เลดีลูอีส วินด์เซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลดีลูอีส เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์
เลดีลูอิส วินด์เซอร์ในวันคริสตสมภพ พ.ศ. 2560
เกิดเลดีลูอิส อลิซ เอลิซาเบธ แมรี เมานต์บัตเทิน-วินด์เซอร์[1]
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (20 ปี)
โรงพยาบาลฟริมลีย์พาร์ก มณฑลเซอร์รีย์ สหราชอาณาจักร
บุพการีเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเอดินบะระ
โซฟี ไรส์-โจนส์
ญาติเจมส์ เอิร์ลแห่งเวสเซกซ์ (น้องชาย)

เลดีลูอีส เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์ (อังกฤษ: Lady Louise Alice Elizabeth Mary Mountbatten-Windsor;[2] 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) หรือโดยย่อว่าเลดีลูอิส วินด์เซอร์ (Lady Louise Windsor)[3] เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเอดินบะระ กับโซฟี ดัชเชสแห่งเอดินบะระ อยู่ในลำดับที่ 16 ของการสืบสันตติวงศ์สหราชอาณาจักร

ประวัติ[แก้]

เลดีลูอิสเกิดก่อนกำหนดเมื่อเวลา 23.32 น. (ตามเวลามาตรฐานกรินิช) ของวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ณ โรงพยาบาลฟริมลีย์พาร์กในเซอร์รีย์ หลังเคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ถูกนำส่งจากบ้านเวสเซกซ์ในสวนแบ็กชอตไปยังโรงพยาบาลเนื่องจากประชวรพระครรภ์ ขณะเธอเกิดบิดาไม่ได้อยู่ด้วย เพราะปฏิบัติพระกรณียกิจในประเทศมอริเชียส[4]

เลดีลูอิสถูกส่งไปยังแผนกฉุกเฉินต้องทำการผ่าคลอดเนื่องจากรกลอกตัวก่อนกำหนด เลดีลูอิสถูกส่งต่อไปยังหน่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเซนต์จอร์สในลอนดอนเพื่อความปลอดภัย ส่วนมารดายังคงพักฟื้นในโรงพยาบาลฟริมลีย์พาร์กจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ต่อมาได้มีการประกาศนามพระธิดานี้ว่าเลดีลูอิส เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนปีเดียวกัน[5] เข้าพิธีบัพติศมาโบสถ์น้อยในปราสาทวินด์เซอร์เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2547 โดยเดวิด คอนเนอร์ ดีนแห่งวินด์เซอร์เป็นผู้ดำเนินพิธี มีเลดีซาราห์ แชตโท ลอร์ดอีวาร์ เมานต์แบ็ตเทน เลดีอเล็กซานดรา เอเทอร์ลิงทัน อูร์ส สวาเซินบัค และรูเพิร์ต เอลเลียต เป็นพ่อทูนหัวและแม่ทูนหัว[6][7] เลดีลูอิสเป็นเยาวราชนิกูลคนสุดท้ายที่ได้สวมฉลองพระองค์ครุยบัพติศมาที่ตกทอดมาจากเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2383[8]

ตำแหน่ง[แก้]

เธอได้คำนำหน้านามว่า "เลดีลูอิส วินด์เซอร์"[3] แม้ในพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระราชานุญาต (letters patent) พ.ศ. 2460 จะประกาศบังคับให้พระโอรส-ธิดาของพระราชโอรสทุกพระองค์มีพระสถานะและฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้า[9] ดังนั้นเลดีลูอิสจึงมีศักดิ์และสิทธิในตำแหน่ง "เจ้าหญิงลูอิสแห่งเวสเซกซ์" แต่หลังการเสกสมรสของเอิร์ลและเคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ สมเด็จพระราชินีนาถได้ประกาศผ่านสำนักพระราชวังบักกิงแฮมว่าพระบุตรของทั้งสองพระองค์จะมีสถานะเป็นลูกของเอิร์ลแทนที่จะเป็นพระบุตรของเจ้าชาย[10] ด้วยเหตุนี้เอกสารของทางราชสำนักจึงออกนามพระธิดานี้ว่าเลดีลูอิส วินด์เซอร์ มาจนถึงปัจจุบัน[11]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Royal Household (27 April 2011). "The Royal Wedding Official Programme". Haymarket Network Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
  2. "Mountbatten-Windsor?". 29 July 2013. สืบค้นเมื่อ 2 August 2014.
  3. 3.0 3.1 Statement issued by the Press Secretary to the Queen: Announcement of the christening of Lady Louise Windsor – The official website of The British Monarchy
  4. "Royal baby born prematurely". BBC News. 8 November 2003. สืบค้นเมื่อ 11 May 2010.
  5. "Royal Wessex baby finally named". BBC News. 27 November 2003. สืบค้นเมื่อ 7 May 2010.
  6. "Announcement of the christening of Lady Louise Windsor". royal.uk. 7 April 2004. สืบค้นเมื่อ 8 April 2004.
  7. "Royal Christenings". Yvonne's Royalty. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-06. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  8. Ranscombe, Siân (19 July 2014). "Prince George's christening gown: the true story". telegraph.co.uk. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  9. "No. 30428". The London Gazette. 14 December 1917. p. 13086.
  10. UK Government News – 19th June, 1999: TITLE OF HRH THE PRINCE EDWARD (Accessed 18 January 2014)
  11. Kidd, Charles; Shaw, Christine (2008). Debrett's Peerage & Baronetage 2008. Debrett's Peerage Limited. ISBN 978-1870520805.
ก่อนหน้า เลดีลูอีส วินด์เซอร์ ถัดไป
เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์
ลำดับการสืบสันตติวงศ์
ราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร

เจ้าหญิงพระราชกุมารี
เจ้าหญิงยูเชนี นางแจ็ก บรุกส์แบงก์ ลำดับโปเจียม (ฝ่ายใน)
แห่งสหราชอาณาจักร

ซารา ทินดัลล์