เรือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือด
Cimex lectularius
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Hemiptera
อันดับย่อย: Heteroptera
อันดับฐาน: Cimicomorpha
วงศ์ใหญ่: Cimicoidea
วงศ์: Cimicidae
Latreille, 1802
Subfamilies, Genera & Species

<!- Subfamily Afrociminae

Subfamily Cimicinae

Subfamily Cacodminae

Subfamily Haematosiphoninae

Subfamily Latrocimicinae

Subfamily Primicimicinae

เรือด (อังกฤษ: Bedbug) เป็นแมลงขาปล้องที่เป็นปรสิต อยู่ใน Phylum Arthropoda, Class Insecta มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cimex lectularius

ลักษณะทั่วไป[แก้]

เรีอดมีอวัยวะคล้ายเกล็ด 1 คู่ อยู่ด้านหลังของอกปล้องสุดท้าย หัวสั้น หลบอยู่ในอกปล้องแรกซึ่งกว้าง เรือดจะมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ตัวแบน ปากเป็นแบบเจาะ-ดูด (piercing-sucking type) มีลักษณะโค้งงอและสามารถพับเก็บภายในร่องด้านหน้าส่วนหัวได้ ขาของเรือดเป็นแบบขาเกี่ยว (clinging leg) ซึ่งจะมีลักษณะเด่น คือ ปล้อง tibia เป็นง่าม และขาปล้องสุดท้าย คือ claw จะยาวโค้งคล้ายตะขอ

ที่อยู่อาศัย[แก้]

มักพบเห็นเรือดอาศัยอยู่ตามร่องเพดานหรือรอยแตกของพื้นบ้าน เตียงไม้ และซอกตะเข็บของที่นอน เรือดเป็นปรสิตที่ไม่ได้อยู่กับ host แต่จะกัด host เมื่อรู้สึกหิว และมีความปราดเปรียวในเวลากลางคืน

การแพร่กระจาย[แก้]

เรือดเป็นแมลงที่แพร่กระจายได้รวดเร็ว แพร่จากบ้านหนึ่งไปยังอีกบ้านหนึ่งโดยไต่ไปตามฝาผนัง ท่อน้ำ การระบาดของเรือดมักพบที่บริเวณที่อยู่อาศัยที่ขาดการดูแลและเอาใจใส่เรื่องของความสะอาดของเครื่องนอน

วงชีวิต[แก้]

วัฎจักรชีวิตของเรือด

เรือดตัวเมียวางไข่ตามร่องกระดาน หรือรอยแตกของพื้นบ้าน ตะเข็บที่นอนและเสื้อผ้า เรือดตัวเมียตัวหนึ่งจะวางไข่ได้ครั้งละ 200-500 ฟอง ตัวอ่อน (nymph) ฟักออกเป็นตัวภายใน 4-21 วัน หรือระยะจากไข่เป็นตัวเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณ 1-4 เดือน

ผลต่อสุขภาพ[แก้]

นอกจากการกัดซึ่งก่อให้เกิดปัญหาแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเรือดนำโรคมาสู่มนุษย์ รอยกัดของเรือดทำให้คันมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากน้ำลายของเรือด และอาการคันนั้นจะคันอยู่หลายวัน บางคนก็มีอาการแพ้มาก

เหตุที่เรือดไม่นำโรคอาจเป็นเพราะลักษณะโครงสร้างและนิสัยของเรือด คือ เรือดไม่สำรอกเอาเลือดที่มันดูดเข้าไปแล้วออกมา และขณะที่เจาะ-ดูดเลือดนั้น ตัวเรือดจะไม่ถ่ายมูลเหมือนกับตัวมวน

การป้องกันและการกำจัดเรือด[แก้]

  1. ใช้ สารเดลตาเมทริน (deltamethrin) หรือ ไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ชนิดน้ำฉีดตามร่องและรอยแตกของพื้นบ้าน พื้นเตียง
  2. เขี่ยขยะฝุ่นละอองตามร่องและรอยแตกของพื้นบ้านออกให้หมด
  3. ทำความสะอาดหรือนำเครื่องนอนออกผึ่งแดดบ่อยๆ

อ้างอิง[แก้]

  • อินทวัฒน์ บุรีคำ. 2537. บทปฏิบัติการกีฏวิทยาทางการเกษตร. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.
  • พิไล พูนสวัสดิ์. แมลงและสัตว์ขาปล้องที่สำคัญทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่1 : บริษัทที.พี.พริ้นท์ จำกัด.
  • http://webboard.mthai.com/52/2008-02-25/370959.html เก็บถาวร 2008-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]