เบสบอลทีมชาติคิวบา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบสบอลทีมชาติคิวบา
ประเทศคิวบา คิวบา
สหพันธ์สหพันธ์เบสบอลแห่งประเทศคิวบา
สมาพันธ์แพนอเมริกันเบสบอลคอนเฟเดอเรชัน
ผู้จัดการอีคีนีโอ เบเลซ
อันดับโลกสหพันธ์เบสบอลระหว่างประเทศอันดับ 1
เครื่องแบบ
เครื่องแต่งกายนักเบสบอลทีมชาติคิวบา
เวิลด์เบสบอลคลาสสิก
จำนวนครั้งที่แข่ง2 สมัย (ครั้งแรกในปี 2006)
ผลการแข่งที่ดีที่สุด อันดับ 2 (1 สมัย, ในปี 2006)
กีฬาโอลิมปิก
จำนวนครั้งที่แข่ง5 สมัย (ครั้งแรกในปี 1992)
ผลการแข่งที่ดีที่สุด อันดับ 1 (3 สมัย, ล่าสุดในปี 2004)
อันดับ 2 (2 สมัย, ล่าสุดในปี 2008)
เวิลด์คัพ
จำนวนครั้งที่แข่ง35 สมัย (ครั้งแรกในปี 1939)
ผลการแข่งที่ดีที่สุด อันดับ 1 (25 สมัย, ล่าสุดในปี 2005)
อันดับ 2 (3 สมัย, ล่าสุดในปี 2009)
อันดับ 3 (2 สมัย, ล่าสุดในปี 1951)
อินเตอร์คอนติเนนทอลคัพ
จำนวนครั้งที่แข่ง13 สมัย (ครั้งแรกในปี 1979)
ผลการแข่งที่ดีที่สุด อันดับ 1 (10 สมัย, ล่าสุดในปี 2006)
อันดับ 2 (3 สมัย, ล่าสุดในปี 1999)
แพนอเมริกันเกมส์
จำนวนครั้งที่แข่ง15 สมัย (ครั้งแรกในปี 1951)
ผลการแข่งที่ดีที่สุด อันดับ 1 (12 สมัย, ล่าสุดในปี 2007)
อันดับ 2 (1 สมัย, ในปี 1967)

เบสบอลทีมชาติคิวบา เป็นทีมชาติของประเทศคิวบา ซึ่งเป็นทีมที่จัดขึ้นจากนักเบสบอลสมัครเล่นของระบบเบสบอลทีมชาติคิวบาในฐานะที่ไม่มีลีกอาชีพในประเทศคิวบา ทั้งนี้ ทีมคิวบาได้รับการเปรียบเทียบว่าเสมือนเป็นโรงไฟฟ้า[1] และได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 1 ของโลกจากสหพันธ์เบสบอลระหว่างประเทศ[2]

เวิลด์เบสบอลคลาสสิก[แก้]

ค.ศ. 2006[แก้]

ทีมคิวบาได้เข้าร่วมการแข่งขันรายการเวิลด์เบสบอลคลาสสิก 2006 แม้ว่าจะมีความขัดแย้งในการเข้าร่วมของคิวบา เนื่องด้วยสหรัฐคว่ำบาตรต่อคิวบา ถึงกระนั้น ทีมคิวบาก็สามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันนี้ แต่แพ้ให้แก่ทีมญี่ปุ่นด้วยคะแนน 10-6

ค.ศ. 2009[แก้]

ทีมคิวบาเข้าแข่งขันอีกครั้งในรายการเวิลด์เบสบอลคลาสสิก 2009 โดยเล่นในรอบแรกในพูลบีที่โฟโรซอลในเม็กซิโกซิตี้ โดยทีมคิวบาสามารถเข้าสู่รอบสองด้วยการมีชัยเหนือทีมแอฟริกาใต้กับทีมออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้แพ้ต่อทีมญี่ปุ่นทั้งสองครั้งในรอบที่ 2 และถูกคัดออก ที่ซึ่งทีมคิวบาถูกคัดออกในรอบก่อนไฟนอลในการแข่งขันนานาชาติเป็นครั้งแรกนับจาก ค.ศ. 1951

โอลิมปิก[แก้]

ทีมคิวบาเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโอลิมปิก โดยในช่วงห้าการแข่งขันที่จัดขึ้น ทีมคิวบาได้รับรางวัลเหรียญทองสามสมัย และได้รับเหรียญเงินสองสมัย

เบสบอลเวิลด์คัพ 2009[แก้]

ประเทศคิวบาเดิมได้รับการกำหนดให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเบสบอลเวิลด์คัพ 2009 อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็เต็มใจยกเลิกไปเพื่อให้เกียรติแก่ทวีปยุโรป ในความพยายามที่จะช่วยให้เบสบอลในทวีปยุโรปเติบโต ที่ซึ่งรายการเบสบอลเวิลด์คัพได้จัดขึ้นทั่วทั้งทวีปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยรายการเบสบอลเวิลด์คัพ 2009 ได้จัดขึ้นช่วงวันที่ 9 ถึง 27 กันยายน ซึ่งมีเจ็ดประเทศในยุโรปร่วมกันเป็นเจ้าภาพ และมีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 22 ทีม การแข่งขันที่จัดขึ้นแบ่งออกเป็นห้ากลุ่ม กลุ่มละสี่ทีม รวมเป็น 20 ทีม ประเทศอิตาลี (บอลลาเต, โบโลญญา, โกดอกโน, ฟลอเรนซ์, มาเชราตา, มิลาโน, ปาร์มา, ปีอาเชนซา, เรจจีโอเอมีเลีย, รีมีนี, ซานมารีโน, โตรีโน, ตรีเยสเต, เวโรนา และวีเซนซา) กับประเทศเนเธอร์แลนด์ (รอตเทอร์ดาม, ฮาร์เลม และอัมสเตอร์ดัม) ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพให้แก่สิบหกทีมในการแข่งรอบสอง (14 ถึง 20 กันยายน) และหลังจากนั้นก็ได้สิทธิบายจากรอบแรก ซึ่งมีการแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้:[3]

อันดับจากการแข่งขัน[แก้]

ทีมคิวบาขณะเรียงแถวก่อนที่จะเข้ารับเหรียญทองจากการแข่งขันอินเตอร์คอนติเนนทอลคัพ 2006 เมื่อครั้งที่พบกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์

เวิลด์เบสบอลคลาสสิก[แก้]

โอลิมปิก[แก้]

แพนอเมริกันเกมส์[แก้]

เหรียญทอง: ค.ศ. 1951, 1963, 1971, 1975, 1979, 1983, 1987, 1991, 1995, 1999, 2003 และ 2007

เหรียญเงิน: ค.ศ. 1967

เหรียญทองแดง: ค.ศ. 2011

เบสบอลเวิลด์คัพ[แก้]

เหรียญทอง: ค.ศ. 1939, 1940, 1942, 1943, 1950, 1952, 1953, 1961, 1969, 1970, 1971, 1972, 1973, 1976, 1978, 1980, 1984, 1986, 1988, 1990, 1994, 1998, 2001, 2003 และ 2005

เหรียญเงิน: ค.ศ. 1941, 2007, 2009 และ 2011

เหรียญทองแดง: ค.ศ. 1944 และ 1951

อินเตอร์คอนติเนนทอลคัพ[แก้]

เหรียญทอง: ค.ศ. 1979, 1983, 1985, 1987, 1989, 1991, 1993, 1995, 2002 และ 2006

เหรียญเงิน: ค.ศ. 1981, 1997 และ 1999

เซ็นทรัลอเมริกันแอนด์แคริบเบียนเกมส์[แก้]

เหรียญทอง: ชนะรางวัลเหรียญทอง 14 สมัยจากการเข้าร่วมแข่งในอเมริกันแอนด์แคริบเบียนเกมส์ 17 สมัย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Baseball World Cup big news in Cuba, no matter the outcome". CNN. 2009-09-28.
  2. "IBAF World Rankings" (PDF). International Baseball Federation. 2 June 2010. สืบค้นเมื่อ 5 October 2010.
  3. "IBAF announces groups for first round of 2009 Baseball World Cup" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-03-15.