เหตุการณ์โกก้าง

พิกัด: 23°41′30″N 98°45′45″E / 23.69167°N 98.76250°E / 23.69167; 98.76250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุการณ์โกก้าง
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่า
วันที่27–30 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สถานที่
ผล รัฐบาลพม่าชนะ
คู่สงคราม
MNDAA
NDAA
UWSA
สหภาพพม่า
กบฏ MNDAA
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เฟือง คยาชิน พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์[1]
ความสูญเสีย
ตามรายงานของรัฐบาลทหาร:[2]
เสียชีวิต 8 คน
ยึดอาวุธได้ 640 ชิ้น[3]
ตามรายงานของรัฐบาลทหาร:[2]
เสียชีวิต 26 คน
บาดเจ็บ 47 คน
พลเรีอนชาวจีนเสียชีวิต 1 คน[4]
ผู้คนพลัดถิ่น 30,000 คน[2]
เขตปกครองพิเศษโกก้าง (เขียว) ภายในรัฐฉาน (เหลือง)

เหตุการณ์โกก้าง เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ในพื้นที่ปกครองตนเองโกก้าง ในพม่าที่อยู่ทางเหนือของรัฐฉาน[5] มีการปะทะกันระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังของชนกลุ่มน้อย ผลจากความขัดแย้งทำให้มีผู้อพยพ 30,000 คนเข้าไปในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน

ภูมิหลัง[แก้]

ก่อนจะเกิดเหตุการณ์นี้ กองทัพพม่าได้มีการเจรจาสงบศึกกับกองทัพของชนกลุ่มน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2532 แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา กองทัพพม่าได้เสนอที่จะนำกองกำลังของชนกลุ่มน้อย[6]เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพในฐานะกองกำลังพิทักษ์ชายแดน แต่กองกำลังของชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่ต่อต้านแนวคิดนี้

เขตพิเศษโกก้างเป็นเขตปกครองตนเองทางภาคเหนือของรัฐฉาน[7] ปกครองโดยเฟือง คยาชินหรือเปง เจียเซง ( 彭家声) ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2532[8] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวโกก้าง (果敢) ซึ่งเปนชาวจีนฮั่นที่อาศัยในพม่า ชาวโกก้างมีความเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดน

โกก้างมีกองทัพเป็นของตนเองคือกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมาร์ มีทหารประมาณ 1,000 - 1,500 คน และมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยภายในกองทัพ โดยเฟืองอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรองประธาน ไป๋ เซาเกวียน โดยเฟืองต่อต้านการรวมกองทัพเข้ากับกองทัพพม่าแต่ไป๋สนับสนุน กองทัพพม่าได้กล่าวหาว่าเฟืองอยู่เบื้องหลังการค้าอาวุธและยาเสพติด

ความตึงเครียด[แก้]

ความตึงเครียดเกิดขึ้นเมื่อ 8 สิงหาคม ได้มีกองทัพพม่าเคลื่อนที่เข้ามาในโรงงานผลิตปืนซึ่งต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการค้ายา และบริเวณบ้านของเฟือง แม้จะไม่มีการยิงปะทะ แต่ก็มีผู้อพยพออกจากพื้นที่เพราะกลัวความรุนแรง

ความรุนแรง[แก้]

ลวกไกตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ลวกไก
ลวกไก
ตำแหน่งของเมืองลวกไก เมืองหลวงของโกก้าง

ในวันที่ 20 สิงหาคม กองทัพพม่าเริ่มเคลื่อนเข้ามาใกล้เมืองลวกไก เมืองหลวงของเขตพิเศษโกก้าง และโกก้างได้เตรียมประชาชนให้พร้อมอพยพ ในวันที่ 24 สิงหาคม กองทัพพม่าได้เข้ายึดเมืองลวกไก หนังสือพิมพ์กะชีนนิวส์ที่ต่อต้านกองทัพพม่าได้กล่าวว่าการเข้ายึดครองครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากทหารโกก้างที่จงรักภักดีต่อกองทัพพม่า

ในวันที่ 27 สิงหาคม[9] กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่าได้เริ่มเปิดการสู้รบกับกองทัพพม่านอกเมือง ต่อมา ทหารว้าและกะชีนและกลุ่มของชนกลุ่มน้อยอีก 9 กลุ่มเข้าร่วมในการสู้รบ กองทัพสหรัฐว้าซึ่งเป็นกองทัพของชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของพม่าเข้าร่วมรบด้วย ในวันที่ 27 – 28 สิงหาคม มีการต่อสู้ที่หมู่บ้านใกล้แนวชายแดนจีน ทำให้จีนต้องเพิ่มกองกำลังเพื่อความมั่นคงตามแนวชายแดน

ในวันที่ 29 สิงหาคม สหรัฐกล่าวว่ามีทหารโกก้างราว 700 คน ได้ข้ามพรมแดนและมอบตัวกับทางการจีน[2][10] โดยให้สัมภาษณ์ว่าพวกเขาพ่ายแพ้[11] ในขณะที่กองทัพโกก้างมีแนวโน้มจะพ่ายแพ้ กองทัพสหรัฐว้ายังคงสู้รบ หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์รายงานว่ากองทัพสหรัฐว้าถอนตัวออกเมื่อ 28 สิงหาคม[12] รัฐบาลพม่าได้ประกาศว่าการสู้รบสิ้นสุดลงเมื่อ 30 สิงหาคม และมีการจัดตั้งคณะกรรมการผู้นำเฉพาะกาลเขตโกก้างขึ้นใหม่ในลวกไก[13]

ความเสียหายและผู้อพยพ[แก้]

ไม่มีรายงานความเสียหายที่ชัดเจน เฟือง คยาชินกล่าวอ้างว่าทหารโกก้างของเขาฆ่าทหารพม่าได้มากกว่า 30 คน[14] มีชาวจีน 1 คนเสียชีวิตจากระเบิดที่ข้ามชายแดนเข้ามา กองทัพพม่าได้ออกประกาศว่ากองทัพพม่าเสียชีวิต 26 คน และบาดเจ็บ 47คน และพบศพของฝ่ายกบฏ 8 ศพ

ในช่วง 8-12 สิงหาคม มีประชาชนราว 10,000 คนอพยพเข้าไปในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ผู้อพยพตลอดทั้งเดือนสูงถึง 30,000 คน รวมทั้งชาวพม่าและชาวโกก้าง โดยรัฐบาลของมณฑลยูนนานได้จัดสถานที่ 7 แห่งไว้รองรับ ข้อมูลจากผู้อพยพคนหนึ่งกล่าวว่า มีผู้อพยพ 13,000 คนอาศัยอยู่ในเตนท์ อีก 10,000–20,000 คน อาศัยอยู่กับญาติหรือครอบครัวในบริเวณใกล้เคียง ในวันที่ 31 สิงหาคม ผู้อพยพบางส่วน (4,000 คนตามเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือ 2,800 คนตามรัฐบาลพม่า) เริ่มอพยพกลับสู่โกก้าง ต่อมาในกลางเดือนกันยายน จีนรายงานว่า ผู้อพยพมากกว่า 9,000 คนกลับสู่พม่า ในขณะที่รัฐบาลพม่ากล่าวว่ามี 13,000 คน[15] ผู้อพยพบางส่วนยังกลัวที่จะอพยพกลับ เฟืองยังคงลี้ภัยในจีนแต่ไม่ทราบที่อยู่แน่นอน[16][17]

หลังจากนั้น[แก้]

หลังการสู้รบ ผู้นำคนใหม่ของโกก้างประกาศว่าชาวโกก้างจะเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2553 ชาวว้าและชาวกะชีนยังคงอยู่ต่อไปได้[18] ไป๋ เซาเกวียนที่สนับสนุนกองทัพพม่าได้เป็นผู้นำคนใหม่ กองทัพโกก้างกลายเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน#1006[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Senior General Min Aung Hlaing". altsean.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2011. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Ng Han Guan. "Ethnic rebels flee Myanmar, abandoning weapons and uniforms for safe haven in south China". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  3. "Myanmar says 34 killed as border fighting ends". Agence France-Presse. 30 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2009. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  4. Dasgupta, Saibal (29 August 2009). "Fresh violence near China-Myanmar border". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
  5. Agence France-Presse (27 August 2009). "More fighting feared as thousands flee Burma". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 28 August 2009.
  6. Kate, Daniel Ten (28 August 2009). "Myanmar Takes Rebel-Held Town Near China Oil Projects". Bloomberg L.P. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  7. "果敢乱局当前 传"果敢王"已逃离". 29 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009. (จีน)
  8. "Kokang capital falls: "Not shoot first" policy under fire". Shan Herald. 26 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-02. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
  9. "Fightings (sic) keep on in Myanmar's Kokang region". Xinhua. 30 August 2009. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  10. Wai Moe (30 August 2009). "Fighting Stops as Kokang Surrender Arms to Chinese". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  11. "Myanmar fighters cross into China". Al Jazeera News. 30 August 2009. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  12. Fuller, Thomas (30 August 2009). "Myanmar Forces Overwhelm Rebels". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  13. "More than 2,800 Myanmar border inhabitants return to Kokang after fightings end". Xinhua. 1 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2 September 2009.
  14. "Over 30 gov't soldiers killed; civil war possible in Myanmar". Global Times. 29 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-02. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
  15. "Myanmar says market trading in Kokang capital returns to normal". Xinhua. 7 September 2009. สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.
  16. "果敢乱局当前 传"果敢王"已逃离". 29 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009. 传言果敢特区领导人彭家声已经逃离。
    English: "It is rumored that the leader of the Kokang Special Region, Peng Jiasheng, has also fled."
    (จีน)
  17. Magnier, Mark (29 August 2009). "Myanmar troops attack minority militia in the north". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
  18. "Myanmar says Chinese tip-off led to border clash". The Associated Press. 10 September 2009. สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

23°41′30″N 98°45′45″E / 23.69167°N 98.76250°E / 23.69167; 98.76250