เพลงสำคัญของแผ่นดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพลงสำคัญของแผ่นดิน คือ เพลงที่รัฐบาลไทยจัดให้มีความสำคัญในระดับชาติอย่างเป็นทางการ ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งมีทั้งหมด 6 เพลง ได้แก่ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงชาติไทย เพลงมหาชัย เพลงมหาฤกษ์ เพลงสดุดีมหาราชา และเพลงภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา ต่อมา มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เพิ่มเพลงสำคัญของแผ่นดินอีก 2 เพลง คือ เพลงสดุดีจอมราชา และ เพลงสดุดีพระแม่ไทย โดยยกเหตุผลว่าเพลงเหล่านี้ "เป็นเพลงที่มีคุณค่า แสดงถึงคุณค่าและความเจริญของคนในชาติ เป็นภูมิปัญญาของแผ่นดิน รวมทั้งแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชจักรีวงศ์"

ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ได้กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ใช้เพลงสำคัญของแผ่นดินตามฉบับที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติจัดทำขึ้นใหม่ เป็นต้นฉบับในโอกาสต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป

วงดนตรีที่ใช้บรรเลง[แก้]

ในการจัดทำต้นฉบับเพลงสำคัญของแผ่นดินครั้งนี้ คณะผู้จัดทำได้จัดทำทั้งดนตรีสากลและดนตรีไทย สำหรับประเภทดนตรีสากล ได้บรรเลงและขับร้องโดยวงดนตรี 3 ประเภท ได้แก่

  1. วงออร์เคสตราสี่เหล่าทัพ (ได้แก่ วงดุริยางค์ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ) และวงดุริยางค์กรมศิลปากร
  2. วงบิ๊กแบนด์ โดย วงเฉลิมราชย์
  3. วงโยธวาทิต โดย วงดุริยางค์กรมศิลปากร

ในส่วนของดนตรีไทย ได้ใช้วงดนตรี 3 ประเภท ซึ่งบรรเลงและขับร้องโดยวงดนตรีกรมศิลปากร ร่วมกับนักดนตรีไทยสี่เหล่าทัพ ได้แก่

  1. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
  2. วงเครื่องสายเครื่องคู่
  3. วงมโหรีเครื่องคู่

คณะผู้จัดทำ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]