เรือดำน้ำแบบ 039เอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เรือดำน้ำแบบ 039A)


ชั้นหยวน
เรือดำน้ำแบบ 039A ในปี 2010
ชั้นเรือโดยสรุป
ชื่อ:เรือดำน้ำชั้นหยวน
สร้างที่:อู่ต่อเรืออู่ชาง, อู่ฮั่น, มณฑลหูเป่ย์
ผู้ใช้งาน: กองทัพเรือประชาชนจีน
ชั้นก่อนหน้า:แบบ 039 (ชั้นซง)
ปฎิบัติหน้าที่:ค.ศ. 2006–ปัจจุบัน
สร้าง:7[1]
แผนที่จะสร้าง:20[1]
สร้างเสร็จ:13[1]
ใช้การอยู่:13[1]
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือดำน้ำขนาดกลาง
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 2,725 ตัน (ผิวน้ำ)[2]
3,600 ตัน (ขณะดำ)[3]
ความยาว: 77.6 เมตร (254 ฟุต 7 นิ้ว)[3]
ความกว้าง: 8.4 เมตร
กินน้ำลึก: 6.7 เมตร[2]
ระบบพลังงาน:
ระบบขับเคลื่อน: 1 เพลา
ความเร็ว: ปฏิบัติการผิวน้ำ: 16 นอต (30 กม./ชม.)
สูงสุดขณะดำ: 23 นอต (43 กม./ชม.)
ลูกเรือ: 58 นาย [3]
ยุทโธปกรณ์: 6 ท่อยิงตอร์ปิโด ขนาด 533 มิลลิเมตร (21 นิ้ว)

เรือดำน้ำแบบ 039A (ชื่อเรียกนาโต้: เรือดำน้ำชั้นหยวน) เป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าของกองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน[5] และยังเป็นเรือดำน้ำรุ่นแรกของจีนที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนโดยปราศจากอากาศ (AIP)[6]

เรือดำน้ำแบบ 039A เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อยอดมาจากเรือดำน้ำชั้น 039 ถึงแม้ว่าจะเป็นเรือดำน้ำที่ต่อยอดมา แต่ก็พบว่า 039A มีลักษณะที่แตกต่างจาก 039 โดยแทบจะสิ้นเชิง มีเพียงไม่กี่จุดเท่านั้นที่มีลักษณะคล้ายกัน ด้วยความแตกต่างนี้ทำให้ 039A มีอีกชื่อหนึ่งอย่างไม่เป็นทางการว่า เรือดำน้ำแบบ 041

รุ่นของ 039A[แก้]

ปัจจุบัน เรือดำน้ำแบบ 039A สามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 รุ่น คือ

  • แบบ 039A: เป็นเรือดำน้ำแบบแรกของชั้นหยวน ข้อแตกต่างที่เด่นที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเรือดำน้ำรุ่นก่อนหน้าอย่าง แบบ 039 ก็คือลักษณะของหอบังคับการ หอบังคับการของ 039A นั้นมีลักษณะคล้ายกับแบบ 039G แต่ตัดครีบตรงส่วนหลังหอบังคับการออกไป ซึ่งครีบนี้มีอยู่ทั้งในแบบ 039 และแบบ 039G
  • แบบ 039AG: เป็นแบบที่สองของชั้นหยวน นอกเหนือไปจากการปรับปรุงและพัฒนาส่วนย่อยแล้ว ข้อแตกต่างที่เด่นชัดเมื่อเปรียบเทียบกับแบบ 039A แบบแรกก็คือลักษณะของหอบังคับการที่มีลักษณะโค้งเว้ากว่าแบบเดิม และบริเวณตรงกลางของส่วนโค้งของหอบังคับการนั้นมีส่วนนูนขึ้นมาซึ่งภายในมีเซนเซอร์บางชนิดติดตั้งอยู่ ซึ่ง 039A แบบแรกนั้นไม่มี[3]
  • แบบ 039B: เป็นแบบที่สามของชั้นหยวน ตัวเรือมีโครงสร้างเหมือนกับแบบก่อนหน้า 039AG ข้อแตกต่างที่เด่นที่สุดระหว่าง 039B กับ 039AG นั้นก็คือ แบบ 039B ได้รวมเอาแผงโซนาร์ด้านข้างไปติดตั้งที่ส่วนของใต้ท้องเรือแทน[3] และด้วยการที่ตัวเรือใช้โครงสร้างแบบเดียวกับ 039AG ทำให้เชื่อกันว่า ปัจจุบันกองทัพเรือจีนได้ทำการปรับปรุงแบบ 039AG ทั้งหมดขึ้นมาเป็นแบบ 039B แล้ว
  • แบบ 039C: เป็นแบบที่สี่ของชั้นหยวน เปิดตัวครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2013 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะตัวเรือและการออกแบบหอบังคับการใหม่ [3] อย่างไรก็ตาม เรือดำน้ำลำใหม่ที่ปล่อยลงน้ำในเดือนเมษายน 2014 นั้นไม่มีส่วนนูนหน้าหอบังคับการที่เชื่อว่าเป็นเซนเซอร์บางชนิดที่เคยปรากฏในแบบ 039B แต่กลับมีเส้นสีขาวยาวๆสามเส้นบริเวณขอบข้างด้านบนของหอบังคับการขึ้นมาแทน ซึ่งอาจเป็นเซนเซอร์ที่ถูกออกแบบใหม่ให้กลมกลืนไปกับตัวเรือ[3]

รุ่นเพื่อการส่งออก[แก้]

ในงานนิทรรศการป้องกันประเทศนานาชาติ 2013 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีนได้เปิดตัวเรือดำน้ำแบบ S20 ซึ่งเป็นเรือดำน้ำฉบับลดขนาดของ 039A ผลิตด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการส่งออก ข้อแตกต่างหลักระหว่าง S20 กับ 039A ก็คือมีการนำระบบ AIP ออกไป แต่ตัวเรือถูกออกแบบมาให้สามารถติดตั้งได้ในภายหลัง หรือจะสั่งซื้อแบบออปชั่นพร้อมการต่อเรือเลยก็ได้ ซึ่งหากลูกค้าทำการสั่งซื้อระบบ AIP เพิ่มพร้อมการต่อเรือไปเลยจะทำให้การวางเซ็นเซอร์และระบบอาวุธที่หลากหลายต่างๆตามความต้องการของลูกค้านั้นง่ายยิ่งขึ้น[7] สำหรับการเสนอเรือดำน้ำแก่กองทัพเรือไทย ทางจีนได้เสนอเป็นรุ่นพิเศษคือแบบ S26T พร้อมระบบ AIP แบบสเตอร์ลิง ซึ่งเป็นรุ่นที่ใหญ่กว่า S20

คุณลักษณะของเรือดำน้ำแบบ S20[8]
ความยาว 66 เมตร
ความกว้าง 8.0 เมตร
ความสูง 8.2 เมตร
ระวาง ณ ผิวน้ำ 1,850 ตัน
ระวาง ขณะดำ 2,200 ตัน
ความเร็วสูงสุด 20 นอต
ความเร็วปฏิบัติการ 16 นอต
รอบปฏิบัติการ 60 วัน
ลูกเรือ 40 นาย
คุณลักษณะของเรือดำน้ำแบบ S26T[9]
ความยาว 79.5 เมตร
ความกว้าง 8.6 เมตร
ความสูง 9.2 เมตร
ระวาง ณ ผิวน้ำ 2,660 ตัน
ระวาง ขณะดำ n/a
ความเร็วสูงสุด 18 น็อต
ความเร็วปฏิบัติการ n/a
รอบปฏิบัติการ n/a
ลูกเรือ n/a

ผู้แสดงความจำนงค์จัดหา[แก้]

  • Naval flag of ไทย กองทัพเรือไทย 5 พฤษภาคม 2017 พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย ลงนามข้อตกลงจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จำนวน 1 ลำ ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาลกับ Mr. Xu Ziqiu ประธานกรรมการบริษัท China Shipbuilding & Offshore International Co., Ltd. หรือ CSOC ในฐานะผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ อาคารรับรองรัฐบาล เตี้ยวหยูไถ่ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยวงเงิน 13,500 ล้านบาท[10]
  • Naval flag of ปากีสถาน กองทัพเรือปากีสถาน เมษายน 2015 รัฐบาลอนุมัติการซื้อเรือดำน้ำแบบ S20 จำนวน 8 ลำ วงเงิน 5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ยังไม่ได้ลงนามสัญญา
  • Naval flag of บังกลาเทศ กองทัพเรือบังกลาเทศ แสดงความสนใจที่จะจัดหาเรือดำน้ำแบบ S20 จำนวน 2 ลำ ยังไม่ได้ข้อสรุป

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Ronald O'Rourke (15 พฤษภาคม 2023). "China Naval Modernization: Implications for U.S. Navy Capabilities—Background and Issues for Congress" (PDF). Congressional Research Service.
  2. 2.0 2.1 Christopher P. Carlson (31 สิงหาคม 2015). "Essay: Inside the Design of China's Yuan-class Submarine". USNI News. U.S. Navy Institute.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 039A/B/C元級柴電攻擊潛艇 [039A/B/C Yuan-class diesel-electric attack submarine]. MDC軍武狂人夢. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.
  4. 中国AIP潜艇为何强:发动机功率超国外117% [Why is China’s AIP submarine so powerful: its engine power exceeds that of foreign countries by 117%]. 观察者网. 5 พฤษภาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2015 – โดยทาง 腾讯新闻.
  5. 解析中国海军新型041元级柴电攻击潜艇(组图) [Analysis of the Chinese Navy’s new 041 Yuan-class diesel-electric attack submarine (Photos)]. 现代兵器. 18 กรกฎาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2011 – โดยทาง 新浪军事.
  6. "Yuan Type 039A". GlobalSecurity.org.
  7. 中国S20潜艇 [Chinese S20 submarine]. 人民网. 4 มีนาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2015 – โดยทาง 中国期刊网.
  8. "Pakistan plans to buy eight S20 Submarines from China based on PLAN's Type 039A SSK". Naval Industry News. Navy Recognition. เมษายน 2015.
  9. "[LIMA2017] CSOC ให้รายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับเรือดำน้ำ S26T/CSOC Provided More Detail Abot Thai S26T (UPDATE XX)". ThaiArmedForce.com. 23 มีนาคม 2017 [27 กันยายน 2011]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2017.
  10. Wassana Nanuam (26 มิถุนายน 2015). "Chinese win bid to supply subs to navy". Bangkok Post.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]