เรือโนอาห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เรือของโนอาห์)
Noah's Ark (1846) โดยเอ็ดเวิร์ด ฮิกส์

เรือโนอาห์ (อังกฤษ: Noah's Ark; ฮีบรู: תיבת נח; ภาษาฮีบรูไบเบิล: Tevat Noaḥ)[Notes 1] เป็นเรือในเรื่องเล่าน้ำท่วมในหนังสือปฐมกาลที่พระเจ้าไว้ชีวิตโนอาห์ ครอบครัวของท่าน และตัวอย่างสัตว์บนโลกทุกชนิดจากน้ำท่วมโลก[1] เรื่องราวนี้ยังพบในอัลกุรอาน ซึ่งตัวเรือมีชื่อเรียกว่า ซะฟีนะฮ์ นูฮ์ (อาหรับ: سفينة نوح "เรือนูฮ์") และ อัลฟุลก์ (الفُلْك)

การค้นหาเรือโนอาห์เริ่มขึ้นอย่างน้อยในสมัยของยูซิเบียส (ประมาณ ค.ศ. 275–339) และผู้ที่เชื่อมั่นในเรือลำนี้ในสมัยใหม่ยังคงหาเรือต่อไป แต่ไม่พบหลักฐานทางกายภาพที่ยืนยันได้ของเรือลำนี้เลย[2] ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่พบว่าเรือโนอาห์มีอยู่จริงตามคำอธิบายในคัมภีร์ไบเบิล[3] ที่มากไปกว่านั้น ก็ยังไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับน้ำท่วมระดับโลก และนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเรือและภัยพิบัติตามธรรมชาติระดับนี้อาจเป็นไปไม่ได้[4] นักวิจัยบางส่วนเชื่อว่าเหตุการณ์น้ำท่วมที่มีอยู่จริง (แม้อยู่ในระดับท้องที่) ในตะวันออกกลางอาจเป็นแรงบันดาลใจในการเล่าเรื่องผ่านคำพูดและการเขียนในภายหลัง โดยมีการเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างน้ำท่วมอ่าวเปอร์เซีย หรือน้ำท่วมทะเลดำเมื่อ 7,500 ปีก่อน[5][6]

รายละเอียด[แก้]

โครงสร้างของเรือ (และลำดับเหตุการณ์น้ำท่วม) คล้ายคลึงกับวิหารยิวและการบูชาวิหาร[7] ตามรายงานจากพระคัมภีร์ พระเจ้าทรงให้โนอาห์ประกอบเรือตามแบบที่พระองค์ทรงกำหนด (ปฐมกาล 6:14–16): เรือต้องยาว 300 ศอก กว้าง 50 ศอก และสูง 30 ศอก (ประมาณ 134×22×13 เมตร หรือ 440×72×43 ฟุต)[8] มิติเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการยึดติดเชิงตัวเลขต่อเลข 60 ตัวเลขเดียวกันนี้ยังตรงกับลักษณะเรือของวีรบุรุษในช่วงน้ำท่วมของบาบิโลนด้วย[1]

ชั้นสามชั้นของเรือสะท้อนถึงจักรวาลสามส่วนตามจินตนาการของชาวอิสราเอลโบราณ: สวรรค์, โลก และ ยมโลก[9] แต่ละชั้นมีความสูงเท่ากับวิหารในเยรูซาเลม ตัวเรือเองเป็นแบบจำลองขนาดย่อของจักรวาล และแต่ละชั้นมีขนาดใหญ่กว่าห้องพลับพลา 3 เท่า ทำให้มีผู้กล่าวแนะว่าผู้เขียนมองทั้งเรือกับพลับพลาเป็นตัวทำหน้าที่รักษาชีวิตมนุษย์[10][11] ข้างเรือมีประตู และ tsohar ซึ่งอาจเป็นหลังคาหรือช่องรับแสง[8] เรือต้องสร้างด้วยไม้สนโกเฟอร์ คำนี้ไม่ปรากฏในบทอื่นของคัมภีร์ไบเบิล และสามารถแยกเป็น qinnim ซึ่งเป็นคำที่สื่อถึงรังนกในส่วนอื่นของคัมภีร์ไบเบิลเสมอ ทำให้นักวิชาการบางส่วนปรับปรุงคำนี้เป็น qanim (กก)[12] เรือที่สร้างเสร็จต้องละเลงด้วย koper (หมายถึงยาชันหรือน้ำมันดิน) ในภาษาฮีบรู ทั้งสองคำนี้มีความใกล้เคียงกัน kaparta ("ละเลง") ... bakopper[12]

สิ่งที่บรรทุก[แก้]

พระเจ้ามีพระบัญชาให้โนอาห์นำสิ่งเหล่านี้ขึ้นไปบนเรือ

  • โนอาห์ และ ครอบครัว โดยมีลูกชายของโนอาห์ 3 คน ได้แก่ เชม ฮาม และยาเฟท
  • อาหารสำหรับโนอาห์ ครอบครัว และ สำหรับสัตว์ที่พระเจ้าทรงกำหนด
  • สัตว์ นก และสัตว์เลื้อยคลานชนิดละ 1 คู่ (ตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมีย 1 ตัว)

เรือโนอาห์ในความเชื่อทางศาสนา[แก้]

เหตุการณ์ของเรือโนอาห์ ยังมีกล่าวถึงในพระคัมภีร์อัลกุรอาน ในศาสนาอิสลาม พระคัมภีร์ในศาสนายูดาย นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานเรื่องเล่าปรัมปรานานาชาติ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลกนี้ แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ อาทิ เรื่องของพระมนูในวรรณกรรมฮินดู

ศาสนาคริสต์[แก้]

เนื้อหาในส่วนนี้ อ้างอิงมาจากพระธรรมปฐมกาล ซึ่งกล่าวถึงการสร้างเรือของโนอาห์ ตามพระบัญชาของพระเจ้า เพื่อช่วยให้ครอบครัวของโนอาห์ และรักษาพันธุ์สัตว์บนโลกนี้ไว้ เมื่อโนอาห์ประกอบเรือเสร็จ พระเจ้าทรงบันดาลให้ฝนตกหนัก 40 วัน และเกิดน้ำท่วมแผ่นดินเป็นเวลา 150 วัน จนผู้คนและสิ่งมีชีวิตทั่วโลกตายจนหมดสิ้น พระเจ้าจึงทรงกระทำให้น้ำลดลง ใช้เวลาอีก 150 วัน แผ่นดินจึงแห้ง

ส่วนเรือโนอาห์นั้น ไปค้างอยู่บนยอดเขาอารารัต โนอาห์ และครอบครัวได้ลงจากเรือเมื่อน้ำแห้งดีแล้ว และใช้ชีวิตตามปกติต่อไป ในครั้งนั้น พระเจ้าทรงมอบรุ้งกินน้ำ เป็นพันธสัญญาว่า จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมโลกเพื่อทำลายล้างมนุษย์อีก

ศาสนายูดาย[แก้]

ศาสนาอิสลาม[แก้]

ประวัติศาสตร์[แก้]

การค้นหาเรือโนอาห์[แก้]

การค้นหาเรือโนอาห์เริ่มขึ้นอย่างน้อยในสมัยของยูซิเบียส (ประมาณ ค.ศ. 275–339) จนถึงสมัยนี้ ปัจจุบัน การกระทำเช่นนี้โดยกว้างถือเป็นโบราณคดีเทียม (pseudoarchaeology)[13][2][14] มีการเสนอแนะสถานที่หลายแห่งที่คาดว่าเป็นที่ตั้งของเรือ แต่ก็ยังไม่มีการยืนยัน[15][16] สถานที่ค้นหาอย่าง Durupınar site, พื้นที่บนเขาเท็นดือเร็กในตุรกีตะวันออก และเขาอารารัต แต่การสำรวจทางธรณีวิทยาของส่วนหลงเหลือที่เป็นไปได้ของเรือได้แสดงให้เห็นเพียงการก่อตัวของตะกอนตามธรรมชาติเท่านั้น[17] ในขณะที่กลุ่มที่ตีความพระคัมภีร์ตามตัวอักษรยังคงเชื่อมั่นถึงการดำรงอยู่ของเรือในประวัติศาสตร์โบราณคดี ความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ควบคู่กับการเกิดน้ำท่วมยังคงมีการโต้แย้ง[18][19]

เรือโนอาห์อยู่ที่ใด[แก้]

ไม่มีใครรู้

สิ่งสืบทอดทางวัฒนธรรม: เรือโนอาห์จำลอง[แก้]

สวนสนุกอาร์กเอนเคาน์เตอร์

ในสมัยใหม่ ทั้งตัวบุคคลและองค์กรต่างพยายามสร้างเรือโนอาห์ขึ้นใหม่โดยใช้มิติที่ระบุไว้ในพระคัมภีร์[20] ตัวอย่างเรือจำลองเหล่านี้ ได้แก่ โยฮันส์อาร์กสร้างเสร็จใน ค.ศ. 2012 และอาร์กเอนเคาน์เตอร์สร้างเสร็จใน ค.ศ. 2016[21]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. คำว่า "ark" ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่มาจากภาษาอังกฤษเก่าว่า aerca หมายถึงหีบหรือกล่อง (ดู Cresswell 2010, p.22) ศัพท์ภาษาฮีบรูสำหรับเรือ (teva) ปรากฏในโทราห์สองครั้ง คือ ในตำนานน้ำท่วมโลก (ปฐมกาล 6-9) และในหนังสืออพยพที่สื่อถึงตะกร้าที่โยเคเบดวางโมเสสในวัยทารกลงไป (ศัพท์สำหรับหีบแห่งพันธสัญญานั้นค่อนข้างแตกต่าง) เรือลำนี้สร้างขึ้นเพื่อช่วยโนอาห์ ครอบครัวของท่าน และตัวแทนสัตว์ทั้งหมดจากน้ำท่วมที่พระเจ้าส่งลงมาเพื่อขจัดชัวิตทั้งหมด และคำว่า teva ในสองกรณี มีส่วนเชื่อมโยงกับการรอดพ้นภัยจากน่านน้ำ (ดู Levenson 2014, p.21)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Bailey 1990, p. 63.
  2. 2.0 2.1 Cline, Eric H. (2009). Biblical Archaeology: A Very Short Introduction. Oxford University Press. pp. 71–75. ISBN 978-0199741076.
  3. Moore, Robert A. (1983). "The Impossible Voyage of Noah's Ark". Creation Evolution Journal. 4 (1): 1–43. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-17. สืบค้นเมื่อ 2016-07-10.
  4. Lorence G. Collins (2009). "Yes, Noah's Flood May Have Happened, But Not Over the Whole Earth". NCSE (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2018-08-22.
  5. Ryan, W. B. F.; Pitman, W. C.; Major, C. O.; Shimkus, K.; Moskalenko, V.; Jones, G. A.; Dimitrov, P.; Gorür, N.; Sakinç, M. (1997). "An abrupt drowning of the Black Sea shelf" (PDF). Marine Geology. 138 (1–2): 119–126. Bibcode:1997MGeol.138..119R. CiteSeerX 10.1.1.598.2866. doi:10.1016/s0025-3227(97)00007-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-23.
  6. Ryan, W. B.; Major, C. O.; Lericolais, G.; Goldstein, S. L. (2003). "Catastrophic flooding of the Black Sea". Annual Review of Earth and Planetary Sciences. 31 (1): 525−554. Bibcode:2003AREPS..31..525R. doi:10.1146/annurev.earth.31.100901.141249.
  7. Blenkinsopp 2011, p. 139.
  8. 8.0 8.1 Hamilton 1990, pp. 280–281.
  9. Kessler & Duerloo 2004, p. 81.
  10. Wenham 2003, p. 44.
  11. Batto 1992, p. 95.
  12. 12.0 12.1 Hamilton 1990, pp. 281.
  13. Fagan, Brian M.; Beck, Charlotte (1996). The Oxford Companion to Archaeology. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0195076189. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  14. Feder, Kenneth L. (2010). Encyclopedia of Dubious Archaeology: From Atlantis to the Walam Olum. Santa Barbara, California: ABC-CLIO. ISBN 978-0313379192. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  15. Mayell, Hillary (27 เมษายน 2004). "Noah's Ark Found? Turkey Expedition Planned for Summer". National Geographic Society. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2010.
  16. Stefan Lovgren (2004). Noah's Ark Quest Dead in Water เก็บถาวร 2012-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – National Geographic
  17. Collins, Lorence G. (2011). "A supposed cast of Noah's ark in eastern Turkey" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-10-26.
  18. "Review of John Woodmorappe's "Noah's Ark: A Feasibility Study"". www.talkorigins.org. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
  19. "The Impossible Voyage of Noah's Ark | National Center for Science Education". ncse.ngo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
  20. Antonson, Rick (12 April 2016). Full Moon over Noah's Ark: An Odyssey to Mount Ararat and Beyond (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. ISBN 978-1-5107-0567-8.
  21. Thomas, Paul (16 April 2020). Storytelling the Bible at the Creation Museum, Ark Encounter, and Museum of the Bible (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing. p. 23. ISBN 978-0-567-68714-2.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

ข้อคิดเห็นในหนังสือปฐมกาล

ทั่วไป

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Noah's Ark