หลุมเพดาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เพดานหลุม)
หลุมเพดานภายในตึกแพนธีออนในกรุงโรม

หลุมเพดาน (อังกฤษ: coffer, coffering) เป็นหลุมที่มีลักษณะเป็นแผงติดต่อกัน (อาจจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม หรือผสมกันหลายทรง) ลึกเข้าไปในเพดานหรือภายใต้โค้งหรือส่วนราบแบนภายในสิ่งก่อสร้าง[1] แผงสี่เหลี่ยมลึกใช้เป็นเครื่องตกแต่ง บางครั้งก็เรียกว่า “caissons” (กล่อง) หรือ “lacunaria” (ช่อง)[2] ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า “lacunar ceiling” (เพดานช่อง) หลุมเพดานที่ทำด้วยหินของกรีกโบราณ[3] และโรมันโบราณ[4] เป็นตัวอย่างแรกของการสร้างเพดานลักษณะนี้ที่ยังเหลือให้เห็นอยู่ แต่เมื่อ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราชใช้ในการสร้างห้องเก็บศพอิทรัสกันที่เนินสุสาน (necropolis) ที่ซานจูลิอาโนที่ตัดจากหินทูฟา[5] หลุมเพดานที่ทำด้วยไม้สร้างกันเป็นครั้งแรกโดยการไขว้สลับคานบนเพดานเข้าด้วยกัน ที่ใช้ในการตกแต่งวังในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น[6]

การทดสอบรูปทรงของการวางหลุมเพดานจะเห็นได้ในทั้งสถาปัตยกรรมของอิสลามและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา ปัญหาที่ซับซ้อนคือการค่อยลดขนาดของหลุมลงไปตามลำดับในการสร้างเพดานโค้งหรือโดม

ตัวอย่างของหลุมเพดานของโรมันที่ใช้การลดน้ำหนักของเพดานคือเพดานของโดมโรทันดา (Rotunda) ในตึกแพนธีออนในกรุงโรม

โดมไม้[แก้]

“เจ่าจิ่ง” (จีน: 藻井; พินอิน: zǎojǐng) หรือโดมไม้หรือหลุมเพดานใช้ในสถาปัตยกรรมของจีนเหนือพระราชบัลลังก์หรือรูปปั้น[7]

ระเบียงภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ching, Francis D.K. (12 พฤศจิกายน 1995). A Visual Dictionary of Architecture. New York: Van Nostrand Reinhold. p. 30. ISBN 9780442009045.
  2. An alternative, in a description of Domitian's audience hall by Statius, noted by Ulrich 2007:156, is laquearia, not a copyist's error, as it appears in Manilius' Astronomica (1.533, quoted by Ulrich).
  3. J.J. Coulton, Ancient Greek Architects at Work: Problems of Structure and Design. Cornell University Press. (30 เมษายน 1982). p.147. ISBN 978-0801492341. "An example is the main hieron at Samothrace, where stone ceiling beams of the pronaos carried a coffered ceiling of marble slabs across a span of about 6.15 m."
  4. Roman wooden coffered ceilings are discussed in Roger Bradley Ulrich, Roman Woodworking, ch. "Roofing and ceilings", Yale University Press. (2007). ISBN 9780300103410.
  5. Illustrated in Ulrich, fig 8.27.
  6. "coffer". Encyclopedia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2007.
  7. Ching, Francis D.K.; และคณะ (2007). A Global History of Architecture. New York: John Wiley and Sons. p. 787. ISBN 0-471-26892-5.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]