เนปาลแอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนปาลแอร์ไลน์
नेपाल वायुसेवा
IATA ICAO รหัสเรียก
RA RNA ROYAL NEPAL
ก่อตั้งค.ศ. 1958
AOC #003/2000
ท่าหลักกาฐมาณฑุ
ท่ารองพิรัตนคร
เนปาลกันจ์
โปขรา
เมืองสำคัญกรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ
เดลี
ขนาดฝูงบิน6
จุดหมาย36
บริษัทแม่รัฐบาลเนปาล
สำนักงานใหญ่เนปาล กาฐมาณฑุ, ประเทศเนปาล
บุคลากรหลักUbaraj Adhikari (ประธาน)[1]
Dim Prasad Poudel (CMO)[2]
พนักงาน
1,400 คน
เว็บไซต์www.nepalairlines.com.np

เนปาลแอร์ไลน์ (เนปาล: नेपाल वायुसेवा निगम, อักษรโรมัน: Nepāl Vāyusevā Nigam, แปลตรงตัว'บริษัท การบินเนปาล จำกัด') หรือชื่อเดิม รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศเนปาล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงกาฐมาณฑุ[3][4] มีฐานการบินหลักอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน ชานกรุงกาฐมาณฑุ ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1958 ภายใต้ชื่อ รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ วันเดียวกันกับที่การบินไทยเปิดเที่ยวบินมายังเนปาลครั้งแรก เครื่องบินลำแรกคือดักลาส ดีซี-3 ถูกใช้เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ และเที่ยวบินไปอินเดีย ส่วนเครื่องบินไอพ่นลำแรกคือโบอิง 727 เริ่มต้นในงานในปี ค.ศ. 1972 ต่อมาปี ค.ศ. 2004 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เนปาลแอร์ไลน์ สถิติเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 สายการบินมีเครื่องบิน 7 ลำ และยังได้แอร์บัส เอ 320-200 ลำใหม่ มีจุดหมายปลาย 39 แห่ง (ต่างประเทศ 5 แห่ง) เนปาลแอร์ไลน์ เป็นหนึ่งในสายการบินที่ถูกห้ามไม่ให้บินเข้าไปในน่านฟ้าของสหภาพยุโรป[5]

ประวัติ[แก้]

การให้บริการช่วงแรก (คริสต์ทศวรรษ 1950–1960)[แก้]

เครื่องบิน เอชเอส.748 ของรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ ในปี ค.ศ. 1974

สายการบินก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1958 ภายใต้ชื่อ รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ พร้อมเครื่องบินรุ่นแรก ดักลาส ดีซี-3 ให้บริการเที่ยวบินไปยังเมือง Simara, Pokhara, Biratnagar และบางเมืองในประเทศอินเดีย ได้แก่ ปัฏนา, โกลกาตาและเดลี ต่อมาปี ค.ศ. 1961 ได้ซื้อเครื่องบิน ปิลาตุส ปอร์เตอร์ และในปี ค.ศ. 1963 ได้ซื้อเครื่องบิน Fong Shou-2 Harvester จากประเทศจีน[6]

เครื่องบินอันทันสมัยได้ถูกนำเพิ่มเข้ามาเรื่อย ๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1959-1964 ได้สั่งซื้อเครื่องบินดักลาส ดีซี-3 อีกเจ็ดลำ นอกจากนี้ จีนยังให้เครื่องบินอานโตนอฟ อาน-2 อีกสองลำ และยังเช่าเบลเฮลิคอปเตอร์ จากสิงคโปร์ด้วย เที่ยวบินระหว่างประเทศได้ขยายไปเรื่อย ๆ จนมีเที่ยวบินไปถึงกรุงธากา เมืองหลวงของปากีสถานตะวันออก (ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ)[7]

ช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง (คริสต์ทศวรรษ 1970–1980)[แก้]

ต่อมา สายการบินยังได้สั่งซื้อเครื่องบินเพิ่ม ดังนี้บีเออี เอวโรว์-748 (ค.ศ. 1970), ทวิน ออตเตอร์ (ค.ศ. 1971), โบอิง 727 (ค.ศ. 1972; ต่อมาถูกแทนที่ด้วยโบอิง 757 สองลำ ในปี ค.ศ. 1987) [6]

โบอิง 727-200 ของรอยัลเนปาลแอร์ไลน์

ส่งผลให้เนปาลมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 181,000 คน (สถิติ ค.ศ. 1985) โดยร้อยละ 80 เดินทางทางอากาศ และร้อยละ 38 เดินทางกับสายการบินรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ แต่จำนวนนี้ได้ลดลงจากสถิติเดิม (ค.ศ. 1979) ร้อยละ 50 คู่แข่งของสายการบินนี้คืออินเดียนแอร์ไลน์ สายการบินใหม่ ๆ อาทิเช่น ลุฟต์ฮันซาของเยอรมนี ก็ได้เปิดเที่ยวบินตรง กาฐมาณฑุ-แฟรงก์เฟิร์ต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1987

ในเวลานั้น รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ มีจุดหมายปลายทางในประเทศ 38 แห่ง ระหว่างประเทศ 10 แห่ง ต่อมาได้เปิดเที่ยวบินไปฮ่องกงในปี ค.ศ. 1988 (ใช้โบอิง 757) ต่อมาเดือนเมษายน ค.ศ. 1988 ได้เปิดเที่ยวบินไปกรุงลาซาในเขตปกครองตนเองทิเบต[7]

รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ มีรายได้ 54.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี ค.ศ. 1988—89 ทำกำไรได้ 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมลูกเรือ 2,200 คน และได้กลายบริษัทที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเนปาล ผู้โดยสารร้อยละ 75 เป็นนักท่องเที่ยว จากผลความสำเร็วนี้ ทำให้มีการเปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังลอนดอน, ดูไบ และการาจี[7]

ช่วงตกต่ำ (คริสต์ทศวรรษ 1990–2000)[แก้]

เครื่องบิน ซีอาน เอ็มเอ60 ที่สวมลวดลายใหม่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน (พฤศจิกายน ค.ศ. 2014)

ในช่วงปี ค.ศ. 1992 มีสายการบินในประเทศเกิดขึ้นมาก อาทิเช่น Necon Air, เนปาลแอร์เวย์, เอเวอเรสต์แอร์, บุดด้าแอร์, เยติแอร์ไลน์, สีดาแอร์ และในปี ค.ศ. 1997 ร้อยละ 70 ของเที่ยวบินในประเทศ มาจากสายการบินคู่แข่งเหล่านี้[8] การก่อตั้งของสายการบินใหม่ ๆ ทำให้เกิดช่องว่างที่เป็นปัญหาของรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ คือคอรัปชัน[7]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 มีเรื่องอื้อฉาวจากการเช่าโบอิง 767จากออสเตรีย ซึ่งแฝงด้วยการประท้องของเหล่าลูกจ้างกับรัฐบาล ทำให้เกิดการกล่าวหาว่า สายการบินไม่ยอมใช้เครื่องบินโบอิง 757 ให้เกิดประโยชน์เพียงพอ ผู้บริหารได้ถูกพักงานระหว่างสอบสวน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบินได้ถูกปลดเกษียณ[7] และในปี ค.ศ. 2004 มีการรายงานว่า รัฐบาลเนปาล ได้แบ่งงาน 49% ของเนปาลแอร์ไลน์ ให้เอกชนดำเนินการ ส่งผลให้เกิดหนี้สินจำนวนหนึ่ง[9] ต่อมา ผู้บริหารเก่าของสายการบิน Ramagya Chaturvedi ถูกจับในข้อหาคอรัปชันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005.[10]

ในปี ค.ศ. 2009 ที่งานดูไบแอร์โชว์ สายการบินเนปาลแอร์ไลน์ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน แอร์บัส เอ 320-200 สองลำ ซึ่งจะใช้ในเที่ยวบินไปยังตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[11]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

สายการบินเนปาลแอร์ไลน์ มีเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยัง เดลี, โดฮา, กัวลาลัมเปอร์, ฮ่องกง และกรุงเทพมหานคร ส่วนจุดหมายปลายทางที่ยกเลิกไปแล้วอย่าง ดูไบ, บังคาลอร์ และมุมไบ จะกลับมาบินใหม่อีกครั้งพร้อมกับเครื่องบินแอร์บัส เอ 320[12]

นับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา สหภาพยุโรปได้สั่งห้ามไม่ให้สายการบินใด ๆ ของเนปาลบินเข้าไปเหนือน่านฟ้าของยุโรป[13]

ข้อตกลงการทำการบินร่วม[แก้]

เนปาลแอร์ไลน์ได้ทำข้อตกลงการทำการบินร่วมกันกับสายการบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบิน[แก้]

ดีเอชซี-6 ทวินออตเตอร์ของเนปาลแอร์ไลน์
โบอิง 757-200Mของเนปาลแอร์ไลน์

ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 เนปาลแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[15]

ฝูงบินของเนปาลแอร์ไลน์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ จำนวนที่นั่ง หมายเหตุ
C Y รวม
แอร์บัส เอ320-200 2 8 150 158
แอร์บัส เอ330-200 2 18 256 274
ดีเอชซี-6 ทวินออตเตอร์ 2 19 19
รวม 6

ฝูงบินในอดีต[แก้]

เนปาลแอร์ไลน์เคยมีเครื่องบินประจำการในอดีต ดังนี้:

ฝูงบินในอดีตของเนปาลแอร์ไลน์[6][16]
เครื่องบิน เริ่มประจำการ ปลดประจำการ
แอร์บัส เอ310-300 ค.ศ. 1993 ค.ศ. 1996
โบอิง 707 ค.ศ. 1983 ค.ศ. 1983
โบอิง 727-200 ค.ศ. 1972 ค.ศ. 1993
โบอิง 757-200 ค.ศ. 1987 ค.ศ. 2017
โบอิง 757-200M ค.ศ. 1987 ค.ศ. 2019
โบอิง 767-300 ค.ศ. 2000 ค.ศ. 2001
ดักลาส ดีซี-3 ค.ศ. 1958 ค.ศ. 1973
ฟอกเกอร์ เอฟ-27 ค.ศ. 1966 ค.ศ. 1970
อานโตนอฟ อาน-2 ค.ศ. 1963 ค.ศ. 1965
ฮาร์บิน วาย-12 ค.ศ. 2014 ค.ศ. 2020
ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ เอชเอส-148 ค.ศ.1970 ค.ศ. 1996
บีเออี เอวโรว์-748 ค.ศ. 1970 ค.ศ. 1996
ปิลาตุส ปอร์เตอร์ ค.ศ. 1961 ค.ศ. 1998
ซีอาน เอ็มเอ-60 ค.ศ. 2014 ค.ศ. 2020

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์[แก้]

  • 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960 – เครื่องบินดักลาส C-47A-80-DL (9N-AAD) ตกลงขณะยกระดับที่ท่าอากาศยาน Bhairawa ทำให้เกิดเพลิงไหม้ ลูกเรือ 4 คนเสียชีวิตทั้งหมด[17]
  • 1 สิงหาคม ค.ศ. 1962 – เครื่องบินดักลาส C-47A-DL (9N-AAH) ม่งหน้าสู่เดลี สูญเสียการติดต่อ และตกลงไปบริเวณ Tulachan Dhuri ซากถูกพบเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1962 ที่ความสูง 11,200 ฟุต ผู้โดยสาร 6 คน และลูกเรือ 4 คน เสียชีวิตทั้งหมด[17]
  • 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 – เครื่องบินดักลาส DC-3D (9N-AAP) ชนต้นไม้ขณะบินอยู่ที่ระดับ 7,300 ฟุต ใกล้กับเมือง Hitauda ผู้โดยสาร 31 คน ลูกเรือ 4 คน เสียชีวิตทั้งหมด[17]
  • 25 มกราคม ค.ศ. 1970 – เครื่องบินฟอกเกอร์ เอฟ-27 (9N-AAR) มุ่งหน้าสู่เดลี ติดอยู่ในพายุ ทำให้กัปตันไม่สามารถควบคุมเครื่องได้ ลูกเรือ 1 คนเสียชีวิต[17]
  • 10 มิถุนายน ค.ศ. 1973 – เครื่องบิน 9N-ABB จากเมือง Biratnagar ถูกโจรกรรม ผู้ก่อการร้ายได้หลบหนีเข้าไปในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[17]
  • 15 ตุลาคม ค.ศ. 1973 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABG) เกิดความเสียหายหลังจากซ่อมแซมที่ท่าอากาศยาน Lukla Airport ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[17]
  • 22 ธันวาคม ค.ศ. 1984 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABH) ตกลงไปในบริเวณ Bhojpur เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ค่อยดี ผู้โดยสาร 12 จาก 20 คน ลูกเรือ 3 คน เสียชีวิต[17]
  • 9 มิถุนายน ค.ศ. 1991 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABA) ตกขณะลงจอดที่ท่าอากาศยาน Lukla เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ค่อยดี ผู้โดยสาร 14 คน ลูกเรือ 3 คน เสียชีวิตทั้งหมด[17]
  • 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABB) สูญเสียการติดต่อขณะยกระดับจากท่าอากาศยาน Jumla ทำให้เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[17]
  • 17 มกราคม ค.ศ. 1995 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABI) เที่ยวบินที่ 133 มุ่งหน้าสู่ Rumjatar ไถลออกนอกรันเวย์ ผู้โดยสารและลูกเรือ 1 คน เสียชีวิต[17]
  • 25 เมษายน ค.ศ. 1996 – เครื่องบิน BAe Avro-748 (9N-ABR) ไถลออกนอกรันเวย์ที่ท่าอากาศยาน Meghauli ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[17]
  • 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABP) จาก Bajhang มุ่งสู่ Dhangadhi ชนต้นไม้ที่ระดับ 4,300 ฟุต บนภูเขา Churia ผู้โดยสาร 22 คน ลูกเรือ 3 คน เสียชีวิตทั้งหมด[17]
  • 19 เมษายน ค.ศ. 2010 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABX) มุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยาน Phaplu Airport (PPL) ได้รับความเสียหายเล็กน้อย เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ค่อยจะดี[17]
  • 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABO) เที่ยวบินที่ 555 จาก Pokhara (PKR) มุ่งหน้าสู่ Jomsom (JMO) ไถลออกนอกรันเวย์ที่ท่าอากาศยาน Jomsom ทำให้เครื่องตกลงไปในแม่น้ำ ผู้โดยสาร 4 คน ลูกเรือ 3 คน บาดเจ็บสาหัส[18]
  • 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 – เนปาลแอร์ไลน์ เที่ยวบิน 183 โดยเครื่องบิน de Havilland Canada DHC-6 Twin Otter (9N-ABB) หายไปอย่างลึกลับขณะบินสู่ Jumla ภายหลังพบว่าเครื่องตกที่ Argakhachi[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sushil Ghimire appointed Nepal Airlines executive chairman". The Kathmandu Post. 16 April 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
  2. Prasain, Sangam (10 October 2020). "With a new managing director, Nepal Airlines looks set to fly into turbulence". The Kathmandu Post. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
  3. "Contact Information." เนปาลแอร์ไลน์. Retrieved on 31 ธันวาคม ค.ศ. 2011. "Head Office Contact Information NAC Building, Kantipath กาฐมาณฑุ, Nepal"
  4. "World Airline Directory." Flight International. 23–29 มีนาคม ค.ศ. 1994. 114. "Head office: PO Box 401, RNAC Building, Kantipath, กาฐมาณฑุ 711000, Nepal."
  5. Paylor, Anne (5 ธันวาคม 2556). "Nepal carriers added to EU blacklist". Air Transport World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-10. สืบค้นเมื่อ 2015-05-03.
  6. 6.0 6.1 6.2 Brief History of เนปาลแอร์ไลน์ retrieved 28 สิงหาคม ค.ศ. 2010
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "History of Royal Nepal Airline Corporation – FundingUniverse". Fundinguniverse.com. สืบค้นเมื่อ 2014-02-16.
  8. R.E.G. Davies, Airlines of Asia Since 1920
  9. Tribune India 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004
  10. The Himalayan Times เก็บถาวร 2014-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005
  11. ATW Daily News Dubai Airshow News เก็บถาวร 2009-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009
  12. Litt, Live. "เนปาลแอร์ไลน์, an introduction". Livelitt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-03.
  13. "EU bans all airlines from Nepal to fly into the 28 nation bloc – Times Of India". Timesofindia.indiatimes.com. 2013-12-05. สืบค้นเมื่อ 2014-02-16.
  14. "NAC, Druk Air signs codesharing pact". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน ค.ศ. 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "Aircraft and Fleet Lists - ch-aviation.com". ch-aviation. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน ค.ศ. 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. [1] เก็บถาวร 2015-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 3 Jan 2015
  17. 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 17.12 Aviation Safety Network retrieved 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006
  18. "Accident: Nepal DHC6 at Jomsom on พฤษภาคม ค.ศ. 16th 2013, runway excursion". AVHerald. 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2013. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  19. "Crash: Nepal DHC6 near Khidim on Feb 16th 2014, aircraft impacted terrain". Avherald.com. สืบค้นเมื่อ 2014-02-16.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]