เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เรขลักษณ์ (มุทราศาสตร์))

เรขลักษณ์ หรือ เรขลักษณ์มาตรฐาน (อังกฤษ: Ordinary หรือ honourable ordinary) ในมุทราศาสตร์ “เรขลักษณ์” คือองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่อยู่ในกรอบของเส้นตรงและแล่นจากด้านหนึ่งของตราไปยังอีกด้านหนึ่ง หรือจากตอนบนลงมายังตอนล่างของโล่ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มเครื่องหมายที่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) ที่ให้ความสำคัญรองลงมาโดยนักวิชาการทางมุทราศาสตร์บางคน แต่เครื่องหมายในกลุ่มนี้ก็ใช้กันมานานพอกับเรขลักษณ์มาตรฐาน เรขลักษณ์มาตรฐานตามทฤษฎีแล้วจะใช้เนื้อที่หนึ่งในสามของโล่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็จะใช้เนื้อที่แตกต่างกันไป นอกจากเมื่อเรขลักษณ์เป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องหมาย เช่นในตราแผ่นดินของออสเตรียก็จะมีขนาดต่างออกไป

คำว่า “เรขลักษณ์มาตรฐาน” และคำว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” เป็นคำที่สร้างความขัดแย้งในหมู่นักมุทราศาสตร์ เพราะเป็นการใช้เรขลักษณ์ที่ไม่มีมาตรฐานและการใช้ก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นการใช้คำทั้งสองจึงไม่ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการทางด้านมุทราศาสตร์[1] อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ (Arthur Charles Fox-Davies) ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1909 ให้ความเห็นว่าคำสองคำนี้เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย นักเขียนเกี่ยวกับมุทราศาสตร์ และไมใช่ นักมุทราศาสตร์[2] โดยโต้ว่า "เป็นสิ่งเกินกว่าความไร้สาระในการที่สร้างความจำเป็นในการแบ่งกลุ่มดังว่า" และในความเห็นของฟ็อกซ์-เดวีส์ “เรขลักษณ์พิเศษ” ก็ "ไม่ต่างไปจากเรขลักษณ์ที่มีอยู่แล้ว"[3]

เรขลักษณ์[แก้]

เรขลักษณ์ (หรือ “เรขลักษณ์มาตรฐาน”) เกือบเหมือนเส้นแบ่ง (Line) แต่ไม่ถือว่าเป็นเส้นแบ่งแต่เป็นวัตถุ (object) กระนั้นก็ยังเป็นที่โต้เถียงกันว่าสิ่งใดคือเครื่องหมายเรขาคณิตที่แท้จริงที่ถือว่าเป็นเรขลักษณ์ ที่เป็นสิ่งที่มีขอบที่เป็นเส้นตรงและแล่นจากขอบโล่หนึ่งไปยังอีกขอบโล่หนึ่ง ยกเว้นที่ตั้งอยู่บนตอนบนสุดของโล่แล้วเรขลักษณ์ก็จะเป็นตั้งอยู่กลางของโล่

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบกางเขน หรือ แถบกากบาท (Cross)
แถบสองแถบตัดกันตามแนวตั้งและแนวนอนเหมือนเครื่องหมายบวก (“+”)
แถบตั้ง (Pale)
เป็นแถบที่ตั้งตามแนวดิ่งกลางโล่ เช่นในตราของ Alaincourt-la-cote ในฝรั่งเศส (รูปซ้าย)
* แถบตั้งแคนาดา (Canadian pale) เป็นแถบตั้งที่แปลงออกไปที่ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1964 เพื่อใช้สำหรับธงชาติแคนาดาใหม่ () ที่แถบใช้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งของพื้นตรา







นโปเลียนที่ 2

บาร์เบียรา
แถบขวาง (Fess)
เป็นแถบที่ตั้งตามแนวนอนหรือแนวขวางของโล่เช่นที่ปรากฏในโล่กลางตราแผ่นดินของออสเตรีย () หรือตราของนโปเลียนที่ 2 แห่งไรคชตัทที่มี “แถบขวางสีทอง” กลางโล่
* แถบขวางแคบ (Bar) - เป็นแถบที่แคบกว่า “แถบขวาง” มาตรฐาน (ที่ตามกฎแล้วกล่าวว่าจะใช้เนื้อที่หนึ่งในห้าของพื้นตราแทนที่จะเป็นหนึ่งในสามเช่นแถบขวางมาตรฐาน) เช่นในตราของชาแบร์ต เดอ บาร์เบียรา (รูปซ้าย) บางครั้งก็ถือว่าเป็นเรขลักษณ์ที่เป็นอิสระจากแถบขวาง และมักจะไม่ใช้เป็นแถบโดดแถบเดียว
* ในด้านธัชวิทยาแถบขวางที่กว้างกว่าหนึ่งในสามของความสูงของพื้นธงเรียกว่าแถบขวางสเปน (Spanish fess) ตามที่ปรากฏบนธงชาติสเปน()
แถบทแยง (Bend)
แถบที่แล่นเฉียงจากมุมซ้ายบน (มุมขวาของผู้ถือโล่, มุมซ้ายของผู้ดูโล่) ลงไปยังมุมขวาล่าง เช่นในโล่ภายในตราของตราอาร์มของอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งบาเดน (รูปซ้าย)
แถบจั่ว (Chevron): เป็นแถบที่มีลักษณะเหมือนจั่วบ้านเช่นในตราอาร์มของหลุยส์ มารี ออกัสแตง ดอมงต์ เดอ โรเชบารอง (รูปซ้าย) โดยทั่วไปแล้วแถบของจั่วมักจะเป็นมุมฉาก
* จั่วที่มีมุมแหลมกว่ามุมฉากนิยามว่า “a chevron enhanced” หรือ “แถบจั่วแหลม” ()
* จั่วที่มีมุมกว้างกว่ามุมฉากนิยามว่า “a chevron diminished” หรือ “แถบจั่วป้าน” ()
แถบกางเขนไขว้ หรือ แถบเซนต์แอนดรูว์ (Saltire หรือ St Andrew's cross)
เป็นแถบตัดกันในรูปตัว “X” เช่นที่เห็นบนธงชาติสกอตแลนด์ () หรือบนตราของโบบินญีในฝรั่งเศส (ซ้าย)
แถบขวางบน (Chief)
เป็นแถบที่ตั้งอยู่ตามแนวนอนบนสุดที่ติดกับขอบด้านบนของโล่ เช่นในตราอาร์มของจอห์น นอร์มันนายกเทศมนตรีของนครหลวงลอนดอนของอังกฤษของปี ค.ศ. 1250 (รูปซ้าย)

เรขลักษณ์สามแบบข้างล่างบางครั้งก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มเรขลักษณ์มาตรฐาน แต่บางครั้งก็จัดอยู่ในกลุ่มเรขลักษณ์พิเศษ:[4]

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
ขอบโล่ (Bordure)
เป็นแถบที่แล่นตามทรงของขอบรอบโล่ที่มีสีตัดกับส่วนใน มักใช้ในการช่วยสร้างเอกตรา (Cadency) ซึ่งเป็นเทคนิคการออกแบบตราที่ทำให้เป็นเอกลักษณ์จากตราอื่น เช่นในตราอาร์มของแคว้นอาร์แดชในฝรั่งเศส (รูปซ้าย)
แถบสามเหลี่ยม (Pile)
เป็นแถบสามเหลี่ยมที่มุมแหลมอยู่ตอนล่างและฐานอยู่ตอนบน เช่นที่ปรากฏบนตราของ Rivas-Vaciamadrid (มาดริด) ในสเปน (รูปซ้าย)
แถบวาย (Pall)
เป็นแถบรูปตัว “Y” เช่นที่ปรากฏบนตราของ La Bresse ในฝรั่งเศส (รูปซ้าย)
* แถบวายอีกทรงหนึ่งเรียกว่า แถบวายลอย (shakefork) ซึ่งเป็นรูป “Y” ที่ตอนปลายแฉกสองข้างเป็นมุมแหลมและดูลอยตัว ที่นิยมใช้กันในสกอตแลนด์เช่นในตราอาร์มของตระกูลคันนิงแฮมแห่งสกอตแลนด์ ()

เรขลักษณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป แต่อาจจะแปลงออกไปตามที่แสดงให้เห็นในตัวอย่างข้างล่าง

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
หยักโค้ง (engrailed)
ที่เป็นลายหยักที่เป็นโค้งเช่น “แถบจั่วหยักโค้ง” หรือ “แถบทแยงหยักโค้ง” หรือ “แถบขวางบนหยักโค้ง” ตัวอย่างเช่นตราที่นิยามว่าเป็น “a cross engrailed” หรือ “แถบกางเขนหยักโค้ง” ตราของเมือง Villennes-sur-Seine ในฝรั่งเศส (ซ้าย)
หยักแหลม (dancetty)
ที่เป็นลายหยักที่เป็นมุมแหลมเช่น “แถบจั่วหยักแหลม” หรือ “แถบทแยงหยักแหลม” หรือ “ขอบโล่หยักแหลม” ตัวอย่างเช่นตราที่นิยามในช่องตราว่าเป็น “a fess dancetty” หรือ “แถบขวางหยักแหลม” ในตราของตระกูลลาโรเชต์ในฝรั่งเศส (ซ้าย) หรือ “แถบขวางบนหยักแหลม” ในตราของ Aigueperse ในฝรั่งเศส ()
คลื่น (Wavy)
ที่เป็นขอบที่มีลายโค้งเหมือนคลื่นเช่น “แถบตั้งคลื่น” หรือ “แถบขวางคลื่น” หรือ “แถบจั่วคลื่น” ตัวอย่างเช่นตราที่นิยามในช่องตราว่าเป็น “Saltires wavy” หรือ “แถบกางเขนไขว้คลื่น” ในตราของเมือง Sarralbe ในฝรั่งเศส (ซ้าย)
เรขลักษณ์ขอบผสม
เช่นตราที่นิยามในช่องตราว่า “a bend fir-twigged and wavy” หรือ “แถบทแยงแต่ด้วยกิ่งสน และคลื่น” บนตราของเมือง Kuusjoki ในฟินแลนด์ (ซ้าย)

เรขลักษณ์พิเศษ[แก้]

รูปเรขาคณิตบางรูปที่ใช้ในการนิยามตราไม่ถือว่าเป็น “เรขลักษณ์มาตรฐาน” แต่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) รูปทรงโดยทั่วไปแล้วจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตตามลักษณะของเรขลักษณ์มาตรฐานของเครื่องหมายอิสริยาภรณ์ แต่ต่างจากเรขลักษณ์มาตรฐานตรงที่จะไม่แล่นจากขอบด้านหนึ่งไปยังขอบอีกด้านหนึ่งของโล่ โดยทั่วไปเรขลักษณ์พิเศษรวมทั้ง:

เรขลักษณ์ฐาน[แก้]

เรขลักษณ์ฐาน (Fixed subordinaries) คือเรขลักษณ์ที่ติดกับขอบใดขอบหนึ่งของโล่

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย

สี่เหลี่ยมบนซ้าย

สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก

เว้าข้าง

Asnières


Jean de Malines

แคทเธอริน เฮาเวิร์ด
สี่เหลี่ยมบนซ้าย (Quarter)
หมายถึงเครื่องหมายรูปสี่เหลี่ยมที่ปรากฏตอนบนซ้ายของโล่ ตัวอย่างของนิยามของ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” ที่ปรากฏในรูปซ้ายสุดคือ “Argent, a quarter gules” หรือ “(พื้นตรา) สีขาว สี่เหลี่ยมบนซ้ายสีแดง” ตัวอย่างของการใช้ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” ก็ได้แก่ตราของเมือง Asnières-sur-Seine ในฝรั่งเศส
* สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก (Canton) - - เป็นเครื่องหมายที่มีขนาดหนึ่งในสี่ของ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” ที่ปรากฏบนมุมซ้ายบนของโล่ ตามกฎแล้วขนาดของ “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” จะใช้เนื้อที่หนึ่งในเก้าของโล่ ตัวอย่างของนิยามของ “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” คือ “Argent, a Canton gules” หรือ “(พื้นตรา) สีขาว สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็กสีแดง” ตัวอย่างของการใช้ “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” ก็ได้แก่ตราของ Jean de Malines ในฝรั่งเศส () “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” แต่ก็มีผู้เห็นว่าเป็นเรขลักษณ์ที่ควรจะแยกมาเป็นอิสระ เพราะเป็นเครื่องหมายที่ตรงกับกฎทางมุทราศาสตร์ที่ไม่ตรงกับกฎของการใช้ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” และมีกฎที่เฉพาะเจาะจงเป็นของตนเอง เช่นการใช้โดยบารอนเน็ตในสหราชอาณาจักรในการเป็นบริเวณที่ใช้ในการแสดงตรายศ (badge) ของตำแหน่งต่างๆ เป็นต้น การใช้ “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” น้อยครั้งนักจะใช้เนื้อที่ที่ใหญ่ถึงหนึ่งในสามของตอนบนของโล่ ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่านั้นมาก และมักจะไม่อยู่ในสี่เหลี่ยมจตุรัสแต่จะอยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีด้านที่ยาวกว่าเป็นแนวตั้ง
* เว้าข้าง (Flaunches) - - เป็นเครื่องหมายที่มักจะปรากฏเป็นคู่ที่มีลักษณะโค้งที่เว้าเข้ามาจากสองด้านของโล่เช่นในช่องตราหนึ่ง เช่นที่ใช้ในส่วนหนึ่งของตราของแคทเธอริน เฮาเวิร์ด ()

แถบสาน

ครึ่งสามเหลี่ยม

ลาแซงคูร์ต

ดยุคแห่งอาร์กายล์
แถบสาน (Fret)
เป็นแถบหลายแถบที่ไขว้สลับ ตัวอย่างที่ใช้ก็ได้แก่ตราของลาแซงคูร์ตในฝรั่งเศส (รูปซ้าย)


* ครึ่งสามเหลี่ยม (Giron) - - เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นครึ่งของ “สี่เหลี่ยม” ที่ตัดทแยง กล่าวกันว่าเป็นเครื่องหมายเก่าแต่ใช้กันไม่มากนัก แต่ก็มีตัวอย่างที่ใช้กันในสมัยใหม่อยู่บ้างเช่นที่ปรากฏบนตราของดยุคแห่งอาร์กายล์ ()


ขอบใน

ขอบในบาง

ฮาลิสโค

ตราสกอตแลนด์
ขอบใน (Orle)
เป็น “ขอบโล่” ที่แยกจากขอบนอกของโล่เช่นในตราของฮาลิสโค (Jalisco) ในเม็กซิโก แม้ว่าขอบในแปลงจะเป็น “Tressure” หรือ “ขอบในแคบ” แต่ก็มีตัวอย่างของ “Fillet orles” (“ขอบในบาง”) มักจะกล่าวกันว่าขอบในจะไม่มีเครื่องหมายตั้งอยู่บนขอบ แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง ถ้ามีเครื่องหมายก็มักจะเป็นจำนวนแปดนอกจากจะระบุเป็นอื่น และจะจัดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ปรากฏบนขอบโล่ และจะนิยามว่า “in orle” หรือ “an orle of” เช่นที่ปรากฏบนตราของกวาลดาลาฮาราในเม็กซิโก ()
* ขอบในแคบ (Tressure) - เป็นขอบที่บางกว่า “ขอบใน” “ขอบในแคบ” ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือขอบในแคบของตราแผ่นดินของสกอตแลนด์ () ที่นิยามว่า “double tressure flory counter flory” (“ขอบในแคบคู่ สัญลักษณ์ดอกลิลลีสลับ”)

เรขลักษณ์ลอย[แก้]

เรขลักษณ์ลอย (Mobile subordinaries) คือเรขลักษณ์ที่ไม่ติดกับขอบใดขอบหนึ่งของโล่

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย

Adrets

ตราแผ่นดินเดนมาร์ก
โล่ภายในตรา (Escutcheon)
คือโล่ที่ใช้เป็นเครื่องหมายภายในโล่หลัก เช่นที่ใช้ในตราของ Les Adrets-de-l'Estérel ในฝรั่งเศส โล่ตั้งอยู่กลางตราบางครั้งก็นิยามว่า “inescutcheon” หรือ “escutcheon of pretence” หรือ “escutcheon en surtout” (“โล่ใน” หรือ “โล่ตั้งอยู่ภายใน” ) โล่ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นตราอาจจะเป็นเพียงสิ่งตกแต่งที่ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่ในตราที่ใช้สำหรับอาณาจักรหรือรัฐ “โล่ใน” มักจะเป็นโล่ของเจ้าผู้ครองหรือโล่ที่ประกอบด้วยเครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักร ที่ตั้งอยู่บนส่วนที่ปรากฏในช่อง “แบ่งสี่” หรือช่องแบ่งต่างๆ ที่มากกว่านั้นของโล่หลัก เช่นที่ปรากฏบนตราแผ่นดินของเดนมาร์ก ที่ “โล่ใน” เป็นโล่ของราชวงศ์โอลเดนบวร์ก หรือ ตราแผ่นดินของสเปน () ที่ “โล่ใน” เป็นโล่ของราชวงศ์บูร์บอง-อองชู ส่วน “โล่ใน” ที่ใช้ในสกอตแลนด์มีความหมายหลายอย่าง

ข้าวหลามตัด

ข้าวหลามตัดกลวง

ข้าวหลามตัดรู

เบลนาฟอน

หลุยส์ อัลแบร์ต

แซงต์มาร์แตงบูลอยญน์
ข้าวหลามตัด (Lozenge)
เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่คล้ายกับรูปข้าวหลามตัดที่พบบนไพ่ เช่นในตราของเทศบาลเมืองเบลนาฟอนในเวลส์

* ข้าวหลามตัดแคบ (Fusil): เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่แคบกว่า “ข้าวหลามตัด” มาตรฐาน เช่นในตราอาร์มของวิลเลียม มองตาคิวท์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 2 ()

* ข้าวหลามตัดกลวง (Mascle) () เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ภายในกลวงเช่นในตราอาร์มของหลุยส์ ชาร์ลส์ อัลแบร์ต (ค.ศ. 1620-1690) ()

* ข้าวหลามตัดรู (Rustre) () เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ภายในมีรูกลวงกลมเช่นในตราของเมืองแซงต์มาร์แตงบูลอยญน์ในฝรั่งเศส ()

ทรงกลม (Roundel): เป็นทรงกลมหรือลูกบอลล์เช่นบนธงของอาณาจักรดยุคแห่งคอร์นวอลล์ () และของตระกูลเมดิชิ () หรือในตราของ Bais ในฝรั่งเศส (รูปซ้าย)
หยด (Goutte): เป็นทรงที่คล้ายหยาดน้ำที่อาจจะเป็น หยดทอง (Goutte d'or) หรือ หยดทอง (Goutte de sang) เช่นบนตราของสังฆมณฑลแบงกอร์ในไอร์แลนด์ (รูปซ้าย)

ตัวอย่างการนิยามเรขลักษณ์ลอยแบบต่างๆ

ลักษณะ ลักษณะ ลักษณะ
”Or, an inescutcheon sable”
”พื้นตราสีทอง, โล่ภายในตราสีดำ
”Or, three escutcheons gules”
”พื้นตราสีทอง, โล่ภายในตราสีแดง
”Argent, a lozenge sable”
”พื้นตราสีเงิน, ข้าวหลามตัดสีดำ
”Argent, seven lozenges
(four and three) sable”
”พื้นตราสีเงิน, ข้าวหลามตัดเจ็ดอัน (สี่(แถวบน)และสาม(แถวล่าง)) สีดำ
”Gules, three lozenges argent”
”พื้นตราสีแดง, ข้าวหลามตัดสามอันสีเงิน
”Gules, three mascles Or”
”พื้นตราสีแดง, ข้าวหลามตัดกลวงสามอันสีทอง
”Or, a roundel azure”
”พื้นตราสีทอง, ลูกกลมสีน้ำเงิน
”Azure ten bezants in pile”
”พื้นตราสีน้ำเงิน, ลูกกลมสิบลูก
เรียงแบบแถบสามเหลี่ยม
“escutcheon en surtout”
”โล่ใน” [เหนือช่องตรา]

เรขลักษณ์แปรรูป[แก้]

ถ้าตราอาร์มมีเรขลักษณ์มีขนาดต่างจากขนาดของเรขลักษณ์มาตรฐาน นิยามของตราจะใช้คำว่า “diminutives” หรือ “เรขลักษณ์แปรรูป” ที่ได้แก่:

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์แถบตั้ง (pale)

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบตั้งแคบ (pallet)
ตามกฎคือครึ่งของแถบตั้งเช่นในตราของ Châteauneuf-de-Randon
แถบตั้งแคบบาง (endorse)
มีขนาดกว้างครึ่งหนึ่งของ “แถบตั้งแคบ” เช่นในตราของเทศบาลเมือง Argoules ในฝรั่งเศส

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์แถบขวาง (Fess)

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบขวางแคบ (Bar) มีขนาดกว้างเท่ากับครึ่งหนึ่งของ “แถบขวาง” (ดูคำอธิบายข้างบน) เช่นตราของ Affracourt ในฝรั่งเศส
แถบขวางแคบบาง (Barrulet)
แคบกว่าแถบขวางแคบเช่นในตราของตระกูล Budange

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์แถบทแยง (bend)

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบทแยงแคบ (Bendlet)
ตามกฎจะมีขนาดกว้างเท่ากับครึ่งหนึ่งของ “แถบทแยง” เช่นในตราของ Crosne (Essonne)
แถบทแยงแคบบาง ('Ribbon หรือ ribband)
ตามกฎจะมีขนาดกว้างเท่ากับครึ่งหนึ่งของ “แถบทแยงแคบ” เช่นที่ปรากฏในตราของตระกูลเคอริค “แถบทแยงแคบบาง” บางครั้งก็เรียกว่า “cost” ในคำว่า “coat” แสดงเครื่องหมายแถบทแยงที่ประกบด้วยแถบทแยงแคบบาง (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ “Cottise” หรือ “เส้นประกบ” ข้างล่าง)
แถบทแยงลอย (Baton)
ตามกฎคือ “แถบทแยง” ที่ยืดไม่ถึงขอบของโล่ ที่เป็นเรขลักษณ์ที่ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เช่นในตราของ pays de Dombes ในฝรั่งเศส

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบทแยงขวา” (Bend sinister) (ทแยงไปมุมซ้ายล่างขึ้นไปยังมุมขวาบน (มุมขวาล่างขึ้นไปยังมุมซ้ายบนของผู้ถือโล่))

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบทแยงขวาแคบ (Bendlet sinister)
ตามกฎจะมีขนาดกว้างครึ่งหนึ่งของ “แถบทแยงแคบขวา” บางครั้งก็เรียกว่า “scarpe” เช่นในตราของ Val-d'Oise ในฝรั่งเศส

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบจั่ว” (Chevron)

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบจั่วแคบ (Chevronel)
มีขนาดกว้างครึ่งหนึ่งของ“แถบจั่ว” ปติ เช่นในตราของอาร์มองด์ ฌอง ดู เปลสซิส เดอ ริเชอลิเออ (Cardinal Richelieu)

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบขวางบน” (Chief)

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบขวางบนแคบ (Comble)
มีขนาดกว้างครึ่งของ “แถบขวางบน” เช่นในตราของ Dennebroeucq
แถบขวางบนแคบ (Chief enhanced)
มีขนาดกว้างครึ่งหนึ่งของ “แถบขวางบน” ที่บางครั้งก็กล่าวว่ามีลักษณะที่ไม่แตกต่างไปจาก “Comble”
แถบขวางบนบาง (Fillet)
เป็นแถบที่ผสมระหว่าง “แถบขวางแคบบาง” กับ “แถบขวางบน” โดยมีแถบขวางแคบบางตั้งอยู่ใต้แถบขวาง เช่นตราของ Amblainville

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบกางเขน” (Cross)

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบกางเขนบาง (Fillet cross)
มีขนาดกว้างน้อยกว่าครึ่งของ “แถบกางเขน” เช่นในตราของ Denis de Fossez

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบกางเขนไขว้” (Saltire)

ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบกางเขนไขว้บาง (Fillet saltire)
มีขนาดกว้างน้อยกว่าครึ่งของ “แถบกางไขว้” เช่นในตราของทอมัส ฟิทซ์แอลแลน

เส้นประกบ และ การสร้างเส้นประกบ[แก้]

เส้นประกบ[แก้]

“Cottise” หรือ “cost” (สะกดได้หลายอย่าง) เป็นขอบบางที่ตั้งอยู่สองข้างของแถบทแยงโดยนิยามแถบทแยงว่า “between two cottises/cottised” หรือ “ตั้งอยู่ระหว่างเส้นประกบ”[5]

การสร้างเส้นประกบในปัจจุบัน[แก้]

ในปัจจุบันเส้นประกบมิได้ใช้แต่เฉพาะกับแถบทแยงเท่านั้นแต่ใช้กับเรขลักษณ์แทบทุกแบบ และบางครั้งก็ใช้กับเครื่องหมาย (Charge) ด้วย โดยจะตั้งเรขลักษณ์ระหว่างเรขลักษณ์แปลงรูปที่เป็นของลักษณะเดียวกับตัวเรขลักษณ์เอง แต่ในบางครั้งก็อาจจะใช้ลวดลายอื่นที่ต่างจากตัวเรขลักษณ์:

ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย
เส้นประกบของ แถบตั้ง (Pale) เช่นในตราของโอต-มาร์นในฝรั่งเศส
เส้นประกบของ แถบขวาง (Fesses) () เช่นในตราของ Boutteville ในฝรั่งเศส
เส้นประกบของ แถบทแยง (Bend) () เช่นในตราเก่าของบลัวส์
เส้นประกบของ แถบทแยง (Bend) คนละลักษณะเช่นในตราของเมิร์ต-เอ-โมเซลล์
เส้นประกบของ แถบจั่ว (Chevrons) เช่นในตราของไมเคิล กรีนวูด เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนแห่งแคนาดา
เส้นประกบของ แถบวาย (Palls หรือ pairles) เช่นในตราของFOO, Suan-Seh เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนแห่งแคนาดา
เส้นประกบของ แถบกางเขน (Crosses) เช่นในตราของเพาเวลล์ เก็บถาวร 2009-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนในแคนาดา
เส้นประกบด้านเดียว เช่นในตราของโจเซฟ เฟรเดอริค เลเวนส์ เก็บถาวร 2009-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนแห่งแคนาดา
เส้นประกบหยัก (Fracted ordinaries) เช่นในตราของเทศบาลแขวงไนแอกรา เก็บถาวร 2009-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนในแคนาดา
เส้นประกบโดยไม่มีเรขลักษณ์ เช่นในตราของคูร์กูล (Courgoul) ในฝรั่งเศส
เส้นประกบด้านในเรขลักษณ์ (Cottising inwardly (or to the interior)) เช่นในตราของCommemorative Distinction Gulf of St Lawrence เก็บถาวร 2009-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนแห่งแคนาดา
เส้นประกบตกแต่งด้วยสีและสิ่งประดับ (colouring an ornamenting') เช่นตราของ Ay ในฝรั่งเศส

กลวงออก[แก้]

เรขลักษณ์กลวงออกเป็นรูปสิงโตของเบรสส์ในฝรั่งเศส

เรขลักษณ์ไม่ว่าจะเป็น “เรขลักษณ์มาตรฐาน” หรือ “เรขลักษณ์พิเศษ” สามารถที่จะ “กลวงออก” (อังกฤษ: Voiding) จากตราโดยไม่ต้องมีคำบรรยาย ซึ่งหมายความว่าเครื่องหมายได้รับการ “ลบออก” แต่ทรงของเครื่องหมายไว้ทิ้งไว้เป็นรูกลวงที่ทำให้เห็นพื้นตราด้านหลัง

ส่วนที่กลวงออกอาจจะใช้ผิวตราที่ต่างสีของพื้นตราของเครื่องหมาย ในกรณีก็ต้องนิยามสีของผิวตราเช่นในตราของเมื่องแอ็บบ็อทฟอร์ด เก็บถาวร 2009-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในแคนาดา

หรือส่วนที่กลวงออกอาจจะเป็นรูปทรงที่แตกต่างจากรูปทรงของเครื่องหมายเช่นในตราของโรงเรียนมัธยมเท็คนิคในแอฟริกาใต้ ที่นิยามว่า “Quarterly gules and sable; a lozenge or voided of a quatrefoil; at its centre a cog wheel argent; the whole within a bordure or” [1]

อ้างอิง[แก้]

  1. See "CHAPTER IX: THE SO-CALLED ORDINARIES AND SUB-ORDINARIES" in Fox-Davies (1909) A Complete Guide to Heraldry.
  2. Fox-Davies (1909), pp. 106-107.
  3. Fox-Davies (1909), p. 107.
  4. "American Heraldic Society: An American Heraldic Primer". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-22. สืบค้นเมื่อ 2009-08-29.
  5. "Marcenaro, Scotland". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-25. สืบค้นเมื่อ 2009-01-04.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Boutell, Charles (1983). Boutell's Heraldry. Revised J P Brook-Little, Norroy and Ulster King of Arms. London and New York: Frederick Warne.
  • Fox-Davies, Arthur Charles (1986, first published 1904). The Art of Heraldry: An Encyclopedia of Armory London: Bloomsbury Books.
  • Fox-Davies, Arthur Charles (1909). A Complete Guide to Heraldry. New York: Dodge Pub. Co. ISBN 0517266431. LCCN 09-0
  • Greaves, Kevin (2000). A Canadian Heraldic Primer. Ottawa: The Heraldry Society of Canada. ISBN 0969306342. LCCN 20-0
  • Sir Thomas Innes of Learney, Lord Lyon King of Arms (1978). Scots Heraldry. Revised Malcolm R Innes of Edingight, Marchmont Herald. London and Edinburgh: Johnston and Bacon. LCCN 79-0
  • Nisbet, Alexander (1984, first published 1722). A system of heraldry. Edinburgh: T&A Constable.
  • Sir James Balfour Paul, Lord Lyon King of Arms (1969, first published 1903). An Ordinary of Arms Contained in the Public Register of All Arms and Bearings in Scotland, (2nd edition, paperback reprint). Baltimore: Genealogical Publishing Co.
  • David Reid of Robertland and Vivien Wilson (1977). An Ordinary of Arms, volume 2 [1902-1973]. Edinburgh: Lyon Office.
  • Urquhart, R M (1979). Scottish Civic Heraldry: Regional - Islands - District. London: Heraldry Today. ISBN 0900455268. LCCN 80-0


ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เรขลักษณ์ในอิสริยาภรณ์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แถบตั้งในอิสริยาภรณ์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แถบนอนในอิสริยาภรณ์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แถบทแยงในอิสริยาภรณ์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ขอบโล่ในอิสริยาภรณ์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แถบกางเขนไขว้ในอิสริยาภรณ์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แถบวายในอิสริยาภรณ์