เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เริ่มเป็นที่รุ้จักในปี 2001 จากหนังสือ The Creative Economy: How People Make Money from Ideas ของ John Howkins ที่ได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และเศรษฐศาสตร์

ในมุมมองของ Howkins ทั้งความคิดสร้างสรรค์และเศรษฐกิจต่างไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่สิ่งที่ใหม่ก็คือ การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมไปกับแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่าและความมั่งคั่ง (value and wealth)

ด้วยความที่แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาโดยรัฐบาลในหลายประเทศ จึงยังไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนในปัจจุบัน

ล่าสุดในรายงานของอังค์ถัด (UNCTAD) เรื่อง CREATIVE ECONOMY REPORT 2008 ได้ให้คำนิยามของเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่าเป็น แนวคิดที่พูดถึงศักยภาพในการใช้สินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์ (creative assets) เพื่อพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เอื้อให้เกิดการสร้างรายได้ และเพิ่มยอดการส่งออก ขณะเดียวกันก็ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมทางสังคม ความหลกหลายทางวัฒนธรรม และการพัฒนาทรัพยาการมนุษย์ด้วย

นอกจากนี้อังค์ถัด ยังได้ให้คำจำกัดควาของอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creative industry) ว่าเป็น วงจรของการสร้างสรรค์ การผลิต และการจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีปัจจัยหลักคือความคิดสร้างสรรค์และทุนทางปัญญา (intellectual capital)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้คำจำกัดความดังกล่าว หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกันจะประกอบไปด้วย กลุ่มองค์ความรู้ตั้งต้น เช่น ศิลปหัตถกรรม, กลุ่มการแสดงศิลปะ เช่น การละคร, กลุ่มสิ่งพิมพ์และวรรณกรรม เช่น หนังสือ, กลุ่มดนตรี, เช่น คอนเสิร์ต และซีดี, กลุ่ม Visual Arts เช่น ภาพยนตร์และโทรทัศน์, กลุ่มงานออกแบบ เช่น สถาปัตยกรรม และกลุ่ม ดิจิตอลและมัลติมีเดีย เช่น ซอฟต์แวร์ และเกม