เสือฝ้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายฝ้าย เพ็ชนะ
เกิดมีนาคม พ.ศ. 2431
บ้านท่าใหญ่ ตำบลเดิมบาง อำเภอ เดิมบางนาง​ จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต25 เมษายน พ.ศ. 2490 (59 ปี)
บ้านบางกะโพ้น ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย
สัญชาติไทย
บิดามารดา
  • สว่าง เพ็ชนะ (บิดา)
  • ครี เพ็ชนะ (มารดา)

เสือฝ้าย มีชื่อจริงว่า นายฝ้าย เพ็ชนะ (มีนาคม พ.ศ. 2431 ;นับแบบใหม่, - 25 เมษายน พ.ศ. 2490) เป็นจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลางหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับเสือดำ, เสือใบ, เสือหวัด และเสือมเหศวร ได้รับสมญาว่า "พ่อเสือ" บ้าง "จอมพลฝ้าย" บ้าง "ครูฝ้าย" บ้าง

ประวัติ[แก้]

"เสือฝ้าย" เกิดที่ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2431 (นับแบบใหม่) บิดาชื่อ นายสว่าง มารดาชื่อ นางครี นามสกุล เพ็ชนะ เป็นลูกชาวนา บุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ได้การรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ช่วงวัย 20 ต้นๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยที่สุพรรณบุรีปะทะกับกองทัพญี่ปุ่น จนได้รับฉายาว่า "จอมพลฝ้าย"[1] เคยบวชเรียนแล้วสึกออกมาเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านท่าใหญ่ หมู่ 7 ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลอันตรายต่อชุมชนและรัฐ ฐานกระทำความผิดร้ายแรงในข้อหาพาผู้ร้ายหลบหนี เพราะถูกใส่ร้าย โดยหลานเขย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตำรวจ ต้องโทษทุกข์ทรมานแปดปีในสถานกักขัง ซึ่งมีสภาพทรุดโทรม จากความผิดที่ไม่ได้ก่อ เจ้าตัวจึงปวารณาไว้ว่า "เมื่อรัฐเล่นตลกกับข้า ข้าก็จะสร้างเสียงหัวเราะให้พวกมัน!"

ระหว่างที่เป็นเสือ[แก้]

วิธีการปล้นของฝ้าย เจตจำนงนั้นผิดกับโจรทั่วไป กล่าวคือ เสือฝ้าย กับพรรคพวกมิได้ชิงทรัพย์เพื่อยังชีพ โดยประทังให้ปัจจัยสี่ไม่ขาดแคลน เสือฝ้าย จงใจเล่นงานบรรดาเศรษฐี ผู้มีอำนาจในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะพวกแปดเปื้อนมลทิน กลิ่นคาวฉาวโฉ่ ประเภทฉ้อโกง ขูดรีด และอาศัยอำนาจในการทำให้ตัวเองร่ำรวย นี่คือเป้าหมายของ เสือฝ้าย ด้วยเหตุนี้ คนยากหรือผู้ขัดสนทรัพย์สินศฤงคาร จึงรอดพ้นเงื้อมมือเสือฝ้าย หนำซ้ำ ยังจะได้ ‘ทรัพย์’ อันเป็นผลพลอยได้อีกต่างหาก การกระทำของ เสือฝ้าย เช่นนี้เอง ชาวบ้านถิ่นสุพรรณต่างพร้อมใจเป็นปราการด่านแรก เพื่อป้องกันเสือฝ้าย อาทิ การบิดเบือนข้อมูลหรือให้การเท็จกับตำรวจ ให้ข้อมูลเสือฝ้ายเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของทางการ สำหรับชาวบ้านเสือฝ้าย เปรียบเหมือนเป็นญาติในครอบครัวเดียวกัน

กลุ่มเสือฝ้ายเป็นชุมโจรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โจรเมืองไทย เพราะมีสมุนโจรรวมกันไม่ต่ำกว่า 100 ถึง 200 คน เทียบกับชุมโจรอื่นในยุคนั้นจะมีโจรเพียง 10 กว่าคนเท่านั้น ชุมโจรเสือฝ้ายตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์สมัยนั้นอยู่บ่อยครั้ง

มรณกรรม[แก้]

ภายหลังเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2490 เสือฝ้ายได้ช่วยเหลือทางการในการปราบปรามชุมโจรอื่น ๆ และถูกหลอกว่าให้ไปรับความดีความชอบที่ กรุงเทพฯ และพาไป อ่างทอง เพื่อหลบอิทธิพลของเสือฝ้ายและเสือฝ้ายได้ถูกนายร้อยตำรวจเอกยอดยิ่ง สุวรรณาคร ควบคุมตัวกระทำวิสามัญฆาตกรรมที่บ้านบางกะโพ้น ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

เสือฝ้าย10 ทิศ ผู้เขียนมาลัย ชูพินิจ

  • ในภาพยนตร์เรื่อง ฟ้าทะลายโจร บทของเสือฝ้ายนำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี[2][3]
  • ในภาพยนตร์เรื่อง ขุนพันธ์ 2 บทของเสือฝ้ายนำแสดงโดย วันชนะ สวัสดี[4]
  • ในละครเรื่อง ตะกรุดโทน บทของเสือฝ้ายนำแสดงโดย ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง
  • ในภาพยนตร์ ขุนพันธ์ 3 เสือฝ้ายกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของวิญญาณที่ขุนพันธ์เรียกออกมาพร้อมกับ อัลฮาวียะลู จอมโจรขมังเวทย์ ที่ถูกสังหารไปในภาคก่อนหน้า โดยวิญญาณของเสือฝ้ายมีความสามารถในการใช้คาถาตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ได้ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนที่ของศัตรูหยุดนิ่ง พร้อมกับปล่อยคลึ่นที่เป็นเสมือนกำแพงสะท้อนกลับพลังไปหากองทัพศัตรู

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ชาวสุพรรณบุรี ณาฒ สหัชชะ จากเสรีชัย
  2. สามเสือสุพรรณ ดรีมทีมตำนานเสือ
  3. ฟ้าทะเลายโจร จากพันทิปดอตคอม
  4. ขุนพันธ์ 2 เปิดกล้อง! อนันดา เป้ ผู้พันเบิร์ด พร้อมแล้วกับการตามล่าครั้งใหม่. THE STANDARD. 19 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)