เหงือกปลาหมอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหงือกปลาหมอ
เหงือกปลาหมอ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Acanthaceae
สกุล: Acanthus
สปีชีส์: A. ebracteatus
ชื่อทวินาม
Acanthus ebracteatus
Vahl
ชนิดย่อย

A. ebracteatus subsp. ebracteatus
A. ebracteatus subsp. ebarbatus

เหงือกปลาหมอ[a] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthus ebracteatus) เป็นพืชล้มลุกที่มักพบเป็นพืชชั้นล่างในป่าชายเลนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทรปราการ อยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเหนือปากคลองมหาวงษ์และโรงเรียนนายเรือ ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอนั้น เป็นสมุนไพรใกล้ตัวหรืออาจจะเรียกว่าสมุนไพรชายน้ำ/สมุนไพรชายเลนก็ได้ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชนิด

การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่อาศัย[แก้]

เกิดเองตามบริเวณป่าชายเลน ชอบขึ้นตามชายน้ำริมลำคลอง[1] ชายฝั่งแม่น้ำที่มีน้ำเค็ม-น้ำกร่อยขึ้นถึง หรือที่ชุ่มชื้นทั่วไป ไม่ชอบที่ดอนเหงือกปลาหมอนั้นจะพบอยู่ 2 พันธุ์ คือ ชนิดที่เป็นดอกสีขาวและดอกสีม่วง ดอกสีขาวจะพบมากในทางภาคกลางและภาคตะวันออกส่วนดอกสีม่วงจะพบมากทางภาคใต้

ลักษณะทั่วไป[แก้]

ต้น[แก้]

เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงถึง 1.5 เมตร [2]ลำต้นของพืชชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ถ้าเป็นต้นที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติหรือไม่มีการตัดออกไป จะมีลักษณะของลำต้นตั้งตรงพุ่งสูงขึ้น แต่ถ้ามีการตัดออกนำไปใช้ประโยชน์บ้างก็จะแตกเป็นพุ่มออกมาใหม่

ใบ[แก้]

ใบจะมีลักษณะแข็ง มีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ผิวใบเรียบมันเนื้อใบเหนียวแข็ง

ดอก[แก้]

ออกที่ปลายกิ่ง มีลักษณะของดอกเป็นดอกช่อตั้งตรง มีสีม่วง สีฟ้า หรือสีขาว มีกลีบรองดอก 4 กลีบ บริเวณของกลางดอกนั้นจะมีเกสรของตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่

ผล[แก้]

เป็นฝักรูปไข่หรือทรงกระบอก

การขยายพันธุ์[แก้]

ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นกลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและมีความชื้นสูง ใช้กิ่งปักชำ

สรรพคุณ[แก้]

  • ราก : สรรพคุณช่วยขับเสมหะ [3]แก้หืด แก้อัมพาต บำรุงประสาท รักษามุตกิดระดูขาว
  • ต้น : รสเค็มกร่อย สรรพคุณแก้ปวดศีรษะ ช่วยถอนพิษ แก้ลมพิษ แก้พิษฝีดาษ ถ้าใช้ทาจะช่วยโรคเหน็บชาได้
  • ใบ : รสเค็มกร่อยร้อน สรรพคุณช่วยรักษาแผลอักเสบ แก้โรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดต่างๆ รักษากลากเกลื้อน ใช้นำคั้นจากใบนำมาทาศีรษะ จะช่วยในการบำรุงรากผม
  • ผล : รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยถอนพิษ ขับโลหิต
  • เมล็ด : รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับน้ำเหลืองที่เสีย ขับพยาธิ ปิดพอกฝี

ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง 5 (ราก,ต้น,ใบ,ผล,เมล็ด) มีสรรพคุณช่วยแก้พิษฝี แก้มะเร็ง ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดลมปกติ

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ชื่อท้องถิ่น: แก้มหมอ, แก้มหมอเล, จะเกร็ง, นางเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

อ้างอิง[แก้]

  1. เหงือกปลาหมอ เก็บถาวร 2009-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บ kanchanapisek.or.th
  2. เหงือกปลาหมอ เก็บถาวร 2010-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บ สมุนไพรใกล้ตัว
  3. เหงือกปลาหมอ เก็บถาวร 2009-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บ agriman.doae.go.th

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Acanthus ebracteatus ที่วิกิสปีชีส์