เมงูมิ ฮายาชิบาระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมะงุมิ ฮะยะชิบะระ)
เมงูมิ ฮายาเกบาระ
林原 めぐみ
เกิด (1967-03-30) 30 มีนาคม ค.ศ. 1967 (56 ปี)
เขตคิตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[1]
ชื่ออื่นMEGUMI
อาชีพ
ปีปฏิบัติงาน1986-ปัจจุบัน
ตัวแทนวูดพาร์กออฟฟิศ
Notable credit
ส่วนสูง1.55 m (5 ft 1 in)
บุตร1
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ฮิรางานะはやしばら めぐみ
คาตากานะハヤシバラ メグミ
การถอดเสียง
โรมาจิHayashibara Megumi
เว็บไซต์king-cr.jp/artist/hayashi/index.html

เมงูมิ ฮายาชิบาระ (ญี่ปุ่น: 林原めぐみโรมาจิHayashibara Megumi) เป็นนักพากย์และนักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เธอมีชื่อเล่นว่า เมงุซัง (คุณเมงุ) , เมงุเน่ (พี่เมงุ) และอีกหลากหลายชื่อ ฮายาชิบาระสามารถพากย์เสียงได้หลายบทบาท ไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิงที่ร่าเริง เด็กสาวที่เงียบขรึม หรือเด็กผู้ชายที่ดูห้าวหาญ โดยผลงานแทบทุกเรื่องที่เธอพากย์ มักจะได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ปัจจุบันฮายาชิบาระแต่งงานแล้ว กับพนักงานบริษัทหนุ่มคนหนึ่ง และมีลูกสาวด้วยกัน 1 คน[2]

กว่าจะมาเป็นนักพากย์[แก้]

เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปลาย ฮายาชิบาระก็มุ่งมั่นที่จะสอบเข้าเรียนต่อในวิทยาลัยพยาบาลให้จงได้ แต่ในวันที่เดินทางไปสมัครเรียน เธอกลับได้รับการปฏิบัติด้วยมารยาทที่ย่ำแย่จากฝ่ายประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัย ทำให้ฮายาชิบาระรู้สึกโมโหมาก พอกรอกและยื่นใบสมัครเรียบร้อย เธอก็วิ่งไปร้านหนังสือ และซื้อหนังสือการ์ตูนมาอ่านเพื่อดับอารมณ์ที่กำลังคุกรุ่น แล้วเธอก็ได้เห็นประกาศรับสมัครนักพากย์ของทางบริษัท อาตส์วิชัน ในหนังสือการ์ตูนเล่มนั้น ฮายาชิบาระจึงได้ลองอัดเสียงของตัวเองซึ่งเต็มไปด้วยอารมณ์โกรธที่ค้างมาจากเรื่องที่วิทยาลัยพยาบาล ใส่ลงในเทปตัวอย่าง และส่งไปยังบริษัทอาตส์วิชัน จากนั้นอีกหลายเดือนต่อมา เธอก็ได้รับจดหมายตอบกลับจากบริษัท ผลคือ "ผ่าน"[3]

หลังจากที่ผ่านการทดสอบและได้มาเป็นนักพากย์ในสังกัดอาตส์วิชันอย่างเต็มตัวแล้ว ฮายาชิบาระก็ได้เริ่มทำงานทางด้านการพากย์ทันที โดยผลงานเรื่องแรกในอาชีพนักพากย์ของเธอคือ บทเด็กอนุบาล B ในเรื่อง อิคโกกุ บ้านพักหรรษา (ปี 2529) ซึ่งประโยคแรกที่เธอได้พากย์คือ "อะไรน่ะ หมาตัวนั้น" (何だ あの犬ー นันดะ อาโนะ อินุ)

ชื่อเสียงและความนิยม[แก้]

ฮายาชิบาระเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากบทของ รันม่าหญิง ในเรื่อง รันม่า ½ หลังจากนั้นเธอก็มีงานอย่างต่อเนื่องมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นงานพากย์ งานวิทยุ หรืองานเพลง ซึ่งทุกอย่างล้วนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้ชื่อของเธอเริ่มโดดเด่นมากขึ้นเรื่อยๆ และจากนั้นไม่นานก็โด่งดังถึงขีดสุด แต่ยังไม่ทันที่ความดังจะเสื่อมคลายลง ในช่วงปลายปี 2538 บทของ อายานามิ เร ใน อีวานเกเลียน ก็ยิ่งตอกย้ำให้ชื่อเสียงของเธอโด่งดังมากขึ้นไปอีก

ส่วนในด้านของหลักฐานแสดงความนิยม ฮายาชิบาระมักจะได้รับคะแนนโหวตเป็นอันดับ 1 อยู่เสมอ จากการจัดอันดับนักพากย์ยอดนิยมตามนิตยสารนักพากย์ และนิตยสารการ์ตูนต่างๆ โดยเฉพาะรางวัลอนิเมะกรังด์ปรีซ์ ของนิตยสารอะนิเมจ ฮายาชิบาระเคยครองแชมป์เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันนานกว่า 10 สมัย ตั้งแต่ปี 2533 ถึง 2545 ซึ่งตลอดระยะเวลาดังกล่าว เธอได้พลาดตำแหน่งแชมป์ไปเพียงแค่ครั้งเดียว โดยพลาดให้แก่ เมงูมิ โองาตะ (จากเรื่อง คนเก่งทะลุโลก) ในปี พ.ศ. 2538

นอกจากในประเทศบ้านเกิดของตนเองแล้ว ฮายาชิบาระก็มีชื่อเสียงในต่างประเทศไม่น้อย เช่น เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน จีน และ ไทย อีกทั้งยังข้ามทวีปไปถึงฝั่งอเมริกา และ ยุโรป ด้วย โดยผู้คนส่วนใหญ่ จะได้รู้จักชื่อของเธอจากผลงานที่โดดเด่น และประสบความสำเร็จในต่างประเทศ เช่น สเลเยอร์ส, อีวานเกเลียน, คาวบอยบีบ๊อป เป็นต้น

ความสัมพันธ์กับบุคคลร่วมวงการ[แก้]

ฮายาชิบาระมีเพื่อนสนิทในวงการนักพากย์หลายคนด้วยกัน เช่น อากิโกะ ฮิรามัตสึ, โนโซมุ ซาซากิ, เท็ตสึยะ อิวานางะ, โนบูยูกิ ฮิยามะ, ยูริ ชิราโตริ, ฮิโระ ยูกิ, โคโตโนะ มิตสึอิชิ ฯลฯ โดยเฉพาะกับ อากิโกะ ฮิรามัตสึ นั้น สนิทกันมากจนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นพี่น้องร่วมสาบานเลยทีเดียว[4]

นอกจากนี้ก็ยังมี โนริโกะ ฮิดากะ, มินามิ ทากายามะ, เร ซากูมะ ที่สนิทกันมาตั้งแต่สมัยที่ร่วมงานด้วยกันในเรื่อง รันม่า ½ รวมทั้งคู่รักนักพากย์อย่าง คู่ของ มิกะ คานาอิ กับ โคอิจิ ยามาเดระ และ คู่ของ ริกาโกะ ไอกาวะ กับ มิตสึโอะ อิวาตะ ก็มีความสนิทสนมกับฮายาชิบาระมากเช่นกัน

งานพากย์[แก้]

อนิเมะ[แก้]

เกม[แก้]

  • SD กันดั้ม G เจเนอเรชั่น F รับบทเป็น เรเชล แรนซัม
  • สเลเยอร์ส รอแยล รับบทเป็น ลีน่า อินเวิร์ส
  • ควอวาดิส 2 (Quo Vadis 2) รับบทเป็น ฮิลด้า เวเลนซ์
  • ลูนาร์ อีเทอร์นอลบลู รับบทเป็น เรมีน่า
  • ซุปเปอร์โรบ็อตไทเซ็น รับบทเป็น คริสติน่า แมคเคนซี่, อายานามิ เร, ดัมมี่ปลั๊ก, อิซึมิ ยู
  • ซัมปากีต้า รับบทเป็น มาเรีย ซานโตส
  • ไชน์นิ่งเทียร์ส รับบทเป็น แบรนเนจ เมเปิ้ล

ภาพยนตร์ต่างประเทศ[แก้]

  • Bright Lights, Big City พากย์เสียงของ อแมนด้า (ฟีบี้ เคทส์)
  • My Girl พากย์เสียงของ โทมัส เจมส์ เซนเนตต์ (แมคคัลเลย์ คัลกิ้น)
  • True Lies พากย์เสียงของ ดาน่า ทัสเกอร์ (เอลิซ่า ดัชคู)
  • The Amazing Panda Adventure พากย์เสียงของ ไรอัน ไทเลอร์ (ไรอัน สเลเตอร์)
  • Scream พากย์เสียงของ เคซีย์ เบคเกอร์ (ดรูว์ แบร์รีมอร์)
  • Excess Baggage พากย์เสียงของ เอมิลี่ โฮป (อลิเซีย ซิลเวอร์สโตน)
  • Amélie พากย์เสียงของ อเมลี โพแลง (ออเดรย์ โตตู)
  • Needing You (ใช่เลยรักเธอเต็มเอ๋อ) พากย์เสียงของ คิงกี้ (เจิ้งซิ่วเหวิน)
  • Me Without You พากย์เสียงของ ฮอลลี่ (มิเชลล์ วิลเลียมส์)
  • Freeway พากย์เสียงของ วาเนสซ่า (รีส วิทเธอร์สปูน)

งานเพลง[แก้]

เพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มของฮายาชิบาระ จะเป็นดนตรีแนวป๊อป ที่มีจังหวะสนุกสนาน และฟังค่อนข้างติดหูง่าย บวกกับเนื้อเพลงที่มีความหมายลึกซึ้ง ซึ่งส่วนใหญ่ ฮายาชิบาระ จะเป็นผู้แต่งเอง ทำให้งานเพลงของเธอมักจะติดชาร์ต โอริกอน ในอันดับสูงๆ แทบทุกชุด ทั้งซิงเกิลและอัลบั้ม[5] โดยเฉพาะ "Bertemu" อัลบั้มลำดับที่ 7 ซึ่งสามารถไต่ขึ้นไปได้ถึงอันดับ 3 ของชาร์ต ในสัปดาห์แรกที่ออกวางขาย[6] ยิ่งไปกว่านั้นบทบาทในด้านงานเพลงของฮายาชิบาระ ยังส่งอิทธิพลมาถึงนักพากย์หญิงที่ได้รับความนิยมในรุ่นต่อๆ มา เช่น ยูอิ โฮริเอะ, ยูคาริ ทามูระ, ซากุระ โนงาวะ, นานะ มิซึกิ และอีกหลายๆ คน[ต้องการอ้างอิง]

ซิงเกิล[แก้]

  • Niji Iro no Sneaker / Koi no Scramble Race
  • Cinderella Nanka ni Naritakunai (จากเรื่อง จิมปุย, ร้องคู่กับ ซายูริ ไซโต้)
  • Yume wo Dakishimete / Suki yori Daisuki Minky Style (จากเรื่อง มิงกี้โมโม่)
  • Haru Neko Fushigi Tsukiyo ~Oshiete Happiness~ / Touch Me Softly (จากเรื่อง บังโนบุงกะเนโกะมุสุเมะ)
  • OUR GOOD DAY...BOKURA NO GOOD DAY / KEEP ON DREAMING (MEGUMI Version) (จากเรื่อง เนคเคทสึ ไซเคียว โกซาวเลอร์)
  • Yume Hurry Up / Harikitte Trying! (จากเรื่อง บังโนบุงกะเนโกะมุสุเมะ)
  • Until Strawberry Sharbet/Sunday Afternoon (จากเรื่อง แก๊งอึดฮึดปราบผี ภาคละครวิทยุ)
  • Touch and Go!! / -Life- (จากเรื่อง BLUE SEED พันธุ์อสูรสีน้ำเงิน)
  • Get Along / KUJIKENAIKARA! (จากเรื่อง สเลเยอร์ส, ร้องคู่กับ มาซามิ โอคุอิ)
  • MIDNIGHT BLUE / Shining Girl (จากเรื่อง สเลเยอร์ส ภาคภาพยนตร์จอเงิน)
  • WHAT'S UP GUYS?/TOO LATE (จากเรื่อง แก๊งอึดฮึดปราบผี, ร้องคู่กับ ชินโนะสุเกะ ฟุรุโมโตะ)
  • Going History / Shakunetsu no Koi (จากเรื่อง สเลเยอร์ส)
  • Give a reason / Jama wa Sasenai (จากเรื่อง สเลเยอร์ส NEXT)
  • Kagirinai Yokubou no Nakani / Touch Yourself (จากเรื่อง สเลเยอร์ส สเปเชียล)
  • Just be conscious / RUN ALL THE WAY! (จากเรื่อง สเลเยอร์ส รีเทิร์น)
  • ALCHEMY OF LOVE ~Ai No Renkinjutsu~ (จากเรื่อง เทนจิมุโย ภาคภาพยนตร์จอเงิน)
  • Successful Mission / I'll be there (จากเรื่อง เซเบอร์มาริโอเน็ต J)
  • don't be discouraged / Breeze (จากเรื่อง สเลเยอร์ส TRY)
  • Reflection / GLORIA ~Kimi ni Todoketai~ (จากเรื่อง สเลเยอร์ส เกรท)
  • Fine Colorday / Oyasuminasai Ashita wa Ohayou (จากเรื่อง บังโนบุงกะเนโกะมุสุเมะ)
  • ~infinity~∞ / EXTRICATION (จากเรื่อง ลอสต์ยูนิเวิร์ส)
  • raging waves / I & Myself (จากเรื่อง สเลเยอร์ส กอร์เจียส)
  • A HOUSE CAT / Shiawase wa Chiisana Natsumikasane (จากเรื่อง บังโนบุงกะเนโกะมุสุเมะ)
  • Proof of Myself / Lively Motion (จากเรื่อง เซเบอร์มาริโอเน็ต J to X)
  • question at me / ~sorekara~ (จากเรื่อง วานี่ไนท์ส)
  • Ashita ni nattara / Banana Oukoku (จากเรื่อง ดองกี้คอง, ร้องคู่กับ โคอิจิ ยามาเดระ)
  • Booska Booska / haretokidokihare (จากเรื่อง บูสก้า)
  • Sakura Saku / Kimi ga Ireba (จากเรื่อง เลิฟฮินะ)
  • unsteady / lost in you (จากเรื่อง มุเทกิโอ ไทรเซนอน)
  • Over Soul / Trust you (จากเรื่อง ราชันย์แห่งภูต)
  • feel well / Rumba Rumba / Anata Ha Takogo (จากเรื่อง สเลเยอร์ส พรีเมียม, เพลง Anata Ha Takogo ร้องโดย ยูริ ชิราโทริ)
  • brave heart / Kirameku Kakera (จากเรื่อง ราชันย์แห่งภูต)
  • Northern Lights / Omokage (จากเรื่อง ราชันย์แห่งภูต)
  • Treat or Goblins / Anata no Kokoro ni (จากเรื่อง อาเบโนะบาชิมาโฮ☆โชเต็นไก)
  • KOIBUMI / Asa Madaki Yowatari / Faint Love (จากเรื่อง อาซางิริ โนะ มิโกะ)
  • Makenai de Makenai de... / Ganbatte Ganbatte... (เพลงประกอบรายการวิทยุ ฮาร์ทฟูล สเตชัน)
  • CARNIVAL BABEL REVIVAL (ร้องคู่กับ โก ทากาฮาชิ)
  • Meet Again / Get Along (Selftag Version) / Give A Reason (Ballade Version) / Don't Be Discouraged (เพลงประกอบเรื่องสเลเยอร์ส ในเวอร์ชันใหม่)
  • A Happy Life / Lucky&Happy (จากเรื่อง Gakuen Utopia Manabi Straight!)

อัลบั้ม[แก้]

  • Half, and Half
  • WHATEVER
  • Perfume
  • SHAMROCK
  • SPHERE
  • Enfleurage
  • Bertemu
  • Iravati
  • Fuwari
  • VINTAGE S (เบสต์อัลบั้ม)
  • VINTAGE A (เบสต์อัลบั้ม)
  • feel well
  • Center Color
  • Plain
  • Slayers MEGUMIX
  • CHOICE
  • VINTAGE White

งานแสดง[แก้]

  • จูเวนไนล์ (Juvenile) แสดงเป็น โออิชิ มิโฮะ / พากย์เสียงของ เตตร้า

งานวิทยุ[แก้]

  • Megumi Hayashibara no Heartful Station ทางเรดิโอคันไซ (ปัจจุบันจัดคู่กับ โซอิจิโร่ โฮชิ)
  • Megumi Hayashibara no Tokyo Boogie Night ทาง TBS เรดิโอ

งานเขียน[แก้]

  • Ashita ga Aru sa ~SWEET TIME EXPRESS~
  • REI / Neon Genesis Evangelion
  • หนังสือภาพโปเกมอน เล่ม 30 ความฝันอันแสนวิเศษของพูรินจัง
  • Nantoka Narunaru
  • The Star, Kono Hoshi
  • Megumi Hayashibara no Aitakute Aitakute...
  • Megumi Hayashibara no Aitakute Aitakute... (second season)
  • Megumi Hayashibara no Aitakute Aitakute... (third season)

อ้างอิง[แก้]

  1. Doi, Hitoshi. "Hayashibara Megumi". Seiyuu Database. สืบค้นเมื่อ 2014-01-24.
  2. 声優結婚事情 เก็บถาวร 2007-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, , เรียกข้อมูลเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2550
  3. หนังสือ Megumi Hayashibata "Ashita ga Aru sa ~SWEET TIME EXPRESS~" (สำนักพิมพ์คาโดคาวะ)
  4. หนังสือ Naruhodo The Voice World (แถมมากับนิตยสาร Anime V ฉบับประจำเดือนมกราคม 1996) หน้า 43
  5. 林原めぐみ-ORICON STYLE ミュージック, oricon.co.jp, เรียกข้อมูลเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2550
  6. Bertemu (林原めぐみ), Seiyuu (voice actor) database, เรียกข้อมูลเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • megumi HOUSE (เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ) (ญี่ปุ่น)