เอกสารเว็บ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอกสารเว็บ เป็นเอกสารในมโนทัศน์ที่คล้ายกับเว็บเพจ แต่ก็ยังสอดคล้องกับนิยามที่กว้างขึ้นของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) ดังต่อไปนี้

"... เอกสารเว็บทุกชุดมียูอาร์ไอของมันเอง สังเกตว่าเอกสารเว็บไม่ใช่สิ่งเดียวกับแฟ้มข้อมูล: เอกสารเว็บชุดเดียวสามารถมีได้ในหลายรูปแบบและในภาษาต่าง ๆ ส่วนแฟ้มข้อมูลแฟ้มเดียว ตัวอย่างเช่นสคริปต์พีเอชพี อาจมีหน้าที่สร้างเอกสารเว็บจำนวนมากที่มียูอาร์ไอแตกต่างกัน เอกสารเว็บถูกจำกัดความว่าเป็นบางสิ่งที่มียูอาร์ไอ และสามารถให้ผลเป็นการแทนต่าง ๆ (ซึ่งตอบสนองเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างเช่นเอชทีเอ็มแอล เจเพ็ก หรืออาร์ดีเอฟ) ของทรัพยากรที่ระบุในการตอบสนองไปยังการร้องขอของเอชทีทีพี ในวรรณกรรมเชิงเทคนิค ... ศัพท์ ทรัพยากรสารสนเทศ (information resource) ถูกใช้แทนคำว่าเอกสารเว็บ" [1]

ศัพท์ "เอกสารเว็บ" ถูกใช้เป็นศัพท์ที่มีความหมายคลุมเครือในแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง [2][3][4][5][6] แต่นิยามของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียมด้านบนสามารถใช้อธิบายได้ทั้งหมด การวิจัยในสาขา "การค้นคืนเอกสารเว็บ" (web document retrieval) และ "การวิเคราะห์เอกสารเว็บ" (web document analysis) เมื่อไม่นานมานี้ [7][8][9][10][11][12] ได้รื้อฟื้นความสนใจเรื่องการทำความเข้าใจวิธีใช้ศัพท์ให้ถูกต้อง

ความคิดหลักก็คือ ทรัพยากรเบื้องหลังทรัพยากรเดียวในระบบเอชทีทีพี อาจมีการแทนหลายชนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถเปิดเผยได้โดยกลไกบางอย่างอาทิ การเจรจาเนื้อหา (content negotiation)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Cool URIs for the Semantic Web". W3C. 2008.
  2. "W3C Recommended list of XML-Web documents".
  3. G. Penn, J. Hu, H. Luo, R. McDonald (2001). Flexible Web Document Analysis for Delivery to Narrow-Bandwidth Devices. pp. 1074–1078. doi:10.1109/ICDAR.2001.953951. ISBN 0-7695-1263-1.{{cite conference}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. L. Xiao, X. Zhang, and Z. Xu (2002). On reliable and scalable peer-to-peer Web document sharing. pp. 23–30. doi:10.1109/IPDPS.2002.1015498. ISBN 0-7695-1573-8.{{cite conference}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. US 5802530, Van Hoff, Arthur A., "Web document based graphical user interface" 
  6. First International Workshop on Web Document Analysis. WDA2001.
  7. B. Poblete and R. Baeza-Yates (2008). Query-sets: using implicit feedback and query patterns to organize web documents. pp. 41–50. doi:10.1145/1367497.1367504. ISBN 978-1-60558-085-2.{{cite conference}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. A. Fujii (2008). Modeling anchor text and classifying queries to enhance web document retrieval. pp. 337–346. doi:10.1145/1367497.1367544. ISBN 978-1-60558-085-2.{{cite conference}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Apostolos Antonacopoulos (2003). Web Document Analysis: Challenges and Opportunities. World Scientific. ISBN 981-238-582-7.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Web Document Analysis 2005. WDA2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 2013-07-31.
  11. Kang, In-Ho; Kim, GilChang (2003). Query type classification for web document retrieval. pp. 64–71. doi:10.1145/860435.860449. ISBN 1-58113-646-3.{{cite conference}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. O. Zamir and O. Etzioni (1998). Web document clustering: a feasibility demonstration. pp. 46–54. doi:10.1145/290941.290956. ISBN 1-58113-015-5.{{cite conference}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]