เยอรมันแคนเซอร์เอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราสัญลักษณ์
สำนักงานเยอรมันแคนเซอร์เอดในบอนน์ ค.ศ. 2011

เยอรมันแคนเซอร์เอด (อังกฤษ: German Cancer Aid; เยอรมัน: Deutsche Krebshilfe) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรสำหรับต่อสู้กับโรคมะเร็งในทุกรูปแบบ สถาบันแห่งนี้ก่อตั้ง ณ วันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1974 โดยแพทย์หญิงมิลเดรด เชล (ค.ศ. 1932-1985) เธอเป็นภรรยาของวัลเทอร์ เชล ผู้เป็นประธานสหพันธรัฐแห่งเยอรมนี ค.ศ. 1974-1979

ในฐานะที่เป็น “สตรีหมายเลขหนึ่ง” มิลเดรด เชล ได้ก่อตั้งองค์กรการกุศลด้านมะเร็งที่สำคัญในประเทศเยอรมนี ซึ่งได้กลายเป็นองค์กรชั้นนำในการต่อสู้โรคมะเร็งของทวีปยุโรป จากจุดเริ่มต้น องค์กรที่ได้รับการสนับสนุนโดยผู้บริจาคเอกชน ซึ่งเยอรมันแคนเซอร์เอดยังคงเป็นอิสระจากการเมืองและอุตสาหกรรมยา ตามหลักความเชื่อของมิลเดรด เชล ที่ระบุว่า “เราจะอุทิศเพียงเพื่อที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็งเพื่อประโยชน์สุขของทุกคน”

ประธาน, คณะกรรมการผู้บริหาร และสื่อ[แก้]

ผู้ดำรงตำแหน่งประธานขององค์กรตั้งแต่ ค.ศ. 2011 คือฟริทซ์ แพลร์ทเกิน ซึ่งเป็นทั้งนักเขียนและอดีตผู้สื่อข่าวเยอรมันชั้นนำ (อาแอร์เด และเฟเดแอร์) โดยเขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลาห้าปี[1] แพลร์ทเกินเป็นผู้รับช่วงต่อจากฮารัลด์ ซูร์ เฮาเซน (ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ค.ศ. 2008) โดยเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานเยอรมันแคนเซอร์เอดใน ค.ศ. 2010

ประธานของคณะกรรมการคือฮันส์-เพเทอร์ แคร์เมอร์ (โคโลญ) เขาได้รับการสนับสนุนโดยเพื่อนร่วมงานและผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งเก้าคน รวมถึงนายแพทย์ออทมาร์ วีสทเลอร์ ส่วนกรรมการผู้จัดการตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมาคือแกร์ด เนทเทโคเฟน

ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกข้อมูลจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 คือแพทย์หญิงเอฟา เอ็ม.คัลบไฮม์ ซึ่งเธอได้อุทิศตนในช่วงสิบปีที่ผ่านมาสำหรับการให้บริการด้านโรคมะเร็งซึ่งสามารถเข้าถึงได้ฟรีอย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้รับหน้าที่สืบทอดต่อจากเธอตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2012 คือผู้อำนวยการขยายงานที่มีชื่อว่าคริสเทียนา โชเพ[2] ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งของตัวเธอเอง และมีการประชาสัมพันธ์ขององค์กรที่สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมันข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็ง

อ้างอิง[แก้]

  1. Press release 28 March 2011, Deutsche Krebshilfe Bonn
  2. Press statement, 14 April 2012, German Cancer Aid Bonn

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]