เมทธิลโบรไมด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมทธิลโบรไมด์
Stereo, skeletal formula of bromomethane with all explicit hydrogens added
Ball and stick model of bromomethane
Ball and stick model of bromomethane
Spacefill model of bromomethane
Spacefill model of bromomethane
ชื่อ
Preferred IUPAC name
Bromomethane[1]
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
1209223
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.000.740 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 200-813-2
916
KEGG
MeSH methyl+bromide
RTECS number
  • PA4900000
UNII
UN number 1062
  • InChI=1S/CH3Br/c1-2/h1H3 checkY
    Key: GZUXJHMPEANEGY-UHFFFAOYSA-N checkY
  • CBr
คุณสมบัติ
CH3Br
มวลโมเลกุล 94.939 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ แก๊สไม่มีสี[2]
กลิ่น คล้ายคลอโรฟอร์ม
ความหนาแน่น 3.97 kg/m3 (gas, 0 °C)[2]
1.72 g/mL (liquid, 4 °C)[2]
จุดหลอมเหลว −93.66 องศาเซลเซียส (−136.59 องศาฟาเรนไฮต์; 179.49 เคลวิน)[2]
จุดเดือด 4.0 องศาเซลเซียส (39.2 องศาฟาเรนไฮต์; 277.1 เคลวิน)[2]
17.5 gL−1[2]
log P 1.3
ความดันไอ 190 kPa (at 20 องศาเซลเซียส, 68 องศาฟาเรนไฮต์)
−42.8·10−6 cm3·mol−1
อุณหเคมี
−35.1  −33.5 kJ·mol−1
ความอันตราย
GHS labelling:
The skull-and-crossbones pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The exclamation-mark pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The health hazard pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The environment pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
อันตราย
H301, H315, H319, H331, H335, H341, H373, H400, H420
P201, P202, P260, P261, P264, P270, P271, P273, P280, P281, P301+P310, P302+P352, P304+P340, P305+P351+P338, P308+P313, P311, P312, P314, P321, P330, P332+P313, P337+P313, P362, P391, P403+P233, P405, P501, P502
NFPA 704 (fire diamond)
NFPA 704 four-colored diamondHealth 3: Short exposure could cause serious temporary or residual injury. E.g. chlorine gasFlammability 1: Must be pre-heated before ignition can occur. Flash point over 93 °C (200 °F). E.g. canola oilInstability 0: Normally stable, even under fire exposure conditions, and is not reactive with water. E.g. liquid nitrogenSpecial hazards (white): no code
3
1
0
จุดวาบไฟ 194 องศาเซลเซียส (381 องศาฟาเรนไฮต์; 467 เคลวิน)[2]
535 องศาเซลเซียส (995 องศาฟาเรนไฮต์; 808 เคลวิน)[2]
ขีดจำกัดการระเบิด 10-16%[3]
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC):
  • 1200 ppm (mouse, 1 hr)
  • 7316 ppm (rabbit, 30 min)
  • 2833 ppm (rat, 1 hr)
  • 302 ppm (rat, 8 hr)
  • 390 ppm (mouse, 9 hr)[4]
300 ppm (guinea pig, 9 hr)[4]
NIOSH (US health exposure limits):
PEL (Permissible)
C 20 ppm (80 mg/m3) [skin][3]
REL (Recommended)
Ca[3]
IDLH (Immediate danger)
Ca [250 ppm][3]
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอลเคนที่เกี่ยวข้อง
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

เมทธิลโบรไมด์ (อังกฤษ: Methyl Bromide) หรือ โบรโมมีเทน (อังกฤษ: Bromomethane) เป็นสารประกอบออร์กาโนโบรไมด์ที่มีสูตรโมเลกุล CH3Br มีลักษณะเป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่ติดไฟ ถูกผลิตขึ้นโดยสิ่งมีชีวิตบางชนิดตามธรรมชาติรวมถึงถูกสังเคราะห์ขึ้นในภาคอุตสาหกรรม รูปร่างโมเลกุลมีลักษณะเป็นทรงสี่หน้า และเป็นหนึ่งในสารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซน ในอดีตมนุษย์เคยใช้เป็นยาฆ่าแมลง จนกระทั้งหลายประเทศได้ยุติการใช้ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึง ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 หรือในปี ค.ศ. 1995 - ปี ค.ศ. 2005

การนำไปใช้ทางผลผลิตทางการเกษตร[แก้]

เมทธิลโบรไมด์เป็นสารเคมีที่ใช้ในการอบไม้และรมควันพืชผลทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย

ผลกระทบต่อร่างกายหากได้รับสาร[แก้]

เมทธิลโบรไมด์ เป็นสารเคมีที่ทำลายสารพันธุกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่มีพิษสูงมาก

พิษต่อระบบประสาท[แก้]

ทำลายระบบประสาท มีผลทำให้ระบบประสาทเสียหายถาวร ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการประสาทหลอน

พิษต่อระบบทางเดินหายใจ[แก้]

ทำลายปอดหากสูดดมเข้าไป ก่อให้เกิดการอักเสบ พุพองในทางเดินหายใจ

พิษต่อระบบอวัยวะภายใน[แก้]

ทำลายอวัยวะภายในจนล้มเหลว เกิดอาการชักกะตุกและทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

พิษต่อระบบต่อมไร้ท่อ[แก้]

หากได้รับพิษแบบสะสม ทำให้ระบบต่อมไร้ท่อ ทั้งต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ อัณฑะและรังไข่โตขึ้นและเปลี่ยนรูปร่างไป ทำให้เป็นหมัน

การก่อมะเร็ง[แก้]

นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะและมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งรังไข่อีกด้วย ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ร่างกายอ่อนแรง

การปนเปื้อนในอาหาร[แก้]

พบว่าเมื่อมีการรมควันข้าวด้วยเมทธิลโบรไมด์ จะสามารถซึมเข้าสู่เนื้อข้าวสารได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ สามารถกระจายตัวในข้าวสาร ได้ยาวนานและอยู่ตัวเนื่องจากจับตัวกับคาร์โบไฮเดรตได้อย่างดี ซึ่งงานวิจัยพบว่าสารจะซึมเข้าสู่เนื้อข้าวสารในวันที่ 34

วิธีลดการปนเปื้อนในอาหาร[แก้]

จากงานวิจัยของประเทศญี่ปุ่น จากการศึกษาเมทธิลโบรไมด์ที่ตกค้างในข้าวและราเมน พบว่าการลดการปนเปื้อนทำได้โดยการใช้ความร้อนยิ่งนานค่าการปนเปื้อนยิ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และจากการศึกษาพบว่าหากนำข้าวสารไปซาวน้ำ พบสารเมทธิวโบรไมด์ลดลง 49 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนำไปหุง ค่าจะลดลงอีก 9.8 เปอร์เซ็นต์

เมทธิลโบรไมด์ในประเทศไทย[แก้]

มีการนำไปใช้ในการรมควันข้าวสารก่อนบรรจุถุง

การใช้สารทดแทน[แก้]

สารที่นำมาใช้ทดแทนเมทธิลโบรไมด์ คือ อีโคฟูม และซัลฟูริลฟลูออไรด์ แต่ในสหรัฐอเมริกา มีความกังวลการใช้ซัลฟูริลฟลูออไรด์ ในอาหาร เนื่องจากจะมีฟลูออไรด์ตกค้างในอาหาร ซึ่งอาจได้รับเกินกว่าค่าความปลอดภัย จึงต้องใช้และตรวจสอบจำกัดปริมาณอย่างเหมาะสม[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "methyl bromide - Compound Summary". PubChem Compound. USA: National Center for Biotechnology Information. 26 March 2005. Identification. สืบค้นเมื่อ 2012-02-26.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Record in the GESTIS Substance Database of the Institute for Occupational Safety and Health
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0400". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  4. 4.0 4.1 "Methyl bromide". Immediately Dangerous to Life and Health Concentrations (IDLH). National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  5. http://www.thaipan.org/sites/default/files/file/3%2520%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%2520MB.%2520Bussara_0.pdf&ved=2ahUKEwjE1crpgv7cAhWIs48KHbe9DDQQFjAAegQIABAB&usg=AOvVaw3Hpc-WE32JjeZ6Gqss1p6P[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]