เรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Project 941

Typhoon class

ชั้นเรือโดยสรุป
ชื่อ:Akula (Акула) (NATO: Typhoon)
สร้างที่:Rubin Design Bureau
ผู้ใช้งาน:Naval flag of สหภาพโซเวียต กองทัพเรือโซเวียต
Naval flag of รัสเซีย กองทัพเรือรัสเซีย
ชั้นก่อนหน้า:เรือดำน้ำชั้นเดลตา
ชั้นถัดไป:เรือดำน้ำชั้นโบรี
ปฎิบัติหน้าที่:12 ธันวาคม ค.ศ. 1981
สร้างเสร็จ:6
ใช้การอยู่:1
แยกชิ้นส่วน:3
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือดำน้ำติดขีปนาวุธระยะไกล
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 23200-24500 ตัน ที่ผิวน้ำ
33800-48000 ตัน ขณะดำ
ความยาว: 175 เมตร
ความกว้าง: 23 เมตร
กินน้ำลึก: 12 เมตร
ระบบขับเคลื่อน: 2 × เตาปฏิกรณ์แบบใช้น้ำความดันสูง OK-650, 190 MW ต่อเตา
2 × กังหันไอน้ำแบบ VV, 37 MW ต่อเครื่อง
2 เพลา
ใบจักร 7 กลีบ
ความเร็ว: 22.22 นอต (41.15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 25.57 ไมล์ต่อชั่วโมง) ที่ผิวน้ำ
27 นอต (50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 31 ไมล์ต่อชั่วโมง) ขณะดำ
พิสัยปฏิบัติการ: 120 วัน ขณะดำ[1]
ทดสอบความลึก: 400 เมตร
อัตราเต็มที่: 160[1]
ยุทโธปกรณ์: 1 × 9K38 Igla SAM
2 × ท่อยิงตอร์ปิโด 650 มม.
RPK-7 Vodopad AShMs
Type 65K
4 × ท่อยิงตอร์ปิโด 533 มม.
• จรวดร่อน RPK-2 Viyuga
Type 53[2]
D-19 launch system
• 20 × RSM-52 SLBMs
หมายเหตุ: เรือในชั้นประกอบด้วย: TK-208[3] TK-202 TK-12[4] TK-13 TK-17[5] TK-20[6] TK-210

เรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น หรือ The Project 941 หรือ เรือดำน้ำชั้น Akula, "Акула" (ภาษารัสเซีย แปลว่า "ฉลาม") (นาโต้ใช้ชื่อว่า: Typhoon) เป็นเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธ และยังเป็นเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ที่ได้รับการพัฒนาโดยสหภาพโซเวียต ในปี 1980 ด้วยความสามารถในการบรรทุกมากกว่า 48,000 ตัน ทำให้มันเป็น เรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่สุดที่เคยมีมา แต่พวกมันกลับทำงานได้เงียบกว่าเรือดำน้ำรุ่นก่อนมาก ถึงจะมีรูปร่างขนาดใหญ่โต แต่นั้นไม่ไม่ทำให้เรือดำน้ำไต้ฝุ่นนั้นมีคุณสมบัติที่ด้อยลงเรื่องการเคลื่อนที่ หรือการหลบหลีกการตรวจจับ และด้วยการออกแบบให้ตัวเรือประกอบขึ้นด้วยเปลือกป้องกันแรงดัน 2 ชั้นวางขนานกัน และส่วนบนของตัวเรือจะมีการติดตั้งเปลือกป้องกันแรงดัน ชั้นที่ 3 ทำให้มันป้องกันแรงกดดันของน้ำได้ดี และมากขึ้น ทำให้เรือดำน้ำรุ่นนี้หลุดจากหลักการออกแบบ ที่ต้องทำให้ตัวเรือกลม (ตัวเรือทรงวงกลมรับแรงกดได้ดีที่สุด) ตัวเรือออกแบบให้แบนได้มากขึ้น ตัวเรือมีความกว้างเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มีพื้นที่ใช้สอยภายในเพิ่มขึ้น แม้แต่เครื่องออกกำลังกาย หรือสระว่ายน้ำภายใน เนื่องจากทหารส่วนใหญ่จะต้องอยู่ในใต้ทะเลเป็นเวลานานจึงต้องมีการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายได้บ้าง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Podvodnye Lodki, Yu.V. Apalkov, Sankt Peterburg, 2002, ISBN 5-8172-0069-4
  2. Only 20 torpedoes and/or AShMs can be loaded.
  3. TK-208 received the name Dmitri Donskoi.
  4. TK-12 received the name Simbirsk in 2001.
  5. TK-17 received the name Arkhangelsk on 18 November 2002.
  6. TK-20 received the name Severstal.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]