เหตุจลาจลในประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุจลาจลในประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2554
พนักงานดับเพลิงช่วยกันฉีดน้ำเพื่อดับเพลิงที่ลุกไหม้ร้านค้าและแฟลตที่อยู่อาศัยจากการลอบวางเพลิงระหว่างเหตุจลาจลในทอตนัม ทางเหนือของกรุงลอนดอน
วันที่6–11 สิงหาคม ค.ศ. 2011 (มีอาชญากรรมลอกเลียนแบบมาตั้งแต่นี้เป็นต้นมา)
สถานที่บะระบางส่วนของลอนดอน; เวสต์มิดแลนส์, เวสต์ยอร์กเชอร์, เมอร์ซีย์ไซด์, อีสต์มิดแลนส์, มหานครแมนเชสเตอร์, บริสตอล และพื้นที่อื่น ๆ[1][2]
วิธีการการจลาจล, การปล้นสะดม, การลอบวางเพลิง, โจรกรรม, การจู่โจม, ฆาตกรรม
ผลร้านค้า บ้านเรือน ยานพาหนะถูกทำลาย
รายงานควมเสียหายและผู้ได้รับการบาดเจ็บ
เสียชีวิต5
บาดเจ็บ205 (สาธารณชน 16 คน[3][4] เจ้าหน้าที่ตำรวจ 186 นาย และเจ้าหน้าที่สนับสนุนชุมชนตำรวจ 3 นาย)[5][6][7][8]
ถูกจับกุมมากกว่า 3,000 คน

เหตุจลาจลในอังกฤษ พ.ศ. 2554 เป็นเหตุการณ์จลาจลที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6-10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ในสหราชอาณาจักร ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ การก่อความวุ่นวายต่อสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการปล้นสะดม การวางเพลิง การจี้ การปล้นและเกิดจลาจลเป็นบางแห่ง ยังคงดำเนินต่อไปในนครและเมืองบางแห่งในแคว้นอังกฤษ เหตุจลาจลเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ในท็อตแนม ลอนดอนเหนือ หลังจากนั้นได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นในบริเวณอื่นของกรุงลอนดอน และพื้นที่อื่นอีกบางพื้นที่ของแคว้นอังกฤษ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังเหตุตำรวจวิสามัญฆาตกรรมชายวัย 29 ปี ชื่อ "มาร์ค ดักแกน" (Mark Duggan) โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งตำรวจนครบาล[9][10][11][12]

วันที่ 6 สิงหาคม การเดินขบวนที่มีผู้เข้าร่วมราว 200 คน รวมทั้งญาติของดักแกนและชาวเมืองท้องถิ่นในท็อตแนม หลังได้รับข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการเสียชีวิตของดักแกน หลายคนในฝูงชนได้มีพฤติกรรมรุนแรงและเกิดการจลาจลขึ้น ช่วงหลายวันต่อมา มีการก่อความวุ่นวายขึ้นในพื้นที่อื่นของนคร ยังได้มีรายงานการทำลายทรัพย์สิน การวางเพลิง การปล้นสะดม และความไม่สงบอย่างรุนแรงในหลายเขตของกรุงลอนดอน มีตำรวจอย่างน้อย 186 คนได้รับบาดเจ็บ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เหตุจลาจลและปล้นสะดมลุกลามไปถึงเบอร์มิงแฮม ลิเวอร์พูล น็อตติงแฮม บริสตอลและเมดเวย์[13][14][15][16] มีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 1,100 คนตั้งแต่เกิดเหตุการณ์[17] และตำรวจนครบาลได้รับอำนาจให้ใช้กระสุนพลาสติก (baton round) และหัวดับเพลิงกับผู้ก่อการจลาจลหากเห็นว่าสมควร มีพลเมืองถูกสังหารไปห้าคน[18][19]

วันที่ 11 สิงหาคม สมาคมบริษัทประกันภัยอังกฤษได้ประเมินว่า เหตุจลาจลดังกล่าวมีมูลค่าความเสียหาย 200 ล้านปอนด์[20]

เบื้องหลัง[แก้]

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์[แก้]

มีผู้สื่อข่าวคนหนึ่งอธิบายว่าเป็น "ความไม่สงบประเภทนี้ครั้งเลวร้ายที่สุดตั้งแต่เหตุจลาจลบริกซ์ตัน พ.ศ. 2538[9] ผู้อยู่อาศัยท้องถิ่นแสดงความคิดเห็นว่า ความไม่สงบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างตำรวจกับชุมชนผิวดำในกรุงลอนดอน[21] เช่นเดียวกับอีกหลายนครที่มีประชากรชนชั้นกรรมกรอยู่มาก อย่างเช่น เบอร์มิงแฮม ซึ่งมีการจัดการประท้วงจากการเสียชีวิตของคิงสลีย์ บูร์เรลล์[22][23] อย่างไรก็ตาม อีกแหล่งข่าวหนึ่งได้ชี้ว่า ผู้ก่อการจลาจลมีเบื้องหลังชาติพันธุ์หลากหลาย[24] และผู้ก่อการจลาจล "ส่วนใหญ่เป็นพวกผิวขาว และหลายคนมีอาชีพ"[25]

นักวิเคราะห์ได้เปรียบเทียบการจลาจลกับการจลาจลบรอดวอเตอร์ฟาร์มใน พ.ศ. 2528 ซึ่งระหว่างนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ คีธ แบลคลอค ถูกฆาตกรรม[26][27] ความไม่สงบเกิดขึ้นหลังการเรียกร้องการเรียกร้องให้มีการควบคุมดูแลที่ดีขึ้นของตำรวจนครบาล ซึ่งย้ำการสังเกตซึ่งย้อนกลับไปสู่การฆาตกรรมสตีเฟน ลอว์เรนซ์ และนิวครอสไฟร์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[28] มีการเดินขบวนอย่างสงบไปยังสกอตแลนด์ยาร์ด อันเป็นผลจากการเสียชีวิตของสไมลีย์ คัลเจอร์ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวมีรายงานเพียงเล็กน้อย[29]

นักวิเคราะห์ให้เหตุผลว่าสาเหตุของการจลาจลนั้นมีปัจจัยรวมไปถึงความยากจนและอัตราว่างงานที่สูง ช่องว่างที่เพิ่มขึ้นระหว่างคนรวยกับคนจน วัฒนธรรมแก๊ง[30][31] และการเลื่อนชั้นทางสังคมที่ต่ำที่สุดในประเทศพัฒนาแล้ว[32][33][34]

เขตเฮลเรนอีย์และแฮคนี[แก้]

ท็อตแนมมีประชากรพหุวัฒนธรรม โดยมีคนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ ท็อตแนมเป็นแห่งหนึ่งที่มีประชากรแอฟริกา-แคริบเบียนขนาดใหญ่และสำคัญที่สุด ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่น อย่างเช่น ชาวโคลอมเบีย, ยุโรปตะวันออก, เคิร์ด, ตุรกี-ไซปรัส, เติร์ก, โซมาเลียและไอริชเองก็เป็นประชากรท้องถิ่นเช่นกัน ท็อตแนมใต้มีรายงานว่าเป็นพื้นที่ที่หลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สุดในยุโรป โดยมีผู้อยู่อาศัยพูดถึง 300 ภาษา[35]

ตามข้อมูลของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษ เดวิด แลมมี ท็อตแนมมีอัตราการว่างงานสูงที่สุดในกรุงลอนดอนและสูงเป็นอันดับแปดในทั้งสหราชอาณาจักร และมีอัตราความยากจนสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ[36] จำนวนผู้ที่ตามหาตำแหน่งงานว่างในเฮลเรนอีย์ระบุไว้ที่ 23 คน และ 54 คนในบางรายงาน และยังมีความกลัวว่าความวุ่นวายจะแพร่ขยาไปหลังสโมสรเยาวชนถูกปิดในช่วงเดือนที่ผ่านมา[32][37][38]

นอกจากนี้ยังมีความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ที่สำคัญระหว่างชุมชนแอฟริกา-แคริบเบียน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท้องถิ่น เดวิด แลมมี ระบุว่า "รอยร้าวระหว่างตำรวจและชุมชนได้กลายเป็นร่องลึก"[27]

เหตุวิสามัญฆาตกรรมมาร์ค ดักแกน[แก้]

เฟอร์รีเลน ท็อตแนมเฮล สถานที่เกิดเหตุวิสามัญฆาตกรรม

เหตุตำรวจวิสามัญฆาตกรรมชายวัย 29 ปี ชื่อว่า มาร์ค ดักแกน ผู้ต้องหาผู้ค้าโคเคนชนิดผลึก (crack cocaine) และสมาชิกของ "สตาร์แก๊ง" ซึ่งว่ากันว่ากำลังถือปืนพกกระสุนเปล่าดัดแปลงซึ่งได้ถูกดัดแปลงให้สามารถยิงกระสุนจริงได้ เกิดขึ้นระหว่างการวางแผนจับกุมเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554 บนสะพานเฟอร์รีเลน ติดกับสถานีท็อตแนมเฮล[39][40][41][42]

เหตุการณ์ดังกล่าวถูกพูดถึงคณะกรรมการอิสระรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตของตำรวจ (IPCC)[39] ซึ่งเป็นการปฏิบัติทั่วไปเมื่อมีสาธารณชนเสียชีวิตอันเป็นผลจากการกระทำของตำรวจ[43] ยังไม่เป็นที่ทราบว่าเหตุใดตำรวจจึงพยายามเข้าจับกุมดักแกน แต่ IPCC ว่า การวางแผนจับกุมเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการตรีศูล หน่วยซึ่งสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมปืนในกรุงลอนดอน ปฏิบัติการตรีศูลมีความชำนาญในการต่อสู้กับอาชญากรรมปืนที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดผิดกฎหมาย[10]

เพื่อนและญาติของดักแกนอ้างว่าเขาไม่มีอาวุธ[12] IPCC ระบุว่า ดักแกนมีปืนพกที่มีกระสุน[44][45] และไม่มีหลักฐานว่าดักแกนยิงเข้าใส่ตำรวจ[46] หลังเหตุยิงกันดังกล่าว สื่อได้รายงานอย่างกว้างขวางว่าพบปลอกกระสุนฝังอยู่ในวิทยุตำรวจ ซึ่งส่อว่าดักแกนยิงเข้าใส่ตำรวจ[47]

การเดินขบวนประท้วง[แก้]

วันที่ 6 สิงหาคม มีการจัดการเดินขบวนประท้วง ซึ่งเดิมเป็นไปโดยสันติ เริ่มที่บรอดวอเตอร์ฟาร์ม และสิ้นสุดที่สถานีตำรวจท็อตแนม[48] การเดินขบวนดังกล่าวจัดโดยเพื่อนและญาติของดักแกนผู้ร้องขอความเป็นธรรมให้แก่ครอบครัว[10][49][50] กลุ่มที่มีอยู่ประมาณ 200 คน ที่เดินขบวนมายังสถานีตำรวจนั้น รวมไปถึงผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและสมาชิกครอบครัวดักแกน ซึ่งต้องการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นอาวุโส พวกเขาอยู่หน้าสถานีตำรวจหลายชั่วโมงนานกว่าที่วางแผนไว้เพราะไม่พอใจกับท่าที่ตอบสนองของตำรวจต่อคำถามของพวกเขา ตามข้อมูลของพยาน ฝูงชนที่หนุ่มกว่าและก้าวร้าวกว่ามาถึงที่เกิดเหตุช่วงค่ำ และมีบางคนถืออาวุธด้วย ความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อมีข่าวลือว่าตำรวจทำร้ายเด็กหญิงวัย 16 ปีคนหนึ่ง[9][21]

ลำดับเหตุการณ์ [51][แก้]

  • วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2554 นาย มาร์ค ดักแกน ชาวอังกฤษ ผิวสี วัย 29 ปี ถูกวิสามัญฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในเขตพื้นที่ Ferry Lane, ท็อตแนม
  • วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2554 ช่วงบ่าย มีประชาชนประมาณ 300 คนเดินขบวนจาก Broadwater Farm Estate ไปยังสถานีตำรวจท็อตแนม เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ นาย มาร์ค ดักแกน และครอบครัว เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการปิดถนนย่าน High Road เหตุการณ์เริ่มรุนแรงในช่วงหัวค่ำ ผู้ชุมนุมเริ่มขว้างปาขวดและก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และรถตำรวจ 2 คัน ถูกลากไปเผา หลังจากมีการเสริมกำลังจากตำรวจม้า และหน่วยปราบจลาจล เหตุการณ์กลับยิ่งทวีความรุนแรง มีการขว้างปาประทัด ลูกไฟ และระเบิดเพลิงใส่เจ้าหน้าที่ ร้านค้า อาคารบ้านเรือน และรถประจำทาง โดยในวันนี้ มีการแจ้งเหตุเพลิงไหม้กว่า 45 แห่ง และเหตุการปล้น ทำลายทรัพย์สินอาคารบ้านเรือน กว่า 250 คดี
  • วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2554 เหตุการณ์ความไม่สงบเริ่มขยายตัวออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ในลักษณะของการลอกเลียนพฤติกรรม ในหลายพื้นที่ทั้งทางตอนเหนือ ตอนใต้ ตะวันออก และใจกลางกรุงลอนดอน โดยในวันนี้ มีผู้ถูกจับกุมแล้วมากกว่า 150 คน เจ้าหน้าที่รักษาความสงบได้รับบาดเจ็บ กว่า 35 คน
  • คืนวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2554 เหตุความไม่สงบลุกลามไปในพื้นที่ด้าน เหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้ ของกรุงลอนดอน อาทิเช่น Wembley, Ealing, Camden/Chalk Farm, Hackney, Stratford, Croydon, Peckham และ Lewisham ฯลฯ โดยผู้ก่อเหตุใช้วิธีขว้างปาสิ่งของ เข้าไปที่รถประจำทาง รถพยาบาล รถตำรวจ อาคาร ห้างร้าน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ศูนย์การค้า และร้านค้าปลีกในย่านการค้าสำคัญถูกเผา และปล้นสิ่งของ
  • วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2554 ได้มีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 16,000 นาย กระจายกันตามพื้นที่ต่างๆ มีการปิดทำการสถานีรถไฟใต้ดินในจุดเสี่ยงหลายสถานี

อ้างอิง[แก้]

  1. Rogers, Simon; Sedghi, Ami; Evans, Lisa (11 August 2011). "UK riots: every verified incident – interactive map". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2016. สืบค้นเมื่อ 10 December 2016.
  2. Payne, Sebastian (9 August 2011). "London riots map: all incidents mapped in London and around the UK". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 3 April 2018.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ independent_injuries
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bbc_mugging
  5. "Police staff working rest days to cover riot workload". Public and Commercial Services Union. 12 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2011.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cnn_figures
  7. "Live Updates From Sky News Team And Twitter: Riots Spread Across London". BSkyB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2011. สืบค้นเมื่อ 11 August 2011.
  8. Wilson, Peter (11 August 2011). "Police warning on vigilante justice after English riots". The Australian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2011. สืบค้นเมื่อ 11 August 2011.
  9. 9.0 9.1 9.2 Lewis, Paul (7 August 2011). "Tottenham riots: a peaceful protest, then suddenly all hell broke loose". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Tottenham in flames as protesters riot". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
  11. "Tension builds in Enfield Town as small groups arrive in area". Enfield Independent. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  12. 12.0 12.1 Bracchi, Paul (8 August 2011). "Violence, drugs, a fatal stabbing and a most unlikely martyr". Daily Mail (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). UK: Associated Newspapers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 8 August 2011.
  13. "Violence, rioting and looting breaks out across England". BBC News. 9 August 201. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.
  14. "Chapeltown shooting: Police tackle 'pockets of disorder'". BBC News. 9 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.
  15. "Cars set alight during disturbances in Medway towns". BBC News. 9 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.
  16. "Unrest spreads to Leeds and Birmingham". Channel4.com. 9 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.
  17. Sam Jones, Helen Clifton and Martin Wainwright (2011-07-08). "UK riots: London violence spreads to cities across England | UK news | guardian.co.uk". Guardian. สืบค้นเมื่อ 2011-08-10.
  18. "A young man shot in his car". The Guardian. 9 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.
  19. "Three killed protecting property during Birmingham riots". BBC News Online. 10 August 2011. สืบค้นเมื่อ 10 August 2011.
  20. "Riots to cost over £200 million". Reuters. 11 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-16. สืบค้นเมื่อ 11 August 2011.
  21. 21.0 21.1 Jackson, Peter (2011-08-07). "London riots: Tensions behind unrest revealed" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC Television Centre, White City, London, UK: BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2011-08-08. Rioting has again erupted on the streets of Tottenham almost 26 years after the Broadwater Farm riot. But what lies beneath the latest violent outburst in this chequered corner of north London?
  22. "Kingsley Burrell death: March to police HQ, Birmingham". BBC. 2011-07-02.
  23. Millward, David (7 August 2011). "Tottenham riot rekindles memories of unrest in the 1980s". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  24. "Who are the rioters? Young men from poor areas ... but that's not the full story". The Guardian. 2011-08-10.
  25. "Shock over 'respectable' lives behind masks of UK rioters". CNN. 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
  26. "Tottenham anarchy: Grim echo of 1985 Broadwater farm riot". Daily Mail. UK. 7 August 2011. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  27. 27.0 27.1 Lammy, David (7 August 2011). "Tottenham riot: The lesson of Broadwater Farm". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  28. "Police 'failed miserably' dead reggae star Smiley Culture".
  29. Fletcher, Martin. "The Sad Truth Behind London Riots". NBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
  30. Burrell, Ian (10 August 2011). ""How gangs have taken the place of parents in urban ghettoes"". The Independent. สืบค้นเมื่อ 11 August 2011.
  31. Thompson, Damian (8 August 2011). ""London riots: This is what happens when multiculturalists turn a blind eye to gang culture"". Telegraph Blogs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
  32. 32.0 32.1 Power, Nina (8 August 2011). "There is a context to London's riots that cannot be ignored". Guardian.
  33. "Deaths in police custody since 1998: 333; officers convicted: none". Guardian. 3 December 2010.
  34. "OECD: UK has worse social mobility record than other developed countries". Guardian. 10 March 2010.
  35. JUMANA FAROUKY (15 February 2007). "Unity Begins at Home – TIME". TIME<!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-21. สืบค้นเมื่อ 10 December 2009.
  36. David Lammie. "Response to the Comprehensive Spending Review". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 25 February 2011.
  37. Goy, Alex (26 June 2011). "The toughest places to get a job in the UK: 6. Haringey". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-01. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  38. Alexandra Topping and Cameron Robertson (31 July 2011). "Haringey youth club closures: 'There'll be riots' - video". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  39. 39.0 39.1 "Man dead and police officer hurt in Tottenham shooting". BBC News. 5 August 2011. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
  40. "Doubts emerge over Duggan shooting as London burns". Guardian. 8 August 2011.
  41. "Mark Duggan shooting: Bullets results 'within 24 hours'". BBC. 8 August 2011.
  42. "Soul searching lies ahead as UK riots cool - World news - Europe". MSNBC. สืบค้นเมื่อ 11 August 2011.
  43. Camber, Rebecca (7 August 2011). "Pictured: The 'gangsta' gunman killed in shoot-out with police whose death sparked riots". Daily Mail. London. สืบค้นเมื่อ 11 August 2011.
  44. Vasagar, Jeevan (9 August 2011). "Mark Duggan did not shoot at police, says IPCC". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.
  45. Laville, Sandra (5 August 2011). "Man shot dead by police in north London during attempted arrest". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  46. "The Independent Police Complaints Commission has just announced that there is no evidence". The Guardian. 9 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.
  47. Sandra Laville; Paul Lewis; Vikram Dodd; Caroline Davies (7 August 2011). "Doubts emerge over Duggan shooting as London burns". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2013. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  48. Bolesworth, Sarah; Barry Neild; Peter Beaumont; Paul Lewis; Sandra Laville (7 August 2011). "Tottenham in flames as riot follows protest". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  49. "Tottenham police shooting: Dead man was minicab passenger". BBC News. 5 August 2011. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  50. "Tottenham riots are a disgrace, says MP". Channel4.com. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  51. สรุปเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงลอนดอนและสหราชอาณาจักร วันที่ 4 – 6 สิงหาคม 2554[ลิงก์เสีย]