เหงียน มิญ เจิว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหงียน มิญ เจิว (เวียดนาม: Nguyễn Minh Châu) เป็นนักเขียนชาวเวียดนามที่มีชื่อเสียงในช่วงหลังสงครามเวียดนาม เกิดเมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2473 ที่อำเภอกวิ่ญลืว (Quỳnh Lưu) จังหวัดเหงะอาน เจิวสมัครเป็นทหารตั้งแต่ พ.ศ. 2495 และได้มาประจำการเป็นบรรณาธิการวารสารวันเหงะเกวินโด่ยตั้งแต่ พ.ศ. 2505 และทำงานที่วารสารนี้มาตลอดจนเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2532

งานเขียนช่วงแรกของเจิวเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามตั้งแต่นวนิยายเรื่องแรกคือเรื่อง “ประตูแม่น้ำ” ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2509 และเรื่อง “รอยเท้าทหาร” ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2515 เรื่องนี้ได้ตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซียด้วย ในยุคหลังสงคราม เจิวเป็นนักเขียนคนแรก ๆ ที่ออกมาเรียกร้องให้สะท้อนความจริงของสังคมมากกว่าการโฆษณาชวนเชื่อ[1] งานเขียนของเขาเองก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องราวของคนทั่วไปมากขึ้น เช่น ในรวมเรื่องสั้น “ผู้หญิงบนรถด่วน” และ “ท่าน้ำ” ผลงานชิ้นสุดท้ายของเขาคือรวมเรื่องสั้นเรื่อง “หญ้าเลา” ซึ่งเขาเขียนจบบนเตียงที่เขานอนป่วยอยู่จนเสียชีวิตเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2532

อ้างอิง[แก้]

  • มนธิรา ราโท. วรรณกรรมเวียดนามหลังปี ค.ศ. 1975. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. หน้า 172-178.
  1. Andrew Hammond Cold War Literature: Writing The Global Conflict 2006 Page 127 "In November 1978, the literary journal V?n Ngh? Quan Dzi, printed an essay entitled Writing about the War. Its author, Nguyễn Minh Châu, an accomplished writer and military veteran, launched a fierce criticism of Vietnamese literature from the war. While he acknowledged that many works written during the conflict aimed to 'contribute to the war ...Nguyễn Minh Châu's criticism was ahead of its time; it took more than a decade for society to 'renovate' its attitudes towards the ..."