เบเกิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบเกิล
เบเกิลแบบธรรมดาที่วางขายกันทั่วไป (โดยใช้การอบ)
ประเภทขนมปัง
แหล่งกำเนิดประเทศโปแลนด์
ภูมิภาคยุโรปกลาง
ส่วนผสมหลักแป้งสาลี
รูปแบบอื่นพิซซาเบเกิล
เบเกิลกับครีมชีส และ ปลาแซลมอนรมควันแบบล็อกซ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของครัวอเมริกัน-ยิว

เบเกิล (อังกฤษ: bagel, beigel) [1] กำเนิดในประเทศโปแลนด์ มีลักษณะเป็นรูปวงแหวน ทำจากแป้งสาลี ขนาดประมาณ 1 กำมือ นำไปต้มในน้ำเดือดสักพักหนึ่ง แล้วนำไปอบต่อ[2] จะได้เนื้อภายในที่แน่นและนิ่ม กับเนื้อภายนอกสีอมน้ำตาล มักโรยหน้าด้วยงาดำ บ้างอาจโรยเกลือบนเบเกิล ทั้งยังมีแป้งประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น ข้าวไรย์ หรือแป้งจากธัญพืชไม่ขัดสี[2]

เบเกิลเป็นที่นิยมในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชากรชาวยิวอาศัยจำนวนมาก[3] วิธีการทำเบเกิลนั้นมีหลากหลาย เช่น เบเกิลที่ทำในเบเกอรี หรือเบเกิลประเภทแช่แข็งที่หาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเหล่านั้น

เบเกิลชนิดที่เป็นวงกลมและมีรูตรงกลางออกแบบมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง นอกจากการอบ ยังสามารถหยิบจับง่ายและยังเป็นจุดเด่นทำให้น่าสนใจอีกด้วย[4][5]

ประวัติ[แก้]

บ้างมีความเชื่อว่าเบเกิลนั้นไม่ได้มีรูปแบบมาจากการฉลองชัยชนะของสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์ เหนือออตโตมันเติร์ก ในยุทธการที่เวียนนา เมื่อ ค.ศ. 1683[6] แท้จริงแล้วคาดว่า มีการคิดค้นเบเกิลมาก่อนหน้านี้ในเมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ เพื่อเป็นคู่แข่งของบูบลิก (อังกฤษ: bublik) หรือที่ชาวโปแลนด์รู้จักในชื่อ โอบวาร์ซาเนก (โปแลนด์: obwarzanek) ซึ่งเป็นขนมปังทำจากแป้งสาลีสำหรับเทศกาลมหาพรต

เลโอ รอสเต็น นักภาษาศาสตร์ชาวโปแลนด์เขียนใน "ความสุขของยิดดิช" (The Joys of Yiddish) ถึงคำว่า "bajgiel" ในระเบียบของชุมชนเมืองกรากุฟ เมื่อปี ค.ศ. 1610 ซึ่งระบุไว้ว่าเป็นของขวัญสำหรับหญิงในการคลอดบุตร[7]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เบเกิล (bajgiel) กลายเป็นอาหารประจำชาติโปแลนด์อย่างหนึ่ง[8] รวมไปถึงอาหารของชาวสลาฟโดยรวม[9] ชื่อนั้นมาจากภาษายิดดิชจากคำว่า 'beygal' ซึ่งมาจากภาษาเยอรมันคำว่า 'beugel' มีความหมายว่าวงแหวนหรือสร้อยข้อมือ[10]

คนขายสบีเตน (ซ้าย) ขายบูบลิก และ บารันกี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19

คำว่า beugal ซึ่งใช้ในภาษายิดดิช และภาษาออสเตรียเยอรมัน เพื่ออธิบายรูปลักษณ์ของขนมหวานที่โรยหน้าด้วย "โมนบอยเกิล" (เมล็ดงาดำ) และ "นุสส์เบเกิล" (ถั่ว) หรือในทางใต้ของเยอรมนีที่เบเกิลมีความหมายว่า กองท่อนไม้ จากการอ้างอิงตามพจนานุกรมของเมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ 'เบเกิล' มาจากคำทับศัพท์ของภาษายิดดิช 'beygl' ซึ่งมีรากศัพท์จากภาษาเยอรมันสูงกลาง (Middle High German) 'เบิลเกิล' (เยอรมัน: böugel) หรือวงแหวน ซึ่งมีรากศัพท์มากจากคำว่า 'บอซ' แปลว่าแหวน ในภาษาเยอรมันสูงเก่า (Old High German) คล้ายกับคำว่า 'bēag' ในภาษาอังกฤษเก่า [11] คล้ายกันในศัพทมูลวิทยา ของพจนานุกรมนิวเวิลด์คอลเลจของเว็บสเตอร์ ที่กล่าวว่าภาษาเยอรมันสูงกลางได้รับอิทธิพลมาจากภาษาออสเตรียเยอรมัน 'บอยเกิล' (beugel) เป็นชื่อของขนมที่มีรูปร่างเหมือนครัวซ็อง และคล้ายกับคำของภาษาเยอรมัน 'บือเกิล' (เยอรมัน: bügel) ซึ่งแปลว่าแหวน[12]

ในเขตบริกเลนและปริมณฑลของลอนดอน ประเทศอังกฤษ เบเกิล (อังกฤษ: bagels) หรือในท้องถิ่นสะกดว่า "beigels" มีขายตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มักจัดแสดงในหน้าต่างของเบเกอรีบนชั้นไม้

มีการนำเบเกิลเข้าสหรัฐอเมริกา โดยผู้อพยบชาวโปแลนด์-ยิว กับธุรกิจที่เฟื่องฟูในนิวยอร์ก ที่ถูกควบคุมโดยคนอบเบเกิลท้องถิ่น 338 (Bagel Bakers Local 338) ซึ่งมีสัญญากับเบเกอรีเบเกิลเกือบทั้งหมดทั้งในและรอบเมืองสำหรับแรงงานทำเบเกิล ต่อมาเบเกิลเริ่มแพร่หลายทั่วทั้งทวีปอเมริกาเหนือในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ส่วนหนึ่งเป็นความพยายามของแฮร์รี เลนเดอร์ เจ้าของเลนเดอส์เบเกิล และลูกชายของเขา เมอร์เรย์ เลนเดอร์ และฟลอเรนซ์ เซนเดอร์ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการผลิตเบเกิลอัตโนมัติและการจัดจำหน่ายเบเกิลแช่แข็งในคริสต์ทศวรรษ 1960[13][14][15] เมอร์เรย์ยังประดิษฐ์การหั่นเบเกิลก่อน (pre-slicing) ด้วย

ในสมัยใหม่ เกรกอรี ชามิตอฟฟ์ นักบินอวกาศชาวคะเนเดียน-อเมริกันของนาซา เป็นบุคคลแรกที่นำเบเกิลขึ้นสู่อวกาศในภารกิจสเปซชัทเทิล ขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ใน ค.ศ. 2008[16] โดยเขาได้นำเบเกิลงาดำแบบมอนทรีออล 18 ชิ้น ซึ่งผลิตโดยแฟร์เมาต์เบเกิล เบเกอรีในมอนทรีออล โดยชามิตอฟฟ์นั้นเกิดในเมืองมอนทรีออลและเกิดในกลุ่มชนรัสเซียน-ยิว และมีควมเกี่ยวข้องกับครอบครัวชลาฟแมน ซึ่งเป็นเจ้าของเบเกอรี.[17][18]

เบเกิลแบบมอนทรีออล 3 ชิ้น ประกอบไปด้วยเบเกิลหน้างาดำ 1 ชิ้น และ งาขาว อีก 2 ชิ้น

วิธีการทำและการเก็บรักษา[แก้]

แป้งของเบเกิลนั้น ดั้งเดิมจะใช้แป้งสาลีที่ถูกคัดรำข้าวออก, เกลือ, น้ำ และ หัวเชื้อยีสต์ แป้งที่เหมาะสมสำหรับการทำเบเกิลคือแป้งที่ทำให้เบเกิลเป็นรูพรุนและมีเนื้อที่นุ่ม[2] เบเกิลส่วนใหญ่นั้นจะใช้สูตรแบบที่จะเพิ่มความหวานลงไปในตัวแป้ง โดยการใส่ข้าวบาร์เลย์, น้ำผึ้ง, หัวเชื้อฟรักโตสจากข้าวโพด, น้ำตาล, ไข่, นม หรือ เนย[2] ซึ่งหัวเชื้อนั้นอาจใช้เทคนิคเดียวกับการทำซอร์โด (sourdough)

เบเกิลส่วนใหญ่จะทำโดยวิธีดังนี้ :

  • ผสมส่วนผสมและนวดแป้ง
  • ปั้นแป้งให้ได้รูปทรงของเบเกิล โดยมีรูอยู่ตรงกลาง
  • เก็บเบเกิลเป็นระยะเวลานาน 12 ชั่วโมงในอุณหภูมิต่ำ 4.5–10 องศาเซลเซียส
  • ต้มเบเกิลในน้ำเดือด หรืออาจจะใช้ น้ำด่าง, เบคกิงโซดา, หัวเชื้อข้าวบาร์เลย์ หรือ น้ำผึ้ง แทนน้ำ
  • อบที่อุณหภูมิระหว่าง 175–315 องศาเซลเซียส

วิธีการทำเบเกิลที่กล่าวมานั้นเป็นที่นิยมและกล่าวกันว่าจะทำให้เบเกิลมีรสชาติที่โดดเด่น เพราะจะทำให้เนื้อของเบเกิลมีลักษณะผิวมันเงาและนุ่ม ในไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีวิธีการทำแบบใหม่คือเบเกิลอบไอน้ำ โดยจะไม่มีการต้มเบเกิล และเปลี่ยนเตาอบเป็นการอบด้วยไอน้ำ คล้ายกับการรวบกรรมวิธีให้เหลือเพียงขั้นตอนเดียว[19] ในการผลิตเบเกิล เบเกิลอบไอน้ำจะใช้แรงงานน้อยลงเพราะใช้เพียงวิธีเดียวในการผลิต เบเกิลจะถูกแช่แข็งและนำไปอบไอน้ำ อย่างไรก็ตาม เบเกิลอบไอน้ำนั้นไม่ได้รับการยอมรับในหมู่ครูสอนทำเบเกิล เพราะมีความนุ่มและเหนียวน้อยเกินไปจนคล้ายกับฟิงเกอร์โรลที่มีรูปร่างเหมือนเบเกิล และเบเกิลอบไอน้ำมีคุณภาพที่ต่ำ เพราะมีการฉีดเพิ่มค่า pH ให้เนื้อเบเกิลมีสีน้ำตาล

หากไม่ได้บริโภคเบเกิลในทันที ก็จะสามารถเก็บเบเกิลให้สดใหม่เสมอได้ด้วยการห่อไว้ในถุงกระดาษ และนำถุงกระดาษห่อไว้ในถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะสามารถเก็บไว้ในช่องแช่แข็งได้ถึง 6 เดือน[20]

คุณภาพของเบเกิล[แก้]

คุณภาพของเบเกิลนั้นสามารถประเมินได้จากการชิมหรือการพิจารณาด้วยคุณค่าทางโภชนาการ[21]

เบเกิลที่ดีควรมีเนื้อนอกที่กรอบเล็กน้อย โดยจะสามารถแยกเป็นชิ้นได้ด้วยการกัดหรือการฉีก ส่วนด้านในนั้นจะต้องมีความเหนียวและนิ่ม และรสชาติต้องสดใหม่[21] รสชาติของเบเกิลอาจได้รับการปรุงรสจากเครื่องเทศต่าง ๆ เช่น หัวหอม, กระเทียม, งาขาว และ งาดำ[21] สีของเบเกิลอาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อนำไปอบ.[21] ซึ่งจะทำให้เนื้อด้านในมีรสชาติและมีความเหนียวนุ่ม[21]

เบเกิลทั่วไปให้พลังงาน 260–350 แคลอรี, ไขมัน 1.0–4.5 กรัม, โซเดียม 330–660 มิลลิกรัม และ ไฟเบอร์ 2–5 กรัม[21] เบเกิลแบบกลูเตนฟรี หรือสำหรับผู้ที่ไม่รับประทานแป้ง จะมีไขมันถึง 9 กรัม เพราะจะใช้ส่วนผสมอื่นแทนข้าวสาลี[21]

รูปแบบของเบเกิล[แก้]

การต่อคิวซื้อเบเกิลในช่วงวันเสาร์ตอนเช้าที่มอนทรีอัล

ความแตกต่างของเบเกิล 2 รูปแบบระหว่างเบเกิลแบบมอนทรีอัล และ เบเกิลแบบนิวยอร์ก[22] แม้ว่า 2 รูปแบบนี้จะเป็นแบบดั้งเดิมที่นำเข้ามาจากทวีปยุโรปตะวันออกสู่ทวีปอเมริกาเหนือ โดย "เบเกิลแบบมอนทรีอัล" จะใช้มอลต์และน้ำตาล โดยจะไม่ใช้เกลือ ซึ่งจะต้มด้วยน้ำผึ้งผสมน้ำก่อนจะนำไปอบด้วยเตาถ่าน และส่วนใหญ่จะโรยด้วยงาขาว (เบเกิลในโตรอนโตจะคล้ายกับนิวยอร์กที่จะมีความหวานน้อย โรยด้วยเมล็ดงาดำ และอบด้วยเตาธรรมดา)

ส่วน "เบเกิลแบบนิวยอร์ก" จะใส่มอลต์และเกลือ ต้มในน้ำเดือดก่อนจะนำไปอบในเตาธรรมดา เบเกิลที่ได้จะมีลักษณะอวบ ซึ่งแตกต่างกับแบบมอนทรีอัลที่มีขนาดเล็ก (แต่รูตรงกลางมีขนาดใหญ่) และหวานกว่า[23] เช่น ดาวิโดวิชเบเกิล (Davidovich Bagels) ผลิตในนิวยอร์ก เป็นที่โด่งดังและเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตเบเกิล ซึ่งใช้เทคนิคการทำเบเกิลแบบดั้งเดิม คล้ายกับแบบมอนทรีอัล โดยจะใช้เตาถ่านในการอบ[24] เบเกิลสามารถพบได้ทั่วไปในพื้นเมือง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงเบเกิลแบบชิคาโก ซึ่งใช้การอบไอน้ำ[25] เบเกิลแบบลอนดอน จะมีเนื้อที่หยาบและมีฟองอากาศด้านในจำนวนมาก นอกจากนี้ในประเทศแคนาดาจะมีความแตกต่างกันระหว่างแบบมอนทรีอัลกับแบบโตรอนโต และ แบบมอนทรีอัลกับแบบนิวยอร์ก

เมล็ดงาดำบางครั้งจะเรียกชื่อตามภาษายิดดิช จะออกเสียงว่า "มัน" หรือ "มอน" (เขียนว่า מאָן) ซึ่งจะคล้ายกับภาษาเยอรมันที่แปลว่างาดำ คือ "โมน" (Mohn) จอห์น มิตเซวิช พ่อครัวชาวอเมริกัน ได้แสดงให้เห็นการทำเบเกิลสูตรใหม่ที่เขาเรียกว่า "เบเกิลแบบซานฟรานซิสโก" ซึ่งผิวจะบางกว่าแบบนิวยอร์กและมีเนื้อด้านนอกที่ขรุขระ[26]

รอบโลก[แก้]

เวซิรินเกลี (Vesirinkeli) จากประเทศโปแลนด์

ในประเทศโปแลนด์ เบเกิลได้มีวางจำหน่ายในเบเกอรีที่ตลาดในเมืองเคลซ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี โดยเบเกิลแบบโปแลนด์ส่วนใหญ่จะโรยหน้าด้วยงาขาวและงาดำ

ในประเทศรัสเซีย, ประเทศเบลารุส และประเทศยูเครน บลูบลิก (รัสเซีย: bublik) เป็นเบเกิลที่มีขนาดใหญ่ และมีรูขนาดใหญ่ ส่วนขนมปังอื่น ๆ ที่คล้ายกันที่รู้จักกันของชาวสลาฟตะวันออก คือ บารันกิ (รัสเซีย: baranki) ซึ่งมีลักษณะแห้งและเล็กกว่า และ ซุชกิ (รัสเซีย: sushki) ซึ่งมีลักษณะแห้งและเล็กกว่าเช่นกัน

ในประเทศลิทัวเนีย เบเกิลถูกเรียกว่า "เรียสเทเนีย" (ลิทัวเนีย: riestainiai) และบางครั้งก็เรียกกันในภาษาสลาวิกว่า "บารอนกอส" (สลาวิก: baronkos)

ในประเทศฟินแลนด์ "เวซิรินเกลี" (vesirinkeli) หรือขนมปังแบบฟินแลนด์ เป็นขนมปังที่ทำมาจากแป้งสาลีและยีสต์ มีลักษณะเป็นวงแหวน โดนจะนำไปต้มในน้ำเกลือก่อนจะนำมาอบ มักจะทานเป็นอาหารเช้าโดยการทาเนย ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามซูเปอร์มาร์เก็ต โดยจะมีทั้งรสหวานและเผ็ด

ที่ประเทศเยอรมนี "เบรตเซิล" (เยอรมัน: Bretzel) จะมีลักษณะนุ่มและอาจมีรูปร่างเป็นวงแหวนหรือเป็นแท่งก็ได้ ซึ่งเนื้อของขนมปังจะมีลักษณะคล้ายกับเบเกิล สิ่งสำคัญที่สุดคือเนื้อด้านนอกจะมีผิวมันวาวจากการนำไปชุบน้ำด่าง นอกจากนี้ "โมนเบิร์ทเชน" (เยอรมัน: Mohnbrötchen) จะเป็นเบเกิลแบบที่โรยหน้าด้วยงาดำ คล้ายกับเบเกิลทั่วไป แต่จะมีความหวานน้อยและเนื้อแน่น

ในประเทศโรมาเนีย "โคฟริกี" (โรมาเนีย: covrigi) จะโรยหน้าด้วยเมล็ดงาดำ, งาขาว หรือเกลือ โดยเฉพาะภาคกลางของประเทศ ซึ่งสูตรนี้จะไม่มีการเพิ่มความหวาน

ในบางส่วนของประเทศออสเตรีย ขนมอบรูปวงแหวนที่เรียกว่า "บอยเกิล" (เยอรมัน: beugel) จะถูกวางขายในสัปดาห์ก่อนอีสเตอร์ ซึ่งเหมือนกับเบเกิล บอยเกิลจะใช้แป้งข้าวสาลีและยีสต์ โรยด้วยยี่หร่า และจะต้มในน้ำเดือดก่อนนำไปอบ จะได้บอยเกิลที่มีความกรอบและเก็บไว้ได้นานหลายสัปดาห์ ตามธรรมเนียมนั้นเมื่อจะรับประทานต้องฉีกเป็นสองชิ้นก่อนจะทาน

"เกอร์เดห์" เป็นขนมปังที่มีหลุม (ไม่ได้เป็นรู) จากภัตตาคารมุสลิมในกวางโจว ประเทศจีน

ในประเทศตุรกี "อัคมา" (ตุรกี: açma) ขนมปังที่มีรูปร่างอวบและเค็ม อย่างไรก็ตาม ซีมิท (simit) ขนมปังรูปวงแหวนมักถูกเรียกว่าเบเกิลแบบตุรกี และมีเอกสารบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ซีมิท ได้ถูกผลิตในอิสตันบูล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1525[27] จากบันทึกของศาลอุสกูดาร์ ลงบันทึกที่ 1593[28] น้ำหนักและราคาของซีมิทถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานครั้งแรก เอฟลียา เซเลบี นักเดินทางชื่อดังในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้บันทึกเอาไว้ว่ามีร้านเบเกอรีขายซีมิท 70 ร้านในอิสตันบูลช่วงปี ค.ศ. 1630[29] ภาพวาดสีน้ำมันของ ฌ็อง บรินเดซี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็แสดงให้เห็นว่าร้านขายซีมิทมีให้เห็นบนถนนทั่วไปของอิสตันบูล[30] วอร์วิก โกเบล หนังสือภาพวาด ก็แสดงให้เห็นว่ามีร้านขายซีมิทในเมืองอิสตันบูล ในปี ค.ศ.1906 เช่นกัน[31] เป็นเรื่องที่น่าแปลก เพราะซีมิทมีลักษณะคล้ายกับเบเกิลงาดำในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

ชาวอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน มีเบเกิลที่เรียกกันว่า "เกอร์เดห์นาน" (อุยกูร์: girdeh nan) มีรากศัพท์จากภาษาเปอร์เซีย หมายถึงขนมปังวงแหวน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของ "นาน" ขนมปังที่นิยมทานกันในซินเจียง[32]

ในประเทศญี่ปุ่น เบเกิลถูกนำเข้าครั้งแรกโดย เบเกิลเค (อังกฤษ: BagelK, ญี่ปุ่น: ベーグルK) จากนิวยอร์กเมื่อปี ค.ศ. 1989 โดยผลิตเบเกิลรสชาเขียว, ช็อคโกแลต, ถั่วเมเปิล และรสกล้วย-ถั่ว มีเบเกิลมากกว่า 3 ล้านชิ้นที่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา โดยเบเกิลส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นมักจะมีรสหวาน คล้ายกับในสหรัฐอเมริกา

รูปแบบในยุคใหม่[แก้]

ในขณะที่เบเกิลในยุคก่อนนั้นจะทำมาจาก ยีสต์ข้าวสาลี ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เบเกิลมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น โดยเบเกิลในยุคใหม่นั้นทำมาจากแป้งที่ผสมพัมเพอร์นิกเคล, ข้าวไรย์, ซอร์โด, รำข้าว, ธัญพืช และ ขนมปังมัลติเกรน ในรูปแบบอื่น ๆ นั้นจะเป็นการเปลี่ยนรสชาติของตัวแป้ง ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้กันแพร่หลายคือ บลูเบอร์รี, เกลือ, หอมใหญ่, กระเทียม, ไข่, อบเชย, ลูกเกด, ช็อกโกแลตชิป, เนยแข็ง หรืออาจจะเป็นส่วนผสมอื่น ๆ ในบางครั้ง เบเกิลสีเขียว ถูกผลิตขึ้นมาสำหรับ วันเซนต์แพทริก

ในปัจจุบันร้านขายเบเกิลนิยมที่จะขายเบเกิลที่มีรสชาติของช็อกโกแลตชิพ และ ขนมปังปิ้งแบบฝรั่งเศส เบเกิลแบบแซนด์วิช ได้รับความนิยมตั้งแต่ช่วงปลายยุค 1990 โดยร้านเบเกิลอย่าง บรึกเกอส์ และ ไอน์สไตน์บราเธอส์ รวมไปถึงร้านอาหารขายจานด่วนอย่าง แมคโดนัลด์ เบเกิลสามารถทานเป็นอาหารเช้าได้ ซึ่งจะถูกผลิตออกมาในรูปแบบพิเศษ โดยจะมีความนุ่มของแป้งและความหวานที่มากกว่าเบเกิลทั่วไป ซึ่งจะวางขายในรสผลไม้และรสหวาน (เช่น เชอร์รี, สตรอว์เบอร์รี, เนยแข็ง, บลูเบอร์รี, อบเชย-ลูกเกด, ช็อกโกแลตชิพ, น้ำเชื่อมเมเปิล, กล้วย และ ถั่ว) ส่วนใหญ่นั้นจะวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ อีกทั้งยังขายในรูปแบบของแผ่น เพื่อที่จะสะดวกต่อการนำไปปิ้งอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. Definition: Beigel, retrieved from Dictionary.com website July 11, 2011
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Encyclopædia Britannica (2009) Bagel, retrieved February 24, 2009 from Encyclopædia Britannica Online
  3. Simpletoremember.com (2001). "World Jewish Population, Analysis by City". สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
  4. Nathan, Joan (2008) A Short History of the Bagel: From ancient Egypt to Lender's Slate, posted Nov. 12, 2008
  5. Columbia University NYC24 New Media Workshop website History of the Bagel: The Hole Story เก็บถาวร 2011-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved February 24, 2009.
  6. various. "Battle of Vienna: Culinary Legends". Battle of Vienna. Wikipedia. สืบค้นเมื่อ 3 August 2014.
  7. Filippone, Peggy Trowbridge. Bagel History: Bagels date back to the 1600s, About.com website, retrieved March 27, 2013.
  8. Altschuler, Glenn C. (2008) Three Centuries of Bagels, a book review of: 'The Bagel: The Surprising History of a Modest Bread', by Balinska, Maria, Yale University Press, 2008, Jewish Daily Press website, published on-line November 05, 2008 in the issue of November 14, 2008
  9. Zinovy Zinic, 'Freelance, ' in Times Literary Supplement, Nov., 18, 2011 p.16.
  10. Davidson, Alan (2006). Oxford Companion to Food (2nd ed.). Oxford, England: Oxford University Press. p. 49. ISBN 9780192806819. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  11. Merriam-Webster's Dictionary definition of 'bagel', Merriam-Webster Inc. online, 2009, retrieved 2009-04-24;
  12. Webster's New World College Dictionary definition of 'bagel', Wiley Publishing Inc., Cleveland, 2005, retrieved 2009-04-24;
  13. Klagsburn, Francine. "Chewing Over The Bagel’s Story", The Jewish Week, July 8, 2009. Accessed July 15, 2009.
  14. Hevesi, Dennis (2012-03-22). "Murray Lender, Who Gave All America a Taste of Bagels, Dies at 81". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-04-19.
  15. Rothman, Lily (2012-03-23). "Murray Lender, the man who brought bagels to the masses". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2012-04-19.
  16. Space Shuttle mission STS-124; International Space Station Expedition 17.
  17. CTV.ca Montreal-born astronaut brings bagels into space เก็บถาวร 2008-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sun. Jun. 1 2008 7:29 PM ET; CTV National News - 1 June 2008 - 11pm TV newscast;
  18. The Gazette (Montreal), Here's proof: Montreal bagels are out of this world เก็บถาวร 2008-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Block, Irwin, Tuesday June 3, 2008, Section A, Page A2;
  19. Reinhart, P., The Bread Baker's Apprentice. Ten Speed Press, 2001, p. 115.
  20. Jonathan, Croswell. How to Keep a Bagel Moist, Aug 8, 2011.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 Consumer Reports (July 2012). "Top Bagels - Bagel Buying Guide". consumerreports.org. สืบค้นเมื่อ 6 March 2014.
  22. Spiegel, Alison (May 6, 2014). "Bagel Wars: Montreal vs. New York-Style Bagels". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ January 17, 2015.
  23. Horowitz, Ruth (October 17, 2006). "The Hole Truth: Vermont's Bagel Bakers Answer The Roll Call". Seven Days. สืบค้นเมื่อ June 9, 2011.
  24. Arumugam, Nadia. "Taste Test: Dunkin' Donuts' "Fake" Artisan Bagels vs Real Artisan Bagels". FORBES. Forbes. สืบค้นเมื่อ January 1, 2014.
  25. "Hometown Bagel, Inc". สืบค้นเมื่อ 2012-04-20.
  26. Mitzewich, John (August 6, 2012). "San Francisco-Style Bagels – Taking Things to a Hole New Level". Food Wishes. Blogger. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  27. Sahillioğlu, Halil. “Osmanlılarda Narh Müessesesi ve 1525 Yılı Sonunda İstanbul’da Fiyatlar”. Belgelerle Türk Tarihi 2 [The Narh Institution in the Ottoman Empire and the Prices in Istanbul in Late 1525. Documents in Turkish History 2] (Kasım 1967) : 56
  28. Ünsal, Artun. Susamlı Halkanın Tılsımı.[The Secret of the Ring with Sesames] İstanbul: YKY, 2010: 45
  29. Evliya Çelebi Seyahatnâmesi Kitap I. [The Seyahatname Book I] (Prof. Dr. Robert Dankoff, Seyit Ali Kahraman, Yücel Dağlı). İstanbul: YKY, 2006: 231
  30. Jean Brindesi, Illustrations de Elbicei atika. Musée des anciens costumes turcs d'Istanbul, Paris: Lemercier, [1855]
  31. Alexander Van Millingen, Constantinople (London: Black, 1906) http://www.gutenberg.org/files/39620/39620-h/39620-h.htm
  32. Allen, Thomas B. (March 1996). Xinjiang. National Geographic Magazine, p. 36–37