เหตุเหยียบกันเสียชีวิตในพนมเปญ

พิกัด: 11°33′22″N 104°56′22″E / 11.556011°N 104.939497°E / 11.556011; 104.939497
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุเหยียบกันเสียชีวิตในพนมเปญ
พระสงฆ์สวดมนต์ให้แก่ผู้ตายบนสะพานที่เกิดเหตุ
วันที่22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 (2010-11-22)
เวลา21:30 ตามเวลาท้องถิ่น (14:30 UTC)
ที่ตั้งสะพานระหว่างพนมเปญกับเกาะพิช ประเทศกัมพูชา
เสียชีวิต347 คน
บาดเจ็บไม่ถึงตายอย่างน้อย 755 คน[1]

เหตุเหยียบกันเสียชีวิตในพนมเปญ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เมื่อมีประชาชนอย่างน้อย 347 คน[2] ถูกเหยียบจนเสียชีวิตระหว่างเทศกาลน้ำในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีรายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 755 คน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน เซน ได้กล่าวว่า เหตุดังกล่าวเป็นโศกนาฏกรรมครั้งรุนแรงที่สุดของประเทศ นับตั้งแต่การปกครองของเขมรแดงระหว่างปี 2518-2522[3]

เบื้องหลัง[แก้]

เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปลายเทศกาลน้ำซึ่งกินระยะเวลา 3 วัน เพื่อเฉลิมฉลองการสิ้นสุดของฤดูมรสุมและการเปลี่ยนทิศทางการไหลของแม่น้ำโตนเลสาบซึ่งเกิดขึ้นสองครั้งในหนึ่งปี[4][5][6] รายงานเบื้องต้นได้เสนอว่าผู้เข้าร่วมเทศกาลได้รวมตัวกันบริเวณเกาะพิช ("เกาะเพชร") ดินแดนส่วนที่ยื่นเข้าไปในโตนเลสาบ เพื่อดูการแข่งพายเรือและต่อด้วยการแสดงคอนเสิร์ต[5] โดยมีประชาชนราว 4 ล้านคนเข้าร่วมเทศกาล[7]

เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นเหตุเหยียบกันเสียชีวิตระหว่างเทศกาลในรอบหลายปี คนพายเรือ 5 คนจมน้ำเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551 และคนพายเรืออีก 1 คนเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552 คาดว่าเหตุดังกล่าวน่าจะเป็นเหตุที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในระหว่างเทศกาลน้ำ[7]

เหตุการณ์[แก้]

เหตุเหยียบกันเสียชีวิตเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 21.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (14.30 UTC) บนสะพานข้ามแม่น้ำ[4][8] ถึงแม้ว่าพยานจะกล่าวว่ามีผู้ "ติดอยู่บนสะพาน" หลายชั่วโมงก่อนหน้าเหตุการณ์ดังกล่าว และเหยื่อไม่สามารถเคลื่อนที่ลงจากสะพานได้จนกระทั่งเกิดเหตุเหยียบกันเสียชีวิตแล้วมานานหลายชั่วโมง[7] โฆษกรัฐบาลกัมพูชา เขียว กันหะริด กล่าวว่า เหตุเหยียบกันเสียชีวิตนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดความตื่นตกใจที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งรู้สึกหมดสติบนเกาะที่มีผู้คนอยู่แออัดนี้[9] ทำให้มีผู้เสียชีวิต 347 คน[2] และอีก 755 คนได้รับบาดเจ็บ[1] ส่วนหนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส และโรงพยาบาลท้องถิ่นหลายแห่งต้องรับมือกับผู้ป่วยจนเกินความจุ เนื่องจากปริมาณของเหยื่อ[9][6] มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 456 คน แต่วันที่ 25 พฤศจิกายน รัฐบาลได้ลดจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการลงเหลือ 347 คน ตามตัวเลขที่เสนอโดยรัฐมนตรีกิจการสังคม อิธซัมเฮง[2]

พยานคนหนึ่งได้กล่าวว่าสาเหตุของเหตุเหยียบกันเสียชีวิตนี้มาจาก "มีคนบนสะพานมากเกินไป และคนที่อยู่บนปลายสะพานทั้งสองฝั่งก็ผลักกัน ซึ่งทำให้เกิดความตื่นตกใจในทันที การผลักกันทำให้คนที่อยู่ตรงกลางสะพานล้มลงกับพื้นและถูกเหยียบ"[10] ในขณะที่พยายามหลีกเลี่ยงจากการโดนเหยียบ เขากล่าวว่ามีคนดึงสายไฟฟ้าลงมา ทำให้มีคนจำนวนมากเสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าช็อตด้วย[10] คำกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนโดยแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วย ซึ่งกล่าวว่าการตายด้วยไฟฟ้าและการขาดอากาศหายใจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะปฏิเสธคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับการถูกไฟฟ้าช็อตก็ตาม[10]

นักหนังสือพิมพ์จากพนมเปญโพสต์กล่าวว่า เหตุเหยียบกันเสียชีวิตดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่กำลังตำรวจฉีดน้ำใส่ผู้ที่อยู่บนสะพานเพื่อพยายามที่จะไล่ให้คนลงจากสะพานหลังจากสะพานเริ่มแกว่งไปมา แต่การกระทำดังกล่าวได้ทำให้เกิดความตื่นตกใจของผู้ที่ติดอยู่บนสะพาน[11]

ปฏิกิริยา[แก้]

นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน เซน ได้กล่าวว่า "ด้วยเหตุการณ์อันน่าโศกสลดนี้ ผมต้องการจะแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมชาติ และสมาชิกครอบครัวของเหยื่อ"[7] เขาได้สั่งให้มีการไต่สวนเหตุการณ์ดังกล่าว และประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติ[11] รัฐบาลประกาศว่าการสืบสวนจะดำเนินการโดยคณะกรรมการชุดพิเศษซึ่งจะแสดงหลักฐานและคำให้การของพยานถึงเหตุการณ์ดังกล่าว[12] รายงานขั้นต้นของการสืบสวน ซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน แสดงว่าเหตุเหยียบกันเสียชีวิตดังกล่าวเกิดขึ้นจากการแกว่งไปมาของสะพาน ทำให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนจำนวนมากบนสะพาน[13]

รัฐบาลประกาศจะจ่ายเงินจำนวนห้าล้านเรียล (1,250 ดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับแต่ละครอบครัวของเหยื่อผู้เสียชีวิต เช่นเดียวกับการจ่ายเงินจำนวนหนึ่งล้านเรียล (250 ดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ[14] เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน รัฐบาลประกาศว่ามีแผนที่จะสร้างสถูปเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว[15]

วันที่ 23 พฤศจิกายน หนึ่งวันหลังจากเกิดเหตุ พระสงฆ์ราว 500 รูปได้เดินทางมายังสถานที่เกิดเหตุเหยียบกันเสียชีวิตเพื่อสวดมนต์ให้กับผู้ที่เสียชีวิต[16]

ศูนย์เพื่อสิทธิมนุษยชนกัมพูชา (CCHR) ประกาศเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ว่า ทางศูนย์จะเริ่มต้นการสืบสวนของศูนย์เองในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โอ วิรัก ประธานศูนย์ กล่าวว่า "ผมหวังว่ารัฐบาลจะทำการสืบสวนต่อไป ผมไม่คิดว่าการสืบสวนระยะเวลาเพียงสัปดาห์เดียวจะเพียงพอ"[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Cambodia: 378 Dead In Festival Stampede". Sky News Online. 23 November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Government decreases death toll in Cambodian stampede". CNN. 25 November 2010. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.
  3. เหยียบกันตายในกัมพูชาตายกว่า 300 ศพ เก็บถาวร 2010-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 23-11-2553.
  4. 4.0 4.1 "Cerca de 340 muertos en una estampida en la capital de Camboya", La Vanguardia, 22 November 2010, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-03, สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  5. 5.0 5.1 Scores dead in stampede at Phnom Penh water festival, France24, 22 November 2010.
  6. 6.0 6.1 Scores killed in Cambodia festival stampede, BBC News, 22 November 2010.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Cambodia Water Festival turns tragic with deadly stampede". Christian Science Moniter. 22 November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.
  8. "Une fête dégénère au Cambodge, près de 340 morts", Le Figaro, 22 November 2010
  9. 9.0 9.1 Sopheng Cheang (23 November 2010), At least 330 die in Cambodian stampede, Sydney Morning Herald.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Cambodia Water Festival turns to tragedy in Phnom Penh". The Guardian. 23 November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.
  11. 11.0 11.1 "Stampede in Cambodia kills hundreds, government says". CNN. 22 November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.
  12. "Cambodia to Investigate After Festival Stampede Leaves 347 Dead". BusinessWeek. 22 November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.
  13. "Swaying bridge 'set off Cambodian stampede'". The Independent. 25 November 2010. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.
  14. "At least 345 die in stampede at Cambodian festival". Forbes.com. 22 November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.[ลิงก์เสีย]
  15. "Cambodia to build stupa to commemorate dead in stampede". Xinhua. 24 November 2010. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.
  16. "Death Toll at Cambodia's Water Festival Rises as Nation Mourns". Voice of America. 23 November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.
  17. "Questions linger over bridge shocks". Phnom Penh Post. 08 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-11. สืบค้นเมื่อ 8 December 2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

11°33′22″N 104°56′22″E / 11.556011°N 104.939497°E / 11.556011; 104.939497