนต์ปกติของฮอร์เน็ท[36] ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536 เลเซอร์หาระยะแบบเอเอเอส-38เอ ไนท์ฮอว์คได้ถูกเพิ่มเข้าไปทำให้มันสามารถหาเป้าเองได้ เลเซอร์ดังกล่าวทำให้ฮอร์เน็ทมีความสามารถในการโจมตีเป้าหมายที่มีเลเซอร์จากอากาศยานลำอื่นเป็นผู้ชี้เป้า[37]

การสร้างเอฟ/เอ-18ซีสิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2542 ในปีพ.ศ. 2543 เอฟ/เอ-18ดีลำสุดท้ายถูกส่งให้กับนาวิกโยธินสหรัฐฯ[11]

อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท[แก้]

ยูเอสเอส แฮร์รี่ เอส ทรูแมน (ซีวีเอ็น-75)

เอฟ/เอ-18อีแบบที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทแบบสองที่นั่งได้ใช้ชื่อและการออกแบบจากเอฟ/เอ-18 แต่โดยรวมแล้วก็ถูกออกแบบใหม่ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีโครงสร้างใหม่ 25% ส่วนหน้าของเครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้น เครื่องยนต์จีอี เอฟ414 ที่ทรงพลังกว่า และระบบการบินที่ยอดเยี่ยม อากาศยานในปัจจุบันกำลังอยู่ในการผลิตและจะถูกส่งมอบให้กับ 22 ฝูงบิน อีเอ-18จี โกรว์เลอร์เป็นเอฟ/เอ-18เอฟสองที่นั่งสำหรับสงครามอิเล็คทรอนิคซึ่งมันจะมาแทนที่อีเอ-6 โพรว์เลอร์เอ-6บี โพรว์เลอร์ของกองทัพเรือ

แบบอื่นๆ ของสหรัฐฯ[แก้]

เอฟ-18 (อาร์)
รุ่นนี้เป็นรุ่นเสนอสำหรับการสอดแนม มันมีทั้งเซ็นเซอร์ที่เข้ามาแทนปืนขนาด 20 ม.ม. ต้นแบบสองลำแรกทำการบินในเดือนสิงหาคมพ.ษ. 2527 อย่างไรก็ตามแบบดังกล่าวก็ไม่ถูกผลิต[35]
อาร์เอฟ-18ดี
รุ่นนี้เป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับสอดแนมที่ถูกเสนอให้กับกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในช่วงกลางถึงปลายปีพ.ศ. 2523 มันมีเรดาร์พิเศษ ระบบถูกยกเลิกหลังจากขาดงบประมาณในปีพ.ศ. 2531 ความสามารถนี้ถูกนำไปใช้กับเอฟ/เอ-18ดี (อาร์ซี) ในเวลาต่อมา[35]
ทีเอฟ-18เอ
รุ่นของเอฟ/เอ-18เอแบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเอฟ/เอ-18บี[6]
เอฟ-18 เอชเออาร์วี
เป็นเครื่องบินที่นั่งเดียวสำหรับนาซ่า[38]

แบบสำหรับส่งออก[แก้]

เอฟ-18แอล
รุ่นนี้เป็นเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทขนาดเบาที่ตั้งฐานบินบนบก มันถูกออกแบบเป็นเครื่องบินรบชั้นยอดแบบที่นั่งเดียวและอากาศยานโจมตีภาคพื้นดิน เดิมทีมันถูกประกอบโดยนอร์ทธรอปให้เป็นรุ่นส่งออกของเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท เอฟ-18แอล มีขนาดเบากว่าเนื่องมาจากการนำเอาอุปกรณ์การลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินออก ถึงกระนั้นลูกค้าก็เลือกที่จะซื้อฮอร์เน็ทแบบธรรมดามากกว่าและเอฟ-18แอลก็ไม่เคยเข้าสู่การผลิต[13]
(เอ) เอฟ/เอ-18เอ/บี
  • (เอ) เอฟ/เอ-18เอ: เป็นรุ่นหนึ่งที่นั่งที่สร้างให้กับกองทัพอากาศออสเตรเลีย
  • (เอ) เอฟ/เอ-18บี: เป็นรุ่นฝึกที่มีสองที่นั่งที่สร้างให้กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ
"เอฟ/เอ-18เอ" เป็นรุ่นดั้งเดิมของบริษัท มันถูกประกอบขึ้นในออสเตรเลียโดยบริษัทแอโรสเปซเทคโนโลยีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 จนถึงพ.ศ. 2533 ด้วยอุปกรณ์ที่ผลิตโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาส ความแตกต่างระหว่าง (เอ) เอฟ/เอ-18เอ/บีและเอฟ/เอ-18เอ/บีของสหรัฐฯ ก็คือของออสเตรเลียนั้นไม่มีที่ยึดกับเครื่องส่งบนเรือบรรทุกเครื่องบิน มันถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์สำหรับภาคพื้นดินแทน ฮอร์เน็ทของออสเตรเลียได้เข้าโครงการพัฒนามากมาย โครงการนี้เรียกว่า ฮัค (Hornet Upgrade) โครงการนี้ครั้งแรกได้พัฒนาเอฟ/เอ-81ซีของออสเตรเลีย โครงการพัฒนาครั้งที่สองและปัจจุบันได้พัฒนาระบบการบินของทั้งกองบิน
ซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ท
  • ซีเอฟ-18เอ : เป็นรุ่นหนึ่งที่นั่งที่ผลิตให้กับกองทัพอากาศของแคนาดา กองทัพของแคนาดาเรียกมันว่าซีเอฟ-188เอ ฮอร์เน็ท
  • ซีเอฟ-18บี : เป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับการต่อสู้และการฝึกที่สร้างให้กับกองทัพแคนาดา ทางการกองทัพแคนาดาเรียกมันว่าซีเอฟ-188บี ฮอร์เน็ท
เอฟ/เอ-18ซีของกองทัพอากาศสวิซกำลังนำเครื่องขึ้น
อีเอฟ-18 ฮอร์เน็ท
  • อีเอฟ-18เอ: เป็นรุ่นหนึ่งที่นั่งของกองทัพอากาศสเปน ทางกองทัพอากาศสเปนเรียกมันว่าซี.15
  • อีเอฟ-18บี: เป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับการฝึกของกองทัพอากาศสเปน กองทัพอากาศสเปนเรียกมันว่าซีอี.15
เคเอเอฟ-18 ฮอร์เน็ท
  • เคเอเอฟ-18ซี: เป็นรุ่นหนึ่งที่นั่งของกองทัพอากาศคูเวต
  • เคเอเอฟ-18ดี: เป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับการฝึกของกองทัพอากาศคูเวต
เอฟ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท
  • กองทัพอากาศฟินแลนด์ใช้เอฟ/เอ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท ฮอร์เน็ทแบบดีสองลำแรกถูกผลิตโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาส[39] เอฟ-18ซีแบบที่นั่งเดียว 57 ลำถูกประกอบโดยบริทพาเทียในฟินแลนด์[40]
เอฟ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท
  • สวิตเซอร์แลนด์ใช้เอฟ-18ซี/ดี[41] เอฟ-18 ของสวิซเดิมที่ไม่มีความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดินจนกระทั่งมีการเพิ่มฮาร์ดแวร์ใหม่เข้าไป


ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]

สีน้ำเงินแสดงประเทศผู้ใช้เอฟ/เอ-18
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
  • กองทัพอากาศออสเตรเลียมีเอฟ/เอ-18เอจำนวน 55 ลำและเอฟ/เอ-18บีจำนวน 16 ลำในปีพ.ศ. 2551[42]
ธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์
  • กองทัพอากาศฟินแลนด์มีเอฟ-18ซีจำนวน 55 ลำและเอฟ-18ดีจำนวน 7 ลำอยู่ในประจำการเมื่อพ.ศ. 2551[42]
ธงของประเทศคูเวต คูเวต
  • กองทัพอากาศคูเวตมีเอฟ/เอ-18ซีจำนวน 28 ลำและเอฟ/เอ-18ดีจำนวน 7 ลำในประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2551[42]
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
  • กองทัพอากาศมาเลเซียมีเอฟ/เอ-18ดีจำนวน 8 ลำในประจำการเมื่อพ.ศ. 2551[42]
ธงของประเทศสเปน สเปน
  • กองทัพอากาศสเปน
ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
  • กองทัพอากาศสวิซมีเอฟ/เอ-18ซีจำนวน 26 ลำและเอฟ/เอ-18ดีจำนวน 7 ลำในประจำการเมื่อพ.ศ. 2551[42]
 สหรัฐ
  • กองทัพเรือสหรัฐฯ มีเอฟ/เอ-18เอ/บี/ซี/ดีจำนวน 409 ลำในประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2551-2562[42]
  • กองนาวิกโยธินสหรัฐฯ มีเอฟ/เอ-18เอ/บี/ซี/ดีจำนวน 238 ลำในประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2551[42]
  • นาซ่า

รายละเอียด เอฟ-18 ฮอร์เน็ท[แก้]

  • ผู้สร้าง: บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส และ นอร์ธรอป ปัจจุบันอยู่ในการผลิตของโบอิง (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท: เจ๊ตขับไล่ครองความเป็นจ้าวอากาศ ที่นั่งเดียว ประจำเรือบรรทุกอากาศยาน
  • เครื่องยนต์: เทอร์โบแฟน เยเนอรัล อีเล็คตริค เอฟ 404-จีอี-402 ให้แรงขับเครื่องละ 11,000 ปอนด์ และ 17,750 ปอนด์ เมื่อสันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก: 11.43 เมตร
  • ความยาว : 17.1 เมตร
  • ความสูง : 4.7 เมตร
  • พื้นที่ปีก : 37.16 ตารางเมตร
  • ความเร็วสูงสุด: 1.8 มัค ที่ระยะสูง 40,000 ฟุต
  • รัศมีทำการรบ: 770 กิโลเมตร
  • เพดานบินรบ: 50,000 ฟุต
  • พิสัยบิน:กว่า 2,017 กิโลเมตร
  • น้ำหนักรวมปกติ: 15,230 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 19,960 กิโลกรัม
  • อาวุธ :ปืนใหญ่อากาศ เอ็ม 61 ขนาด 20 มม. 6 ลำกล้อง 1 กระบอก พรัอมกระสุน 540 นัด

[43]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jenkins 2000, pp. 186–187.
  2. "F/A-18 Hornet strike fighter." เก็บถาวร 2014-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน U.S. Navy. Retrieved: 12 December 2008.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "F/A-18 Hornet". Federation of American Scientists. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
  4. "F/A18-E/F Super Hornet ...Leading Naval Aviation into the 21st Century." เก็บถาวร 2020-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน U.S. Navy, 28 February 2006. Retrieved: 4 July 2008.
  5. Kelly, Orr. Hornet: the Inside Story of the F/A-18. Novato, California: Presido Press, 1990. ISBN 0-89141-344-8.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 Jenkins 2000, pp. 19-21.
  7. 7.0 7.1 7.2 "F/A-18 Hornet and F/A-18 Super Hornet". U.S. Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-17. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
  8. 8.0 8.1 Jenkins 2000, pp. 22-26.
  9. "Northrop F-18L". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.
  10. 10.0 10.1 Jenkins 2000, pp. 26-29.
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 11.11 F/A-18 Hornet Milestones เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Boeing, accessed 2007-03-17.
  12. Jenkins 2000, p. 29.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 13.7 13.8 Jenkins 2000.
  14. Miller, David. The Illustrated Directory of Modern Weapons. St. Paul, Minnesota: MBI Publishing Company, 2002. ISBN 0-7603-1346-6.
  15. Jenkins 2000, p. 72.
  16. [1]
  17. Crick, Darren. "ADF Aircraft Serial Numbers RAAF A21 McDonnell Douglas F/A-18A/B Hornet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-18. สืบค้นเมื่อ 31 December 2006.
  18. Nelson, Brendan (2007-02-01). "Joint Strike Fighter". Media Release. Defence Ministers & Parliamentary secretary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-30. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
  19. Nelson, Brendan (2007-03-06). "$6 Billion to maintain Australia's regional air superiority". Media Release. Defence Ministers & Parliamentary secretary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
  21. Holmes, Tony (2006). "RAAF Hornets at War". Australian Aviation. Canberra: Phantom Media (January/February 2006/No. 224): 38. ISSN 0813-0876.
  22. 22.0 22.1 22.2 Senior, Tim. F/A-18 Hornet, The AirForces Monthly book of, AirForces Monthly, 2003. ISBN 0-946219-69-9.
  23. "Helsingin Sanomat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-13. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
  24. Helsingin Sanomat
  25. Kuwait Air Force เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, milaviapress.com.
  26. "Boeing Delivers Malaysian Hornets on Schedule". Boeing. 1997-09-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
  27. http://www.faqs.org/abstracts/Business-international/Mix-and-match-Russia-and-US-split-order-for-combat-aircraft.html
  28. "Swiss Hornets reach 50,000 flight hours milestone". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
  29. Tillman Barrett MiG Master: Story of the F-8 Crusader (second edition). Annapolis, Maryland: Naval Institute Press, 1990. ISBN 0-87021-585-X.
  30. Donald, David. Carrier Aviation Air Power Directory. London: AIRtime Publishing Inc, 2001, p. 122. ISBN 1-880588-43-9.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 "Philippine Pilots Complete F/A-18 HORNET Flight Evaluation", McDonnell Douglas, 11 December 1996.
  32. "F/A-18 E/F FOR GREECE? - Key Publishing Ltd Aviation Forums". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
  33. 33.0 33.1 Jenkins 2000, pp. 64-66.
  34. fa18hornet wiki
  35. 35.0 35.1 35.2 Jenkins 2000, pp. 66-70.
  36. Donald, David. "Boeing F/A-18 Hornet". Warplanes of the Fleet. AIRtime Publishing Inc, 2004. ISBN 1-880588-81-1.
  37. Jenkins 2000, pp. 61-62, 156.
  38. Jenkins 2000, pp. 49-52.
  39. Jenkins 2000, pp. 100-101.
  40. Karivalo, Perttu: Tomcat vs. Hornet: An Air Forces Monthly Special, p. 68. Key Publishing Ltd, 2003.
  41. Nicholls, Mark: Tomcat vs. Hornet: An Air Forces Monthly Special, p. 78. Key Publishing Ltd, 2003.
  42. 42.0 42.1 42.2 42.3 42.4 42.5 42.6 "Directory: World Air Forces", Flight International, 11-17 November 2008.
  43. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522