โยเซพุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เฟลเวียส โจซีฟัส)
โยเซพุส
ภาพแกะที่เชื่อกันว่าเป็นโยเซพุส[1]
เกิดค.ศ. 37
เสียชีวิตราว ค.ศ. 100
สัญชาติโรมัน (เดิมเป็นชาวยิว)
อาชีพนักประวัติศาสตร์และนักเขียนพิทักษ์ปรัชญา
ยุคสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 1
ผลงานเด่นสงครามยิว และ ประวัติศาสตร์ของชาวยิว
ตำแหน่งนักประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน

โยเซฟ เบน มาติตยาฮู (ฮีบรู: יוסף בן מתתיהו;[2] ค.ศ. 37 – ราว ค.ศ. 100)[3] เปลี่ยนชื่อเป็น โยเซฟพุส (ละติน: Titvs Flavivs Iosephvs) หลังจากที่ได้เป็นพลเมืองโรมัน เป็นนักประวัติศาสตร์และนักเขียนพิทักษ์ปรัชญา (apologist) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1

โยเซพุสมาจากครอบครัวที่เป็นนักบวชและราชวงศ์ ผู้รอดมาได้จากการทำลายเมืองเยรูซาเลมโดยโรมันในปี ค.ศ. 70 และมาบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[4] งานของโยเซพุสเป็นงานสำคัญที่ทำให้เข้าใจถึงเบื้องหลังของศาสนายูดาห์ในคริสต์ศตวรรษที่ 1

โยเซพุสเป็นคนสำคัญของโลกของจักรวรรดิโรมันในด้านความรู้ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวยิวและชาวยิว โดยเฉพาะในสมัยที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความตึงเครียดระหว่างสองฝ่าย โยเซพุสเป็นผู้ที่เคร่งครัดในการปฏิบัติตามประเพณีของชาวยิวอย่างสม่ำเสมอตลอดมา และทั้งสรรเสริญศาสนายูดาห์และพยายามให้การศึกษาและความเข้าใจแก่ผู้มิใช่ชาวยิว โยเซพุสมีความเชื่อมั่นในความคล้ายคลึงระหว่างศาสนายูดาห์กับปรัชญาของวัฒนธรรมกรีก-โรมัน และพยายามให้การศึกษาต่อบุคคลทั่วไปว่าศาสนายูดาห์เป็นศาสนาที่มีรากฐานมานานและเป็นศาสนาที่มีวัฒนธรรม หลักปรัชญา และความศรัทธา โยเซพุสคงจะต้องเป็นผู้ที่มีความสำคัญพอตัวเพราะยูซีเบียสกล่าวว่าโยเซพุสมีอนุสาวรีย์อยู่ในกรุงโรม[5]

งานชิ้นสำคัญสองชิ้นของโยเซพุสคือ สงครามยิว ที่เขียนราวปี ค.ศ. 75 และ ประวัติศาสตร์ของชาวยิว ที่เขียนราวปี ค.ศ. 94[6] สงครามยิว เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการปฏิวัติของชาวยิวระหว่างปี ค.ศ. 66 ถึงปี ค.ศ. 70 ในการต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิโรมัน ส่วน ประวัติศาสตร์ของชาวยิว เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เขียนจากทัศนคติของชาวยิว งานเขียนทั้งสองชิ้นเป็นงานเขียนที่มีค่าที่ทำให้เข้าใจถึงศาสนายูดาห์ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 และเบื้องหลังของศาสนาคริสต์ยุคแรก[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Plagnieux, P. 'Les sculptures Romanes' Dossiers d'Archéologie (January 2001) pg 15
  2. Josephus refers to himself in his Greek works as Ἰώσηπος :Iōsēpos Matthiou pais (Josephus the son of Matthais). Although Josephus also spoke Aramaic language and most probably also Hebrew, no extant sources record his name in these languages. However, his Hebrew/Aramaic name has gone down in Jewish history as יוסף בן מתתיהו (Yosef ben Matityahu) and thus he is commonly known in Israel today.
  3. Louis Feldman, Steve Mason (1999). Flavius Josephus. Brill Academic Publishers.
  4. See also Jerusalem’s Model in the Late 2nd Temple Period
  5. Church History (Eusebius) 3.9.2
  6. 6.0 6.1 Stephen L. Harris, Understanding the Bible, (Palo Alto: Mayfield, 1985). อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Harris" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน

ดูเพิ่ม[แก้]