เรือพิฆาตชั้นคงโง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เรือพิฆาตชั้นคงโง
ชั้นเรือโดยสรุป
สร้างที่:มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสทรี
อิชิกะวะจิมะ-ฮะริมะ เฮฟวี่ อินดัสทรี
ผู้ใช้งาน:กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น
ชั้นก่อนหน้า:เรือพิฆาตชั้นฮะตะกะเซะ
ชั้นถัดไป:เรือพิฆาตชั้นอะตะโงะ
สร้างเมื่อ:1990- 1998
สร้างเสร็จ:4
ใช้การอยู่:4
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถี
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 7,500 ตัน (เต็มที่ 28,000)
ความยาว: 161 เมตร
ความกว้าง: 21 เมตร
กินน้ำลึก: 6.3 เมตร
ระบบขับเคลื่อน: 4 อิชิกะวะจิมะ ฮะริมะ / เจเนอรัลอิเล็กทริค แอลเอ็ม 2500-30 แก็สเทอไบน์
ความเร็ว: 30 นอต (56 กม. / ชม.)
พิสัยเชื้อเพลิง: 4500 ไมล์ทะเล (8,334 กม.) ที่ความเร็ว 20 นอต
อัตราเต็มที่: 300
ยุทโธปกรณ์:อาร์จีเอ็ม - 84 ฮาร์พูน
เอสเอ็ม-2เอ็มอาร์ สแตนดาร์ด (29 ท่อยิงที่ bow, 61 ท่อยิงที่ aft)
เอสเอ็ม-3 บล็อก IA
อาร์ยูเอ็ม-139แอสร็อก
• 1 x 5 นิ้ว (127 มม.) / 54 คาลิเบอร์ โอโต-เบรดา คอมแพ็ค
• 2 x 20 มม. ระบบป้องกันระยะประชิดฟาลังซ์
• 2 x ไทป์ 68 ท่อปล่อยแฝดสาม (6 x [มาร์ค 46 ตอร์ปิโด
อากาศยาน: อาคารเก็บเฮลิคอปเตอร์และลานจอดด้านหลังเรือ

เรือพิฆาตชั้นคงโง (ญี่ปุ่น: こんごう型護衛艦โรมาจิKongō-gata Goeikan)เป็นเรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถีของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น ได้รับการพัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke (อาร์ลีห์เบิร์ก) ของสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการปรับปรุง/ดัดแปลง ให้ตรงตามภัยคุกคามและตามความต้องการของ กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น (JMSDF)

มีภารกิจหลักคือการป้องกันภัยทางอากาศให้กับกองเรือ ส่วนภารกิจรองคือการต่อต้านเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำ ประจำการเมื่อปี 1991-1996

สำหรับเครื่องยนต์ของเรือนั้น ใช้เครื่องยนต์กังหันก๊าส Ishikawajima-Harima LM2500 ของมิซูบิชิ (ซึ่งได้รับสิทธิบัตรการผลิตของ General Electric LM2500 ซึ่งเป็นเครืองยนต์ตัวเดียวกับที่ติดตั้งใน เรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke ของสหรัฐ Type 052 Luhu-class ของกองทัพเรือปลอปล่อยประชาชนจีน และ เรือจักรีนฤเบศร ของไทย รวมถึงเรือบรรทุกเครืองบิน Vikrant ของอินเดีย) โดยเรือชั้นคงโง ติดตั้ง Ishikawajima-Harima LM2500 ถึง 4 ระบบ ทำให้เรือชั้นนี้ ขับเคลื่อนได้ที่ความเร็ว 30 นอต (56 km/h) ด้วยกำลัง 100,000 แรงม้า(75 MW)

เรือในชั้นคงโง[แก้]

เมียวโก (DDG-175)
โชไก (DDG-176)
หมายเลขสร้าง. หมายเลขลำเรือ. ชื่อ ก่อสร้าง ปล่อยลงน้ำ เข้าประจำการ เมืองท่า
2313 DDG-173 คองโง 8 พฤษภาคม 1990 26 กันยายน 1991 25 มีนาคม 1993 ซะเซะโบะ
2314 DDG-174 คิริชิมะ 7 เมษายน 1992 19 สิงหาคม 1993 16 มีนาคม 1995 โยะโกะซุกะ
2315 DDG-175 เมียวโก 8 เมษายน 1993 5 ตุลาคม 1994 14 มีนาคม 1996 ไมซุรุ
2316 DDG-176 โชไก 29 พฤษภาคม1995 27 สิงหาคม 1996 20 มีนาคม 1998 ซะเซะโบะ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]