เพรียบ หุตางกูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพรียบ หุตางกูร (4 กันยายน 2456[1] — 15 มีนาคม 2541[1]) เป็นตุลาการและนักนิติศาสตร์ชาวไทย

ต้นชีวิต[แก้]

เพรียบเป็นบุตรของฮวด หุตางกูร และมะลิ หุตางกูร[1] เกิดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี[1]

เพรียบสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร แล้วจึงศึกษาระดับปริญญาตรีธรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จนสำเร็จเมื่อปี 2477[1]

การทำงาน[แก้]

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว เพรียบได้เข้ารับราชการในรัฐบาลไทย หน้าที่การงานแรกคือ อัยการฝึกหัด กองคดี กรมอัยการ กระทรวงยุติธรรม เมื่อปี 2480[1] ต่อมาจึงย้ายไปเป็นอัยการผู้ช่วยจังหวัดนครนายก กระทั่งสอบเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรมได้เมื่อปี 2486[2]

ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่ระยะหนึ่ง เพรียบจึงได้ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดระนอง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชุมพร และผู้พิพากษาศาลจังหวัดราชบุรี[2] จากนั้น จึงได้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดราชบุรี แล้วย้ายไปเป็นยังศาลจังหวัดยโสธร ศาลแขวงลพบุรี และศาลจังหวัดลพบุรี ตามลำดับ[2]

ต่อมา เพรียบได้ย้ายกลับเข้าดำรงตำแหน่งในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นผู้พิพากษาศาลอาญา ผู้พิพากษาศาลแพ่ง และผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์[2] กระทั่งเลื่อนขึ้นเป็นผู้พิพากษาหัวหน้า คณะในศาลอุทธรณ์[2] และในปี 2512 ก็ได้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 (จังหวัดนครราชสีมา) และผู้พิพากษาศาลฎีกา[1] ครั้นปี 2516 ได้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่งนั้นจนเกษียณอายุราชการในเดือนตุลาการ 2516[1]

หลังเกษียณ เพรียบได้เป็นผู้บรรยายวิชากฎหมายลักษณะมรดกที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเพรียบกล่าวว่า[3]

"ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ผู้เขียนไม่ได้สนใจกฎหมายลักษณะนี้นัก จะไม่ชอบเอาเสียด้วยซ้ำ เมื่อยังเป็นผู้พิพากษา ผู้เขียนได้พิจารณาคดีเกี่ยวกับมรดกเพียงไม่กี่เรื่อง ตัวบทในลักษณะมรดกจึงผ่านสายตาของผู้เขียนน้อยครั้งเต็มที นับว่าขาดประสบการณ์ในเรื่องนี้อยู่มาก เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำการสอน แรก ๆ จึงรู้สึกหนักใจพอสมควร...เมื่อผู้เขียนได้ทำการสอนวิชานี้มาเป็นเวลานาน ผู้เขียนก็พอจะเข้าใจความมุ่งหมายในตัวบทของกฎหมายลักษณะนี้ขึ้นมาบ้างพอสมควร ทำให้เกิดความสนุกในทางคิดแก้ปัญหาที่มีอยู่ ความรู้สึกที่เคยเกลียดวิชานี้กลับกลายเป็นความรู้สึกที่ตรงกันข้าม..."

เพรียบสอนกฎหมายลักษณะมรดกอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนถึงปี 2521[4]

การเสียชีวิต[แก้]

เพรียบเสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2541 ณ กรุงเทพมหานคร[1] สิริอายุได้ 84 ปี 192 วัน

ผลงานวิชาการ[แก้]

เพรียบมีผลงานวิชาการมากมาย แต่ผลงานที่เด่นที่สุด[1] คือ คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก ซึ่งเขาใช้เวลาว่างหลังจากพ้นหน้าที่สอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขียนขึ้น โดยกล่าวว่า "...ทำไปด้วยใจรัก เพราะเห็นว่า ถ้าไม่เขียนขึ้นไว้ ความคิดอ่านที่มีอยู่ก็คงจะละลายหายไปตามความเปลี่ยนแปลงของอายุและสังขาร..."[5]

ตำราดังกล่าวคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2518[3] ปัจจุบันก็ยังพิมพ์อยู่ โดยมีศาสตราจารย์ไพโรจน์ กัมพูสิริ แก้ไขเพิ่มเติม[6]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 เพรียบ หุตางกูร (2552, ธันวาคม). ไพโรจน์ กัมพูสิริ (บ.ก.). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 4. ISBN 9789744664433. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Writer Profile". วิญญูชน. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. 3.0 3.1 เพรียบ หุตางกูร (2552, ธันวาคม). ไพโรจน์ กัมพูสิริ (บ.ก.). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 6. ISBN 9789744664433. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  4. เพรียบ หุตางกูร (2552, ธันวาคม). ไพโรจน์ กัมพูสิริ (บ.ก.). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 332. ISBN 9789744664433. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  5. เพรียบ หุตางกูร (2552, ธันวาคม). ไพโรจน์ กัมพูสิริ (บ.ก.). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 6-7. ISBN 9789744664433. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  6. เพรียบ หุตางกูร (2552, ธันวาคม). ไพโรจน์ กัมพูสิริ (บ.ก.). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 10. ISBN 9789744664433. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)