เยื่อตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยื่อตา
(Conjunctiva)
ครึ่งบนของภาพตัดแบ่งซ้ายขวาผ่านด้านหน้าของลูกตา (เยื่อตาอยู่ตรงกลางด้านขวาของภาพ)
ภาพตัดแนวขวางของลูกตา (เยื่อตาอยู่ด้านบนซ้ายของภาพ)
รายละเอียด
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงต่อมน้ำตา (lacrimal artery), หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซิลิอารี (anterior ciliary arteries)
ประสาทเส้นประสาทต่อมน้ำตา (lacrimal nerve)
ตัวระบุ
MeSHD003228
TA98A15.2.07.047
TA26836
FMA59011
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เยื่อตา (อังกฤษ: Conjunctiva) เป็นเยื่อเมือกใสประกอบด้วยเซลล์และเยื่อฐานซึ่งคลุมส่วนของตาขาวและบุด้านในของหนังตา เยื่อตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิว

หน้าที่[แก้]

เยื่อตาทำหน้าที่หล่อลื่นตาโดยการผลิตเมือกและน้ำตา แม้ว่าปริมาณน้ำตาที่ผลิตได้จะน้อยกว่าที่ต่อมน้ำตาผลิตขึ้น[1] นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้จุลชีพผ่านเข้าสู่ดวงตา

มิญชวิทยาของเยื่อตา[แก้]

เยื่อตาโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสามส่วน

ส่วน บริเวณ
เยื่อตาส่วนหนังตา
(Palpebral or tarsal conjunctiva)
บุหนังตา
ส่วนทบเยื่อตา
(Fornix conjunctiva)
เป็นส่วนที่ด้านในของหนังตาและลูกตามาบรรจบกัน เยื่อตาส่วนหนังตามาพับทบที่ส่วนทบด้านบน และส่วนทบด้านล่างจะกลายเป็นเยื่อตาส่วนลูกตา บริเวณนี้มีลักษณะหลวมและยืดหยุ่นได้ ทำให้สามารถกลอกตาและขยับหนังตาได้สะดวก จักษุแพทย์จะใช้ใส่ยาหยอดลงในช่องว่างหนังตาด้านล่าง สารนี้จะทำงานไปตามพื้นผิวของลูกตาและซึมลงภายในตา[2]
เยื่อตาส่วนลูกตา
(Bulbar or ocular conjunctiva)
คลุมลูกตาโดยอยู่เหนือตาขาว บริเวณนี้จะยึดติดแน่นและเคลื่อนไปพร้อมการกลอกตา

โรคและความผิดปกติ[แก้]

ความผิดปกติของเยื่อตาและกระจกตาเป็นที่มาที่สำคัญของปัญหาเกี่ยวกับดวงตา พื้นผิวของดวงตานั้นสามารถได้รับปัจจัยต่างๆ ภายนอกได้หลายชนิดและมักไวต่อการบาดเจ็บ การติดเชื้อ สารระคายเคืองทางเคมี และปฏิกิริยาภูมิแพ้ โรคที่พบบ่อยของเยื่อตาคืออาการเยื่อตาอักเสบ หรือที่มักเรียกกันว่าตาแดง นอกจากนี้การระคายเยื่อตาเป็นหนึ่งในผลด้านสุขภาพหลังจากการได้รับสารระเหยอินทรีย์ (Volatile organic compounds)

ดูเพิ่ม[แก้]

ภาพอื่นๆ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. London Place Eye Center (2003). Conjunctivitis เก็บถาวร 2004-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved July 25, 2004.
  2. Eye, human Encyclopaedia Britannica

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]